พระพุทธรูป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดึอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน

กำเนิดพระพุทธรูป

พระคันธารราฐ

แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด ศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ซึ่งมีมาก่อนศาสนาพุทธ ก็ไม่มีรูปเคารพเป็นเทวรูปเช่นกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คน ถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุขในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก

คราวแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน),ตรัสรู้ พุทธคยา, ปฐมเทศนา (พาราณสี) และปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า

ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ 2,200 ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งสมณะทูต จำนวน 500 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาราฐ จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่าง ๆ นับว่า "เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา" แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน

พระพุทธชินราช

พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า เริ่มมีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า "โยนา" หรือ "โยนก" โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธาราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล (Sakala) หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนา ซึ่งถูกเขียนบันทึกเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก เรื่องนี้ก็คือ มิลินทปัญหา - The Milinda Panha or The Questions of King Minlinda) ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธาราฐ ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีลักษณะต่างๆ ตามพุทธประวัติ ..... ดูข้อมูลปางพระพุทธรูปต่างๆ ........ ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธาราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธาราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธาราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็กๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์

 

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  ( พระแก้วมรกต )

 

ประวัติวัดราชาธิวาสและพระพุทธรูปสำคัญ

 

พระพุทธไสยาสน

 

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่งดงามและคล้ายคนจริง”

( สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “ พระไสยา ” )

  

พระพุทธไสยาสน์ปางทรงพระสุบิน ศิลปะประยุกต์แบบกรีก   มีลักษณะเหมือนสามัญมนุษย์ที่งามที่สุด   ถ้ามองดูไกล ๆ   จะเหมือนคนนอนจริง ๆ   ห่มจีวรที่พลิ้วไหวเป็นริ้วบางเบาคล้ายผ้าจริง พระเนตรหลับพริ้มแม้กระทั่งลักษณะการวางพระบาท ก็เป็นไปในลักษณะสมจริงเช่นคนหลับทั่วไป คือยาว ๗๗ นิ้ว สูงทั้งฐาน ๒๒.๕ นิ้ว แต่ทว่าเป็นอิริยาบถการนอนที่งดงามยิ่ง โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงออกแบบ ประทานให้ช่างปั้นและหล่อ คือ พระเทพรจนา ( สิน ) หล่อด้วยโลหะสำริดลงรักปิดทอง ในปี พ.ศ.2462 สร้างอุทิศถวายและบรรจุพระสรีรางคารพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ( พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล ) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ( พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล ) ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ ๗๙ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเจ้าจอมมารดาห่วง ทรงอภิเษก กับ หม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ พระธิดาองค์ใหญ่ของกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่เกล้าเจ้าอยู่หัว และหม่อมเจ้าหญิงโถมนา

หม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ ไชยันต์ ทรงสนพระทัยในด้านการศึกษามาก และทรงปฏิบัติตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ที่ได้อุทิศทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งไว้ให้สร้างโรงเรียนวัดราชาธิวาส แต่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ จึงใช้ทุนทรัพย์มรดกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย สร้างตึกไชยันต์ โรงเรียนวัดราชาธิวาส ในปี พ.ศ.๒๔๖๒ และสร้างพระพุทธรูปปางไสยยาสน์ พระพุทธรูปประจำวันอังคาร วันประสูติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เพื่อให้อยู่คู่กับโรงเรียนวัดราชาธิวาส จนถึงปัจจุบัน

ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติ
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอน ๑๒๑ ง.ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๐


พระพุทธไสยาสน์
(จำลอง)


ช่วงโรงเรียนวัดราชาธิวาสจะมีอายุครบ ๘๔ ปี ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๐ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และ โรงเรียนวัดราชาธิวาส ได้มีมติให้สร้างพระพุทธไสยาสน์จำลองเพื่อให้นำไปบูชาเป็นเนื้อนวโลหะ ต้นแบบโดยอาจารย์เข็มรัตน์ ทองสุข อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขนาด ๑๑ นิ้ว สูงประมาณ ๕ นิ้ว สร้างเพียง ๙๙๙ องค์ ราคา ๙๙๙ บาท และเหรียญพระพุทธไสยา ออกแบบโดยอาจารย์พูนศักดิ์ กมลโชติ รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร มีเฉพาะเนื้อทองแดงจำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ ราคา ๒๐ บาท

การดำเนินการเริ่มจากพิธีเททองหล่อ ในวันอังคารที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๙ พระธรรมบัญญาจารย์ (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ) เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นองค์กำหนดฤกษ์ เวลา ๑๗.๐๙ ถึง ๑๗.๑๙ น. โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวรวิหาร เป็นประธาน ณ ข้างพระอุโบสถวัดราชาธิวาส

 

ต่อมาเมื่อครบรอบ ๙๐ ปี ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ได้จัดหล่อพระพุทธไสยาสน์จำลอง เป็นครั้งที่สอง ขนาดองค์พระ ๑๑ นิ้ว(ขนาดฐาน ๑๓ นิ้ว) อีกจำนวน ๙๙๙ องค์ และเหรียญรูปไข่ชนิดทองคำ เงินและบรอนซ์ โดยคณะช่างกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ดำเนินการจัดสร้างและได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้ลงอักขระส่วนแผ่นทอง นาค เงิน และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวรวิหาร ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ เวลา ๑๔.๒๙ น. โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวิทยาคม

พระพุทธไสยาสน์ รุ่น ๑๐๐ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส พ.ศ.  ๒๕๔๖ 
เนื้อโลหะรมดำ  ขนาด ๑๓ นิ้ว (ยาว)   สร้าง ๓­๙๙ องค์   มีหมายเลขกำกับ แบ่งเป็นปิดทองคำเปลว (เฉพาะองค์พระ) ๙๙ องค์  รมดำ ๓๐๐ องค์ ทั้ง ๒ แบบคละหมายเลขกัน  ใต้ฐานบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์จากใต้องค์พระนิพพานทรงญาณองค์ใหญ่  ที่ได้จากครั้งกรมศิลปากรมาบูรณะองค์พระ (ปิดทอง)  ซึ่งกรมศิลปากรได้ลงความเห็นว่า  ดินที่บรรจุภายในองค์พระมีความชื้นมาก  ทำให้ปิดทองไม่เงางาม  จึงได้นำดินที่อยู่ในองค์พระออกมา  ปรากฏว่ามีน้ำหนักคล้ายแร่  สีดำเป็นอัศจรรย์  ทั้งที่แบบที่ปั้นพระโดยทั่วไปนิยมใช้ดินเหนียว  จึ่งได้นำดินส่วนนี้บรรจุภายใต้ฐานองค์พระนิพพานทรงญาณ (จำลอง) นี้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ  สมเด็จพระสังฆราช ทรงเมตตาจารแผ่นเงิน  ทอง  นาก  พร้อมด้วยพระเถระทรงวิทยาคมมากมาย เช่น  สมเด็จพระพุฒาจารย์  วัดสระเกศ  หลวงพ่อคูณ  ปริสุทโธ  วัดบ้านไร่  เป็นต้น    เพื่อนำไปหล่อให้ได้สัดส่วนพระพุทธลักษณะที่งดงาม  ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๔  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๖  สมเด็จพระพุฒจารย์  วัดสระเกศ  เป็นประธานจุดเทียนชัย  สมเด็จพระราชาคณะ  พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๒ รูป  เจริญพระพุทธมนต์  พระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต

 

สมาคมนักเรียนเก่าฯ และโรงเรียนวัดราชาธิวาส
จัดสร้างพระพุทธไสยาสน์จำลอง รุ่น ๑๐๘ ปี เนื้อทองเหลืองโลมสีมันปู ขนาดฐาน ๑๓ นิ้ว
พิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ ณ พระอุโปสถวัดราชาธิวาส

พระพุทธไสยาสน์ รุ่น ๑๐๘ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส พ.ศ.  ๒๕๕๔

แหล่งที่มา : พันเอกถนอม เกิดสุข ภาพและข้อมูลการสร้างพระนิพพานทรงญาณ จำลอง ๘๔ ปี

หนังสือ ๙๐ ปี ๒๕๓๐ และราชาธิวาส วารสาร ๑๐๐ ปีราชาธิวาส ๒๕๔๖
เขียนโดย อาจารย์ตุ๊ ทำทานุก และอาจารย์ชวลิต ธีระกุล