หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

กลับหน้าหลักสัมมาชีวศิลป


สารบัญ

 


คำนำ

........ จากนโยบายของกระทรวงศึกษาได้กำหนดให้โรงเรียนเป็นผู้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเอง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โรงเรียนสัมมาชีวศิลปเป็นโรงเรียนที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
....... จึงจัดทำหลักสูตรขึ้น โดยมุ่งเน้นจัดการเรียนการสอน ตามกลุ่มสาระ 8 กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนาโรงเรียนและบุคลากรให้เกิดผลต่อนักเรียนมากที่สุด

คณะผู้จัดทำ

 

1. ข้อมูลทั่วไป
ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2494 เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งตามวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ผู้ก่อตั้งโรงเรียน
ก่อตั้งในนามสัมมาชีวศิลปมูลนิธิในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระสังฆราช โดยมีผู้ก่อตั้งมูลนิธิ 5 ท่าน คือ

    1. พระยาอมรฤทธิธำรง 2. พระปวโรฬารวิทยา 3. พระสงครามภักดี 4. พระอร่ามรณชิต 5. หลวงปริญญาโยควิบูลย์

    1. สถานที่ตั้ง โรงเรียนสัมมาชีวศิลป ตั้งอยู่เลขที่ 744 ซอย พญานาค ถนน พญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400 โทร. 02-215-90020-2611-1092 โทรสาร 0-2611-1092
    2. สภาพปัจจุบัน ปีการศึกษา 2546 อาคารเรียน 3 หลัง ประกอบด้วย - ห้องเรียน 13 ห้อง - ห้องประกอบอาคารเรียน 12 ห้อง
3. จำนวนนักเรียน ในปีการศึกษา 2546 จำนวนทั้งสิ้น 267

ระดับอนุบาล - นักเรียนชาย 41 คน - นักเรียนหญิง 25 คน
ระดับประถม - นักเรียนชาย 117 คน - นักเรียนหญิง 84 คน
จำนวนครู 24 คน

ความภาคภูมิใจ

- นักเรียนโรงเรียนสัมมาชีวศิลป สามารถผ่านการสอบเข้าเรียนต่อในโรงเรียนรัฐบาลได้ 95 % และโรงเรียนเอกชนชั้นนำ นักเรียนได้ผ่านการคัดเลือกได้รับวุฒิบัตร จากสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ในด้านเป็นคนดีมีจริยธรรมที่งดงาม และได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้มีความประพฤติดี และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมจาก นายพนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ด.ญ. กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ ได้รับรางวัลผู้มีความประพฤติดี จากคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2442
- โรงเรียนมุ่งมั่นพัฒนาเยาวชนไทยให้มีคุณธรรม มีความรู้ เพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นผู้ที่สามารถดำเนินชีวิต เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข
-โรงเรียนและนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดและได้รับประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติ และประกาศจากกรุงเทพมหานครให้เป็นสถานศึกษาเข้มแข็งปลอดยาเสพติด
- โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการรักษ์ความปลอดภัยกับกองทัพบก และโครงการอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทย โดยจัดส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันการอ่านฟังเสียง ทุกระดับชั้น และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 คือ เด็กชายทนันท์ วิศิษฎ์สุขวัฒนา ซึ่งเป็นรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
 

วิสัยทัศน์

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป จัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีศีลธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง ใช้ภาษาในการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เห็นคุณค่าและร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างเป็นสุข ตามวิถีความเป็นไทย
ภารกิจ

    1. พัฒนาและปลูกฝังผู้เรียนให้มีคุณศีลธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกในความเป็นไทย
    2. จัดประสบการณ์ตรง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    3. จัดแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้เป็นเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้
    4. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการ การศึกษา
    5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
    6. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนให้รู้อย่างต่อเนื่อง
    7. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้ภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    8. จัดระบบความปลอดภัยและอนามัยในโรงเรียน

เป้าหมาย

1. นักเรียนทุกคนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ
2. นักเรียนมีทักษะการใช้ภาษา การสื่อสารในชีวิตประจำวัน รักการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์
3. นักเรียนสามารถใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี ในการค้นหาความรู้
4. บุคลากรทุกคนมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นผู้ทำอย่างดี
5. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาอย่างต่อเนื่อง
6. ผู้เรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
7. นักเรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
8. นักเรียนยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
กลับหัวรายการ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ศีลธรรม จริยธรรม

1.1 มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้กาลเทศะ
1.2 มีความกตัญญู โดยแสดงออกในการช่วยเหลือบุคคลที่บ้านและโรงเรียน
1.3 มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2. กล้าแสดงออก

2.1 ค้นคว้าข้อมูลและนำเสนอได้ถูกต้องตามขั้นตอน
2.2 แสดงออกด้วยความมั่นใจ
2.3 แสดงออกในการเป็นผู้นำและผู้ตาม

3. ปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตย

3.1 ปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่ของตนและผู้อื่น
3.2 ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนและสังคมส่วนรวม
3.3 ยอมรับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม

4. มีจิตสำนึกในความเป็นไทย

4.1 แสดงความเคารพตามวัฒนธรรมไทย
4.2 สื่อสารภาษาไทยได้ถูกต้องชัดเจน
4.3 ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม

3.คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ
2. มีความเสียสละ รับผิดชอบ เห็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

3. มีความกตัญญู
4. มีความซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด
5. มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
6. กล้าแสดงออก
7. ปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตย

8.
มีจิตสำนึกในความเป็นไทย

      กลับหัวรายการ

6.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนสัมมาชีวศิลป มุ่งจัดให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ นอกเหนือจากหลักสูตรขั้นพื้นฐาน เพื่อให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม และปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ผู้เรียนสามารถเลือกกิจกรรมด้วยตนเองตามศักยภาพเพื่อให้มีการพัฒนาการครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม ในการดำเนินชีวิต ในสังคมอย่างสมดุลย์ โดยจัดทำเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. กิจกรรมนักเรียน โรงเรียนจัดแบ่งสัดส่วนเวลาของกิจกรรมต่าง ๆ แล้วกำหนดเวลาเรียนบางส่วนในตารางเวลาเรียนปกติ และบางส่วนนอกเวลาเรียนโดยจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.1 กิจกรรมพัฒนาความคิด ความสนใจ ตามความต้องการของผู้เรียน มุ่งเน้นการเพิ่มเติมความรู้ เช่น ชมรมดนตรี ชมรมมารยาทไทย ชมรมกีฬา ชมรมจิตรกรน้อย ชมรมนักประดิษฐ ชมรมนักกวีน้อย และชมรมนาฏศิลป์
1.2 กิจกรรมที่มุ่งปลูกฝัง ระเบียบวินัย กฎเกณฑ์เพื่อการอยู่ร่วมกัน การทำประโยชน์แก่สังคม และวีถีชีวิตในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และทำกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์

2.กิจกรรมแนะแนว โรงเรียนสัมมาชีวศิลป จัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาผู้เรียนใน 3 รูปแบบคือ

2.1 การจัดกิจกรรมเพื่อให้ครูได้รู้จักผู้เรียนกันมากขึ้น โดยใช้กระบวนการทางจิตวิทยาให้แก่ผู้เรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม เพื่อให้ได้รับการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่นการรู้จักรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการสร้างคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย รู้จักกาลเทศะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม กิจกรรมที่จัดได้แก่ ศึกษาข้อมูลของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งการแนะแนวการศึกษา การแนะแนวอาชีพ
2.2 การจัดบริการ ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพ วัฒนธรรม ศิลธรรม จริยธรรม สุขภาพ โดยจะนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดป้ายนิเทศ จัดหาเอกสารคู่มือให้อ่าน ทัศนศึกษา และใช้สื่อภาพยนตร์ วีดีทัศน์
2.3 งานให้คำปรึกษา เพื่อช่วยเหลือผู้เรียน รู้ว่าปัญหาของตนอยู่ตรงไหน ควรแก้ไขตนเองได้อย่างไร การแก้ไขนั้นมีกี่ทางเลือก และควรเลือกวิธีใด จึงจะเหมาะสมกับตนเองเป็นการบูรณาการแนะแนวในการเรียนการสอน เน้นให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งในด้านพัฒนาการตามวัย พฤติกรรมและ สาเหตุของพฤติกรรม วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดเจตนคติที่ดีต่อสาระวิชาต่างๆ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนซึ่งจะส่งผลให้การเรียนรู้เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงสุด

กลับหัวรายการ

7. การจัดการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอน

ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสัมมาชีวศิลป มีกระบวนการและวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยให้ผู้สอนคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน อย่างต่อเนื่อง ให้ผู้เรียน เรียนรู้ และสร้างองค์การความรู้ได้ด้วยตนเอง ตามสภาพจริง โดยเน้นทักษะการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีคุณธรรม ทันต่อเทคโนโลยี สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตามวิถีความเป็นไทย เห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งทางโรงเรียนได้พยายามสอดแทรกกระบวนการในการเรียนรู้ต่าง ๆ ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้การสอนบูรณาการแบบต่างๆ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพแก่ผู้เรียน เช่น

1. พัฒนาและปลูกฝังผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกในความเป็นไทย
2. จัดประสบการณ์ตรง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. จัดพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้เป็นเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้
4. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการศึกษา
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
6. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ อย่างต่อเนื่อง
7. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้ภาษา เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. จัดระบบความปลอดภัยในโรงเรียน

การจัดหน่วยการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบบูรณาการ

บรรณาการระหว่างกลุ่มสาระ ครูผู้สอนคนเดียวเน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาใช้ทักษะกระบวนการ และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ผลการเรียนที่คาดหวังของแต่ละสาระการเรียน

นอกจากวิชาการ

- กลุ่มสุขศึกษาและพละศึกษา

- กลุ่มการงานอาชีพ และเทคโนโลยี

บูรณาการในกลุ่มวิชา เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาพัฒนาความคิด เปรียบเทียบรวมทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงชั้นที่ 1

โครงงาน

ช่วงชั้นที่ 1 ระหว่างกลุ่มสาระ
ช่วงชั้นที่ 2 ภายในกลุ่มสาระ

การให้การบ้านของโรงเรียน ในวิชาหลัก 3 วิชา คือวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ มีการบ้านทุกวัน

สื่อการเรียนรู้

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ จากสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท เช่น

- สื่อที่ผลิตด้วยตนเอง บัตรคำ แผนภูมิ แผ่นภาพ
- สื่อทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์การทดลอง
-โปรแกรมช่วยสอน ในกลุ่มสาระต่าง ๆ
- เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของงานบ้าน งานประดิษฐ งานเกษตร
- แหล่งการเรียนรู้ภายใน ห้องสมุด
- ศูนย์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต
- แหล่งการเรียนรู้ภายนอก ท้องฟ้าจำลอง สวนสัตว์ โรงภาพยนตร์
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น พ่อค้า แม่ค้า พระภิกษุ
- เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้

กลับหัวรายการ

 

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป มีการวัดและประเมินผลที่ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อให้ข้อมูลในการตรวจสอบ และส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ มีการประเมินผลตามสภาพจริง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานกับกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้อื่น โดยการประเมินจะครอบคลุม ความรู้ ทักษะ ความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และผลงานจากโครงงาน หรือแฟ้มสะสมงาน สรุปการวัดและประเมินผลได้ดังนี้ คือ

  1. การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม
    - ประเมินผลจากการปฏิบัติจริง
    - การประเมินสภาพจริง
    - การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน

  2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    - การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนปลายปี
    - การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น
  3. การประเมินคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
  4. การประเมินการอ่าน คัด วิเคราะห์ และเขียนสื่อถาม
  5. นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติเมื่อจบช่วงชั้น

8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน
การวัดและประเมินผลใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น แบบทดสอบ ตรวจผลงาน การสังเกต แฟ้มสะสมผลงาน โครงงาน การปฏิบัติจริง เป็นต้น เป็นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม โดยประเมินผุ้เรียนในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์

การวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา การวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า พัฒนาการตามศักยภาพ ด้านการเรียนรู้ เป็นรายวิชา ในแต่ละปี หรือรายภาค ในทุกช่องชั้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและคุณภาพของผู้เรียนและพิจารณาตัดสิน การผ่านช่วงชั้น

การตัดสินผลการเรียน

  1. การตัดสินผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม ระดับผลการตัดสินผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้รายปี จำแนกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
    ระดับ 4 ผลการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
    ระดับ 3 ผลการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 – 79
    ระดับ 2 ผลการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 60 – 69
    ระดับ 1 ผลการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 50 – 59
    ระดับ 0 ผลการเรียนต่ำกว่าร้อยละ 50
    ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนแต่ละกลุ่มสาระไม่น้อยกว่าระดับ 1
  2. การตัดสินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับผลการตัดสินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำแนกเป็น 2 ระดับดังนี้
    “ผ่าน” ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรม
    “ไม่ผ่าน” ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป และผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรม
    ในกรณีมีผู้เรียนได้ระดับ “ไม่ผ่าน” ให้ผู้เรียนเข้ารับการซ่อมเสริมหรือเลือกกิจกรรมใหม่ จน “ผ่าน” ครบทุกกิจกรรมตามที่โรงเรียนกำหนดในแต่ละช่วงชั้น
  3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจำแนก เป็น 3 ระดับดังนี้
    “ ดีมาก” มีพฤติกรรมสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
    “ ดี ” มีพฤติกรรมตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
    “ ควรเสริม ” มีพฤติกรรมบางประการที่ควรเสริม
  4. การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน มีคณะกรรมการพิจาณากำหนดเกณฑ์ระดับผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนดังนี้
    1. กำหนดแนวทางในการพัฒนา และการประเมินความสามารถการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนดังนี้
    2. ดำเนินการพัฒนาและประเมินความสามารถ การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อตามของผู้เรียน

  5. ตัดสินผลการพัฒนาความสามารถ การอ่าน คิด วิเคราะห์ และการเขียนสื่อตามของผู้เรียนรายปี / รายภาค และการผ่านช่วงชั้น

เอกสารหลักฐานการศึกษา ทางโรงเรียนมีเอกสารหลักฐานทางการศึกษา ดังนี้

  1. ระเบียบแสดงผลการเรียน (ปพ.1)
  2. หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา (ปพ.2)
  3. แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.3)
  4. แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ปพ.4)
  5. แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ปพ.5)
  6. แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รายบุคคล (ปพ.6)
  7. ใบรับรองผลการศึกษา (ปพ.7)
  8. ระเบียบสะสม (ปพ.8)
    กลับหัวรายการ

บทที่ 9

การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา

  1. การบริหารงานวิชาการ
    1. จัดคนเข้าสอนตามความรู้ความสามารถ และความถนัด
    2. จัดตารางสอน
    3. ส่งเสริมให้มีการใช้เทคนิควิธีสอนให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้สอน
    4. ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    5. กำหนด กฎระเบียบ เกี่ยวกับการให้รางวัล การลงโทษ
    6. การให้การบ้าน
    7. จัดบริการแนะแนว
    8. จัดการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยคณะกรรมการนิเทศ
    9. ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ผลงานของครูและนักเรียน

  2. การบริหารทั่วไป
    1. พัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมบริเวณสถานศึกษาให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
    2. จัดบริการสาธารณูปโภคให้ครบถ้วน พร้อมใช้ตลอดเวลา
    3. จัดสวัสดิการให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา
    4. จัดระบบบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุให้เป็นปัจจุบัน
    5. จัดประชุมผุ้ปกครองทุกปี
    6. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
    7. ประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
    8. จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    9. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป ได้จัดโครงสร้างการบริหารงานฝ่ายวิชาการไว้อย่างชัดเจน โดยมีคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาพื้นฐาน เป็นผู้รับผิดชอบในการในการดำเนินงานและเพื่อช่วยในการนำหลักสุตรไปใช้ให้บรรลุผลสูงสุด ได้มีการวางแผนการกำหนดกิจกรรม การนำหลักสูตรไปใช้ การนิเทศติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการ / งาน / กิจกรรม / เพื่อให้หลักสูตร บรรลุเป้าหมายดังนี้

  • งานวิชาการ

  • งานห้องสมุด
  • งานวัดผลและประเมินผล
  • งานวิเคราะห์ข้อสอบ
  • งานส่งเสริมการอ่าน
  • การจัดทำปฏิทินประจำปี

    การบริหารทั่วไป

  1. จัดมีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองโดย
    -
    ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    - ผู้ปกครองพบครู ปีละ 1 ครั้ง
    กลับหัวรายการ

การบริหารงานทั่วไป โรงเรียนสัมมาชีวศิลป จัดการบริหารงานโดยแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน ออกเป็นฝ่าย ๆ ดังนี้

โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

โครงสร้างการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

  1. 3. อื่น ๆ
    1. ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง

    2. ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาภาคเรียนละ 2 ครั้ง

    3. ประชุมคณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้เดือนละ 1 ครั้ง

    4.
    ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาผู้เรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    5. ประชุมหัวหน้าฝ่ายของโรงเรียนเดือนละ 1 ครั้ง

    6.
    ประชุมภายในฝ่ายเดือนละ 1 ครั้ง
    7.
    ประชุมครู / บุคลากร เดือนละ 1 ครั้ง
    8.
    ประชุมผู้ปกครอง / ผู้ปกครองพบครูประจำชั้น ปีละ 1 ครั้ง
    9. พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน เช่น พัฒนาห้องสมุด พัฒนาสื่อการเรียนรู้

    10.
    พัฒนาสถานที่และสิ่งแวดล้อมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
    11.
    งานบริหารบุคลากร มีการคัดเลือกและจัดบุคลากร / ครู เข้าสอนตามความรู้ ความสามารถ และความถนัด และพัฒนาบุคลากร / ครู โดยส่งอบรมสัมมนา สนับสนุนการศึกษาต่อ
    12.
    บริหารงานด้านทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน โดยจัดหา จัดซื้อแยกผลิตสื่อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
    13.
    การให้บริหารนักเรียนด้านต่าง ๆ ด้านสุขภาพาอนามัย ด้านโภชนาการ ด้านความปลอดภัย

กลับหัวรายการ

4. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

(ระดับประถมศึกษา ป.1 - ป.6)

กลุ่มสาระ

เวลาเรียน (รายคาบ 60 นาที , วันละ 6 คาบ)

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

1.) สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

A

B

1.ภาษาไทย

7

280

280

280

200

200

200

5

2.คณิตศาสตร์

5

200

200

200

200

200

200

5

3.วิทยาศาสตร์

2

80

80

80

120

120

120

3

4.สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

2

80

80

80

120

120

120

3

5.สุขศึกษาและพละศึกษา

2

80

80

80

80

80

80

2

6.ศิลป

2

80

80

80

80

80

80

2

7.การอาชีพและเทคโนโลยี

2

80

80

80

80

80

80

2

8.ภาษาต่างประเทศ

3

120

120

120

120

120

120

3

รวม 8 กลุ่มสาระ

25

1,000

1,000

1,000

1,000

1,000

1,000

25

2.) สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม

-

-

-

-

40

40

40

1

- คอมพิวเตอร์

-

-

-

-

- ภาษาอังกฤษ

-

-

-

-

- งานช่าง

-

-

-

-

3.) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3

120

120

120

120

120

120

3

- กิจกรรมแนะแนว

- กิจกรรมชมรม

- กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี

รวม

28

1,120

1,120

1,120

1,160

1,160

1,160

29

หมายเหตุ

A เป็นจำนวนคาบ/ สัปดาห์ / สาระการเรียนรู้ของช่วงชั้น ป.1 – ป.3

B เป็นจำนวนคาบ / สัปดาห์ / สาระการเรียนรู้ช่วงชั้น ป.4 – ป.6

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเกณฑ์ในการกำหนด

คุณภาพของผู้เรียนเมื่อเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกำหนดไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นสำหรับ

พื้นฐานในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ สำหรับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามความสามารถ

ความถนัดและความสนใจของเรียน สถานศึกษาสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ สาระและมาตรฐาน

การเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ภาษาไทย

สาระที่ 1 : การอ่าน

มาตรฐาน ท1.1 :

ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและ

สร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

สาระที่ 2 : การเขียน

มาตรฐาน ท 2.1 :

ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความและเขียนเรื่องราว

ในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้า

อย่างมีประสิทธิภาพ

สาระที่ 3 : การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท 3.1 :

สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด

ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

สาระที่ 4 : หลักการใช้ภาษา

มาตรฐาน ท 4.1 :

เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ

พลังของภาษาภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

มาตรฐาน ท 4.2 :

สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้ เสริมสร้างลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ และ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาชีพ สังคม และชีวิตประจำวัน

สาระที่ 5 : วรรณคดี และวรรณกรรม

มาตรฐาร ท 5.1 :

เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็น

คุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

กลับหัวรายการ

 

 

คณิตศาสตร์

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค 1.1 :

เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

มาตรฐาน ค 1.2 :

เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง

การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้

มาตรฐาน ค 1.3 :

ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้

มาตรฐาน ค 1.4 :

เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้

สาระที่ 2 : การวัด

มาตรฐาน ค 2.1 :

เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด

มาตรฐาน ค 2.2 :

วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้

มาตรฐาร ค 2.3 :

แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้

สาระที่ 3 : เรขาคณิต

มาตรฐาน ค 3.1 :

อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้

มาตรฐาน ค 3.2 :

ใช้การนึกภาพ ( visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)

และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต ( geometric model ) ในการแก้ปัญหาได้

สาระที่ 4 : พีชคณิต

มาตรฐาน ค 4.1 :

อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป ( pattern ) ความสัมพันธ์และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้

มาตรฐาน ค 4.2 :

ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ

แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค 5.1 :

เข้าใจและวิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้

มาตรฐาน ค 5.2 :

ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้

อย่างสมเหตุสมผล

มาตรฐาน ค 5.3 :

ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้

สาระที่ 6 : ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐาน ค 6.1 :

มีความสามารถในการแก้ปัญหา

มาตรฐาน ค 6.2 :

มีความสามารถในการให้เหตุผล

26

มาตรฐาน ค 6.3 :

มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการ

นำเสนอ

มาตรฐาน ค 6.4 :

มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง

คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้

มาตรฐาน ค 6.5 :

มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

กลับหัวรายการ

 

วิทยาศาสตร์

สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว 1.1 :

เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของ

ระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความ

รู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

มาตรฐาน ว 1.2 :

เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรม

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยี

ชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ

จิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน ว 2.1 :

เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะ

หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 2.2 :

เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับ

ท้องถิ่นประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร

มาตรฐาน ว 3.1 :

เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ

จิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 3.2 :

เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย

การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์

สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่

มาตรฐาน ว 4.1 :

เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์มี

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม

มาตรฐาน ว 4.2 :

เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ

สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้

ประโยชน์

สาระที่ 5 : พลังงาน

มาตรฐาน ว 5.1 :

เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและ

สิ่งแวดล้อม มีกระบนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้

ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

มาตรฐาน ว 6.1 :

เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์

ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและ

สัณฐานของโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสาร

สิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ

มาตรฐาน ว 7.1 :

เข้าใจวิวัฒนการของระบบสุริยะและกาแล็กซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ

และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ

จิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 7.2 :

เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและ

ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำ

ความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรฐาน ว 8.1 :

ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้

การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีรูปแบบที่

แน่นอนนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่

ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมี

ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

กลับหัวรายการ

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สาระที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน ส 1.1 :

เข้าใจประวัติ ความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตน

นับถือและสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน

มาตรฐาน ส 1.2 :

ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงามและศรัทธาในพระพุทธ

ศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

มาตรฐาน ส 1.3 :

ประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมและศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือ

ศาสนาที่ตนนัถือ ค่านิยมที่ดีงามและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน

บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

สาระที่ 2 : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

มาตรฐาน ส 2.1 :

ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฏหมาย ประเพณีและ

วัฒนธรรมไทยดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

มาตรฐาน ส 2.2 :

เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรง

รักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข

สาระที่ 3 : เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส 3.1 :

เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภคการใช้

ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจอย่าง

พอเพียง เ พื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

มาตรฐาน ส 3.2 :

เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจ

และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

สาระที่ 4 : ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส. 4.1 :

เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยของประวัติศาสตร์สามารถ

ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์

เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

 

มาตรฐาน ส 4.2 :

เข้าใจพัฒนาการของมนุษย์ชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และ

การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและ

สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

มาตรฐาน ส 4.3 :

เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจ

และธำรงความเป็นไทย

สาระที่ 5 : ภูมิศาสตร์

มาตรฐาน ส 5.1 :

เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่

ปรากฏในระหว่างที่ซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาข้อมูลภูมิสารสนเทศ อันจะนำไปสู่การใช้

และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน ส 5.2 :

เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ

สร้างสรรค์ควัฒนธรรม และมีจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อ

การพัฒนาที่ยั่งยืน

               

               

               

               

               

               

               

               

               

               

               

               

 

 

กลับหัวรายการ

 

สุขศึกษาและพลศึกษา

 

 

สาระที่ 1 : การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

มาตรฐาน พ 1.1 :

เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโต และทรัพยากรของมนุษย์

สาระที่ 2 : ชีวิตและครอบครัว

มาตรฐาน พ 2.1 :

เข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวิต ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการ

ดำเนินชีวิต

สาระที่ 3 : การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล

มาตรฐาน พ 3.1 :

เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา

มาตรฐาน พ 3.2 :

รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬาปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำ

เสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการ

แข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค

มาตรฐาน พ. 4.1 :

เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกัน

โรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

สาระที่ 5 : ความปลอดภัยในชีวิต

มาตรฐาน พ 5.1 :

ป้องกันและหลีกเหลี่ยงปัจจัยเสี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ

การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง

กลับหัวรายการ

ศิลป

สาระที่ 1 : ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ 1.1 :

สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และวิเคราะห์

วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด ต่องาน

ศิลปอย่างอิสระชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ 1.2 :

เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเห็นคุณค่า

งานทัศน์ศิลป์ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญา

ท้องถิ่น

สาระที่ 2 : ดนตรี

มาตรฐาน ศ 2.1 :

เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์

คุณค่าถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์

ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ 2.2 :

เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า

ของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น

สาระที่ 3 : นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ 3.1 :

เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์

คุณค่า นาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และ

ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ 3.2 :

เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็น

คุณค่าของนาฏศิลป์ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยและ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

กลับหัวรายการ

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สารที่ 1 : การดำรงชีวิตและครอบครัว

มาตรฐาน ง 1.1 :

เข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ มีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัวที่เกี่ยว

ข้องกับงานบ้านงานเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ และงานธุรกิจ

มาตรฐาน ง 1.2 :

มีทักษะกระบวนการทำงาน การจัดการ การทำงานเป็นกลุ่ม การแสวงหา

ความรู้สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่องาน

สาะที่ 2 : การอาชีพ

มาตรฐาน ง 2.1 :

เข้าใจ มีทักษะ มีประสบการณ์ในงานอาชีพสุจริต มีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่อ

งานอาชีพและเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพสุจริต

สาระที่ 3 : การออกแบบและเทคโนโลยี

มาตรฐาน ง 3.1 :

เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยีใช้ความรู้ ภูมิปัญญาจินตนาการ

และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการเชิง

กลยุทธ์ ตามกระบวนการเทคโนโลยีสามารถตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีในทาง

สร้างสรรค์ค์ต่อชีวิตสังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ

สาระที่ 4 : เทคโนโลยีสารสนเทศ

มาตรฐาน ง 4.1 :

เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล

การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพ อย่างมี

ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม

สาระที่ 5 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

มาตรฐาน ง 5.1 :

ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การ

สร้างงานการสร้างอาชีพสุจริต อย่างมีความเข้าใจ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์

และมีกลยุทธ์และมีความคิดสร้างสรรค์

กลับหัวรายการ

 

 

 

 

ภาษาต่างประเทศ

ภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศล เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น

อาหรับ บาลี และภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้านหรือภาษาอื่นๆให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่

จะจัดทำรายวิชาประกอบการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม

สาระที่ 1 : ภาษาเพื่อการสื่อสาร

มาตรฐาน ต 1.1 :

เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อ

ประเภทต่างๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ

มาตรฐาน ต 1.2 :

มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็นแสดง

ความรู้สึกโดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มาตรฐาน ต 1.3 :

เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็นและความคิด

รวบยอดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและมีสุนทรียภาพ

สารที่ 2 : ภาษาและวัฒนธรรม

มาตรฐาน ต 2.1 :

เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไป

ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

มาตรฐาน ต 2.2 :

เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของ

ภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ

สาระที่ 3 : ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มาตรฐาน ต 3.1 :L

ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็น

พื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน

สาระที่ 4 : ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต 4.1 :

สามารถใช้ภาษาต่างประเทศตามสถานการณ์ต่าง ๆทั้งในสถานศึกษาชุมชน

และสังคม

มาตรฐาน ต 4.2 :

สามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงาน

การประกอบอาชีพการสร้างความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันในสังคม

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มจะกำหนดไว้ในเอกสารประกอบการหลักสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับขอบข่ายกลุ่มสาระและ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นในแต่ละกลุ่มสาระดังเอกสารแนบท้าย กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

รายวิชา ท.11 ชั้น ป.1 จำนวน 280 ชั่วโมง

อ่านสะกดคำได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน อ่านจำคำได้แม่นยำและอ่านได้คล่องและเร็ว เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน ใช้คำถามตอบคำถามตามเนื้อหาและบอกคำสำคัญของข้อความที่อ่านเรื่องแล้วคาดคะเนเหตุการณ์ของเรื่องและกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการอ่าน อ่านในใจและอ่านออกเสียงที่ร้อยแก้ว บทร้อยกรอง บอกใจความสำคัญของเรื่องหรือตอบคำถามวาดภาพแสดงความเข้าใจในการอ่าน อ่านได้เร็วและอ่านถูกต้องตามอักขรวิธีและลักษณะคำประพันธ์ด้วยเสียงดังฟังชัดเจนพูดแสดงความเข้าใจ ใจความสำคัญและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน พูดหรือเขียนแสดงความรู้ ความคิดจากการอ่านท่องจำบทร้อยกรองที่มีความไพเราะและมีข้อคิดที่ดี สามารถอ่านหนังสือ ที่เป็นประโยชน์ทั้งความรู้และความบันเทิงแสดงมารยาทในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกสิ่งที่ได้อ่าน

การเขียนคำโดยใช้หลักการสะกดคำแจกลูก การเขียนคำแสดงความคิด ความรู้สึก ความต้องการเป็นประโยคและข้อความสั้น ๆ เขียนอย่างมีมารยาทเพื่อการสื่อสาร เขียนบันทึกความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ แสดงนิสัยรักการเขียนด้วยการ อ่าน ดู ฟัง จดบันทึก และใช้กระบวนการเขียนโดยวางแผน การเขียนยกร่างและตรวจสอบแก้ไขข้อความที่เขียนด้วยลายมือ สวยงาม สะอาด ตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย แสดงถึงทักษะ โดยใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องการฟังผู้พูดและดูสื่อต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องสั้น ๆและจับใจความสำคัญของเรื่อง ตอบคำถาม บอกความหมายของถ้อยคำ การใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์และกริยาท่าทางของผู้พูด แสดงความคิดเห็นมีมารยาท การฟังและการดูสื่อตั้งคำถาม คำตอบสนทนากับผู้อื่น แสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ ใช้ถ้อยคำและภาษาถูกต้อง เล่าเรื่องหรือถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงมารยาทการพูดที่ถูกกาลเทศะกริยาท่าทาง สุขภาพเหมาะสมแก่สถานที่

การสะกดคำตามมาตรา ทั้ง 8 แม่ สะกดคำอักษรควบการผันอักษรกลาง สูง ต่ำ ตามหลักสูตร คำคล้องจองใช้ในชีวิตประจำวัน บอกความหมายของคำ กลุ่มคำเรียงคำเป็นประโยค พูดเขียน ข้อความสั้น ๆ การใช้ภาษาที่สุภาพในการสนทนา ตอบคำถาม การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเขียนบทร้อยกรอง การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องการละเล่นและการใช้ภาษาท้องถิ่นแต่ละถิ่น บ่งบอกถึงภาษาไทยที่เป็นภาษากลางใช้ทั่วประเทศ
การใช้ทักษะการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การดูสื่อต่าง ๆ ในการหาความรู้นำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนถึงการใช้คอมพิวเตอร์ตัวเลขไทย มาใช้เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนให้สอดคล้องกับเรียนวิชาอื่น ๆ และเหมาะสมตามสถานการณ์และกาลเทศะ
การอ่านนิทานเรื่องสั้น ๆ สารคดี บทร้อยกรอง บทความ บทละคร ได้รับความรู้และความบันเทิงจากการอ่านและพูดหรือเขียนข้อคิดเห็นอื่น ๆ นำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

รายวิชา ท.11 ชั้น ป.2 จำนวน 280 ชั่วโมง

อ่านสะกดคำได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน อ่านจำคำได้แม่นยำและอ่านได้คล่องและเร็ว เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน ใช้คำถามตอบคำถามตามเนื้อหาและบอกคำสำคัญของข้อความที่อ่านเรื่องแล้วคาดคะเนเหตุการณ์ของเรื่องและกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการอ่าน อ่านในใจและอ่านออกเสียงที่ร้อยแก้ว บทร้อยกรอง บอกใจความสำคัญของเรื่องหรือตอบคำถามวาดภาพแสดงความเข้าใจในการอ่าน อ่านได้เร็วและอ่านถูกต้องตามอักขรวิธีและลักษณะคำประพันธ์ด้วยเสียงดังฟังชัดเจนพูดแสดงความเข้าใจ ใจความสำคัญและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน พูดหรือเขียนแสดงความรู้ ความคิดจากการอ่านท่องจำบทร้อยกรองที่มีความไพเราะและมีข้อคิดที่ดี สามารถอ่านหนังสือ ที่เป็นประโยชน์ทั้งความรู้และความบันเทิงแสดงมารยาทในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกสิ่งที่ได้อ่าน

การเขียนคำโดยใช้หลักการสะกดคำแจกลูก การเขียนคำแสดงความคิด ความรู้สึก ความต้องการเป็นประโยคและข้อความสั้น ๆ เขียนอย่างมีมารยาทเพื่อการสื่อสาร เขียนบันทึกความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ แสดงนิสัยรักการเขียนด้วยการ อ่าน ดู ฟัง จดบันทึก และใช้กระบวนการเขียนโดยวางแผน การเขียนยกร่างและตรวจสอบแก้ไขข้อความที่เขียนด้วยลายมือ สวยงาม สะอาด ตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย แสดงถึงทักษะ โดยใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องการฟังผู้พูดและดูสื่อต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องสั้น ๆและจับใจความสำคัญของเรื่อง ตอบคำถาม บอกความหมายของถ้อยคำ การใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์และกริยาท่าทางของผู้พูด แสดงความคิดเห็นมีมารยาท การฟังและการดูสื่อตั้งคำถาม คำตอบสนทนากับผู้อื่น แสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ ใช้ถ้อยคำและภาษาถูกต้อง เล่าเรื่องหรือถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงมารยาทการพูดที่ถูกกาลเทศะกริยาท่าทาง สุขภาพเหมาะสมแก่สถานที่

การสะกดคำตามมาตรา ทั้ง 8 แม่ สะกดคำอักษรควบการผันอักษรกลาง สูง ต่ำ ตามหลักสูตร คำคล้องจองใช้ในชีวิตประจำวัน บอกความหมายของคำ กลุ่มคำเรียงคำเป็นประโยค พูดเขียน ข้อความสั้น ๆ การใช้ภาษาที่สุภาพในการสนทนา ตอบคำถาม การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเขียนบทร้อยกรอง การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องการละเล่นและการใช้ภาษาท้องถิ่นแต่ละถิ่น บ่งบอกถึงภาษาไทยที่เป็นภาษากลางใช้ทั่วประเทศ

การใช้ทักษะการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การดูสื่อต่าง ๆ ในการหาความรู้นำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนถึงการใช้คอมพิวเตอร์ตัวเลขไทย มาใช้เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนให้สอดคล้องกับเรียนวิชาอื่น ๆ และเหมาะสมตามสถานการณ์และกาลเทศะ
การอ่านนิทานเรื่องสั้น ๆ สารคดี บทร้อยกรอง บทความ บทละคร ได้รับความรู้และความบันเทิงจากการอ่านและพูดหรือเขียนข้อคิดเห็นอื่น ๆ นำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

รายวิชา ท.11 ชั้น ป.3 จำนวน 280 ชั่วโมง

อ่านสะกดคำได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน อ่านจำคำได้แม่นยำและอ่านได้คล่องและเร็ว เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน ใช้คำถามตอบคำถามตามเนื้อหาและบอกคำสำคัญของข้อความที่อ่านเรื่องแล้วคาดคะเนเหตุการณ์ของเรื่องและกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการอ่าน อ่านในใจและอ่านออกเสียงที่ร้อยแก้ว บทร้อยกรอง บอกใจความสำคัญของเรื่องหรือตอบคำถามวาดภาพแสดงความเข้าใจในการอ่าน อ่านได้เร็วและอ่านถูกต้องตามอักขรวิธีและลักษณะคำประพันธ์ด้วยเสียงดังฟังชัดเจนพูดแสดงความเข้าใจใจความสำคัญและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน พูดหรือเขียนแสดงความรู้ ความคิดจากการอ่านท่องจำบทร้อยกรองที่มีความไพเราะและมีข้อคิดที่ดีสามารถอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ทั้งความรู้และความบันเทิงแสดงมารยาทในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านและจดบันทึกสิ่งที่ได้อ่าน

การเขียนคำโดยใช้หลักการสะกดคำแจกลูก การเขียนคำแสดงความคิด ความรู้สึก ความต้องการเป็นประโยคและข้อความสั้น ๆ เขียนอย่างมีมารยาทเพื่อการสื่อสาร เขียนบันทึกความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ แสดงนิสัยรักการเขียนด้วยการ อ่าน ดู ฟัง จดบันทึก และใช้กระบวนการเขียนโดยวางแผน การเขียนยกร่างและตรวจสอบแก้ไขข้อความที่เขียนด้วยลายมือ สวยงาม สะอาด ตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย แสดงถึงทักษะ โดยใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องการฟังผู้พูดและดูสื่อต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องสั้น ๆและจับใจความสำคัญของเรื่อง ตอบคำถาม บอกความหมายของถ้อยคำ การใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์และกริยาท่าทางของผู้พูด แสดงความคิดเห็นมีมารยาท การฟังและการดูสื่อตั้งคำถาม คำตอบสนทนากับผู้อื่น แสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ ใช้ถ้อยคำและภาษาถูกต้อง เล่าเรื่องหรือถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงมารยาทการพูดที่ถูกกาลเทศะกริยาท่าทาง สุขภาพเหมาะสมแก่สถานที่
การสะกดคำตามมาตรา ทั้ง 8 แม่ สะกดคำอักษรควบการผันอักษรกลาง สูง ต่ำ ตามหลักสูตร คำคล้องจองใช้ในชีวิตประจำวัน บอกความหมายของคำ กลุ่มคำเรียงคำเป็นประโยค พูดเขียน ข้อความสั้น ๆ การใช้ภาษาที่สุภาพในการสนทนา ตอบคำถาม การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเขียนบทร้อยกรอง การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องการละเล่นและการใช้ภาษาท้องถิ่นแต่ละถิ่น บ่งบอกถึงภาษาไทยที่เป็นภาษากลางใช้ทั่วประเทศ
การใช้ทักษะการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การดูสื่อต่าง ๆ ในการหาความรู้นำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนถึงการใช้คอมพิวเตอร์ตัวเลขไทย มาใช้เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนให้สอดคล้องกับเรียนวิชาอื่น ๆ และเหมาะสมตามสถานการณ์และกาลเทศะ
การอ่านนิทานเรื่องสั้น ๆ สารคดี บทร้อยกรอง บทความ บทละคร ได้รับความรู้และความบันเทิงจากการอ่านและพูดหรือเขียนข้อคิดเห็นอื่น ๆ นำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1.การอ่าน

รายวิชา ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 280 ชั่วโมง

การอ่าน

อ่านได้คล่อง และเร็ว เข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร การแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น สรุปใจความสำคัญ หาคำสำคัญ ในเรื่องที่อ่านโดยใช้แผนภาพโครงเรื่องหรือแผนภาพความคิดพัฒนาการอ่าน นำความรู้ความคิดจากการอ่านไปใช้แก้ปัญหา ใช้การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตน และค้นคว้าเพิ่มเติม อ่านในใจ และอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้องกรองได้ถูกต้องตามลักษณะของคำประพันธ์ และอักขรวิธีท่องจำบทร้อยกรองที่มีคุณค่าทางความคิด และความงดงามทางภาษา อธิบายความหมายและคุณค่าของบทร้อยกรองเลือกหนังสืออ่านตามจุดประสงค์ มีมารยาทการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน

การเขียน

เขียนเรียงความ เขียนย่อความ เขียนรายงาน เขียนจดหมายได้เหมาะสมกับโอกาส เขียนเรื่องราวจากจินตนาการมีมารยาทการเขียน มีทักษะในการเขียนจดบันทึกข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ เพื่อนำมาพัฒนางานเขียน

การฟัง การดูและการพูด

จับประเด็นสำคัญ แยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น สรุปความวิเคราะห์เรื่องตามข้อเท็จจริง เข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องที่พูด เข้าใจถ้อยคำ น้ำเสียงที่แสดงออกของกริยาท่าทาง รับสารจากการฟัง และการดู โดยสังเกต สนทนาโต้ตอบ พูดวิเคราะห์เรื่องราว พูดรายงาน มีมารยาทการฟัง การดูและการพูด

หลักการใช้ภาษา

อ่าน และเขียนสะกดคำในวงคำศัพท์ที่กว้างขวาง ใช้คำกลุ่มคำ ตามชนิด และหน้าที่มาเรียบเรียงเป็นประโยค ใช้ประโยคสื่อสารได้ชัดเจน ใช้คำที่มีความหมายโดยตรง ใช้ภาษาในการสนทนา เชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ชี้แจงด้วยถ้อยคำสุภาพใช้คำราชาศัพท์ รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูด และเขียน ลักษณะของคำไทย คำภาษาถิ่น และคำภาษาต่างประเทศที่ปรากฏ ในภาษาไทย แต่งบทรอยกรองประเภท กลอนสี่ กลอนแปด (กลอนสุภาพ) เล่านิทาน และตำนานพื้นบ้าน ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียน การแสวงหาความรู้และการดำรงชีวิต การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องสมุด บอกระดับของภาษา ลักษณะของภาษาพูดและภาษาเขียน ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคล และสถานการณ์ใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ พัฒนาความรู้เห็นคุณค่าการใช้ตัวเลขไทย ใช้ภาษาพูด และภาษาเขียนอย่างถูกต้องมีคุณธรรมและเหมาะ

สมแก่สถานการณ์ ใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในชุมชน

วรรณคดีและวรรณกรรม

อ่านนิทาน ตำนาน เรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง บทละครง่ายๆ สำหรับเด็กในการหาความรู้และความบันเทิงเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1.การอ่าน

รายวิชา ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 200 ชั่วโมง

การอ่าน

อ่านได้คล่อง เข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร การเปรียบเทียบ การแยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น วิเคราะห์ความตีความ และสรุปใจความ หาคำสำคัญในเรื่องที่อ่าน และใช้แผนภาพโครงเรื่อง หรือแผนภาพความคิดพัฒนาการอ่าน นำความรู้ ความคิดจากการอ่านไปใช้แก้ปัญหา และตัดสินใจ ใช้การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตน และค้นคว้าเพิ่มเติม อ่านใจและอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้คล่อง รวดเร็วตามลักษณะของคำประพันธ์และอัขรวิธีท่องจำบทร้อยกรองที่มีคุณค่าทางความคิด และอธิบายความหมาย และคุณค่า เลือกอ่านหนังสือตามจุดประสงค์ มีมารยาทการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน

การเขียน
เขียนเรียงความ ย่อความ รายงาน จดหมาย เรื่องจากจินตนาการ มีมารยาทการเขียน และนิสัยรักการเขียน จดบันทึกข้อมูลความรู้ เหตุการณ์และการสังเกต เพื่อนำมาพัฒนางานเขียน มีทักษะในการเรียน

การฟัง การดูและการพูด

จับประเด็นสำคัญ แยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น สรุปความวิเคราะห์เรื่องตามข้อเท็จจริง เข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องและของผู้พูด เข้าใจถ้อยคำ น้ำเสียงที่แสดงออกของกิริยาท่าทางรับสารจากการฟังและการดู โดยสังเกตและเปรียบเทียบสนทนาโต้ตอบและพูดแสดงความรู้สึกนึกคิด พูดวิเคราะห์เรื่องราวต่อหน้าชุมชน พูดรายงานโดยใช้ถ้อยคำเหมาะสมแก่เรื่อง มีมารยาทการฟัง การดูและการพูด

หลักการใช้ภาษา

อ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ที่ยากขึ้นได้ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ใช้คำ กลุ่มคำตามชนิด และหน้าที่เรียบเรียงเป็นประโยคใช้ประโยคได้ชัดเจน ใช้คำที่มีความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย ใช้ภาษาใน

การสนทนาเชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ชี้แจงด้วยถ้อยคำสุภาพ ใช้คำราชาศัพท์ รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูด และเขียน ลักษณะของคำไทย คำภาษาถิ่น และคำภาษาต่างประเทศแต่ง

กาพย์ยานี 11 และกลอนแปด โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์ เล่านิทาน และตำนานพื้นบ้านในท้องถิ่น ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการเขียน แสวงหาความรู้ในการดำรงชีวิต และอยู่ร่วมกันในสังคมใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารพัฒนาความรู้ เข้าใจระดับของภาพทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ เห็นคุณค่าการใช้ตัวเลขไทย ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง มีคุณธรรมทั้งในการพูด และการเขียน เหมาะแก่สถานการณ์ ใช้ภาษาสร้างสรรค์ เป็นประโยคต่อส่วนรวมและสร้างความสามัคคี สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในชุมชน

วรรณคดีและวรรณกรรม

อ่านนิทาน เรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง บทละครสำหรับเด็ก ในการหาความรู้ และความบันเทิง แสดงข้อคิดเห็นจากการอ่าน นำข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1.การอ่าน

รายวิชา ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 200 ชั่วโมง

เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในชีวิตจริง สนทนาโต้ตอบ และพูดแสดงความรู้สึกนึกคิด พูดวิเคราะห์เรื่องราวต่อหน้าชุมชน พูดรายงานโดยใช้ถ้อยคำเหมาะสมแก่เรื่อง และจุดประสงค์ตามหลักการพูด มีมารยาทการฟัง การดู และการพูด

หลักการใช้ภาษา

อ่านและเขียนสะกดคำศัพท์ที่ยากขึ้นได้ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ใช้คำ กลุ่มคำ ตามชนิด และหน้าที่มาเรียบเรียงเป็นประโยค ใช้ประโยคได้ชัดเจน ใช้คำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ใช้ภาษาในการสนทนาเชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ชี้แจงด้วยถ้อยคำสุภาพ ใช้คำราชาศัพท์ รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูด และเขียนลักษณะของคำไทย คำภาษาถิ่น และคำภาษาต่างประเทศแต่งกาพย์ยานี 11 และกลอนแปด โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์ เล่านิทาน และตำนานพื้นบ้านในท้องถิ่น ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการเขียน แสวงหาความรู้ ในการดำรงชีวิต และอยู่ร่วมกันในสังคมใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารพัฒนาความรู้ เข้าใจระดับของภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ เห็นคุณค่าการใช้ตัวเลขไทย ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง มีคุณธรรมทั้งในการพูด และการเขียนเหมาะแก่สถานการณ์ใช้ภาษาสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และสร้างความสามัคคี สอดคล้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในชุมชน

วรรณคดี และวรรณกรรม

อ่านนิทาน เรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง บทละครสำหรับเด็กในการหาความรู้ และความบันเทิง แสดงข้อคิดเห็นจากการอ่าน นำข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การอ่าน

อ่านได้คล่อง ถูกต้อง และเร็ว เข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร และการเปรียบเทียบ การแยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น วิเคราะห์ความ ตีความ สรุปความ หาคำสำคัญในเรื่องที่อ่านโดยใช้แผนภาพโครงเรื่องหรือแผนภาพความคิดพัฒนา การอ่าน นำความรู้ ความคิด

จากการอ่านไปใช้แก้ปัญหา ตัดสินใจ และคาดการณ์ใช้การอ่านเป็นเครื่องมือพัฒนาตน ตรวจสอบความรู้ และค้นคว้าเพิ่มเติม การอ่านในใจ และอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองถูกต้องตามลักษณะคำประพันธ์ และอักขรวิธี ท่องบทร้อยกรองที่มีคุณค่าทางความคิด

และความงดงามทางภาษา อธิบายความหมาย คุณค่า และนำไปใช้อ้างอิงเลือกอ่านหนังสือตามจุดประสงค์อย่างกว้างขวางมีมารยาทการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน

การเขียน

เขียนเรียงความ เขียนย่อความ เขียนรายงาน เขียนจดหมายได้เหมาะสมกับโอกาส เขียนเรื่องราวจากจินตนาการ หรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง มีมารยาทการเขียน และนิสัยรักการเขียน บันทึกความรู้ ประสบการณ์ เหตุการณ์ และการสังเกตอย่างเป็นระบบมีทักษะในการเขียน เพื่อนำมาพัฒนาการเขียนอย่างมีมารยาททางสังคม

การฟัง การดูและการพูด

จับประเด็นสำคัญ แยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น สรุปความวิเคราะห์เรื่องตามข้อเท็จจริง เข้าใจจุดประสงค์ของเรื่อง และของผู้พูด เข้าใจถ้อยคำน้ำเสียงที่แสดงออกของกิริยาท่าทาง รับสารจากการฟัง และการดูโดยสังเกต และเปรียบเทียบ

กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้

รายวิชา สังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาพระพุทธศาสนาและศาสนาที่ตนนับถือเกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา รู้หลักธรรมเบื้องต้น เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมกับวัย วิธีปฏิบัติตนให้เป็นคนดีของครอบครัว วิธีการดำเนินชีวิตของตนเองในครอบครัว วิธีปฏิบัติตนให้เป็นคนดีของครอบครัว เพื่อก่อให้เกิดการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและรู้คุณค่า มีความภูมิใจในตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน รู้หลักธรรมเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมกับวัย

เห็นความสำคัญของหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไม่ลบหลู่ศาสนาอื่น สามารถนำหลักธรรมของศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน

ศึกษาระบบการเมืองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่นศรัทธาและธำรงรักษาไว้ ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข เพื่อปฏิบัติตนตามหน้าที่ ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรม เห็นความสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

รู้ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญา มีความภาคภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

ศึกษาตนเอง ครอบครัวและบรรพบุรุษของตนในแต่ละช่วงเวลา

หน้าที่และสิทธิของตนเองที่มีต่อครอบครัว กฎกติกาของตนเองและครอบครัว วิธีการดำเนินชีวิตของตนเองในครอบครัว วิธีการปฏิบัติตนที่เป็นคนดีของครอบครัว เพื่อให้เกิดการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว และรู้คุณค่ามีความภูมิใจในตนเอง ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน

ศึกษารายรับ รายจ่าย ของตนเองและครอบครัว

การประกอบอาชีพของครอบครัวตลอดจนมีความชื่นชมและภูมิใจในตนเองและครอบครัวเพื่อให้สามารถจัดรายรับ รายจ่ายของตนเองและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นคุณค่าของการใช้จ่ายอย่างถูกวิธี

    • การประกอบอาชีพของครอบครัว

ศึกษาประวัติความเป็นมาและการดำเนินชีวิตของตนและครอบครัว เพื่อให้รู้แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน

ศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของบ้าน

ตระหนักถึงคุณค่าในบรรพบุรุษของตนเองที่สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

ศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพ ของบ้านและโรงเรียน

การพึ่งพาขององค์ประกอบของบ้านและโรงเรียน

วัฒนธรรมของบ้านและโรงเรียนที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้รู้วิธีใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและถูกวิธี

ตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมของบ้านและโรงเรียนและประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้

รายวิชา สังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง

- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ และความสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ หลักธรรม และพิธีกรรมและวันสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อให้เกิดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ศรัทธาและเห็นคุณค่าของศาสนา พระรัตนตรัย องค์ประกอบของศาสนาที่ตนนับถือนำไปปฏิบัติตนให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี

- ศึกษาบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สิทธิและหน้าที่ เสรีภาพของตนเองในฐานะสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียนและชุมชน การคุ้มครองเด็ก อภิปรายความรู้เกี่ยวกับหน้าที่กฎกติกา ของโรงเรียน เอกลักษณ์ สัญลักษณ์ของโรงเรียน

- ศึกษาข้อมูลรายรับ รายจ่ายของตนและครอบครัว

    • บทบาทหน้าที่ของตนเองและครอบครัวในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภคย่างมีคุณธรรม
    • การนำทรัพยากรการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนวิธีการดำเนินทาง เศรษฐศาสตร์แบบพอเพียง
    • เพื่อให้รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและครอบครัวในการผลิตและการบริโภค การนำ ทรัพยการมาใช้อย่างประหยัดและตระหนักเห็นคุณค่าของวิธีดำเนินการเศรษฐกิจแบบพอเพียง
    • เพื่อให้รู้และเข้าใจบทบาทของตนเองครอบครัวในการผลิตและบริโภค
    • การนำทรัพยากรมาใช้อย่างประหยัด
    • ตระหนักและเห็นคุณค่าของวิธีการดำเนินทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง
    • ศึกษาความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่สามารถใช้วิธีทางประวัติศาสตร์ บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาประยุกต์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

เพื่อให้รู้ข้อมูล และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว และโรงเรียนและตระหนักถึงความสำคัญของบุคคลสำคัญในโรงเรียน

เพื่อให้เข้าใจ สามารถอ่านและเขียนแผนผังของบ้านและโรงเรียน ผลงานของบุคคลที่สำคัญในโรงเรียนทั้งอดีตและปัจจุบัน

ตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ศึกษาทางกายภาพของชุมชนและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับวัฒนธรรมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ครอบครัวและโรงเรียน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้

รายวิชา สังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาประวัติ ความสำคัญหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ นำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม และศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อนำไปประพฤติตนตามหลักธรรมและศาสนาพิธี ของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ตระหนักถึงค่านิยมที่ดีงาม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ศึกษาระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน

ยึดมั่นศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เพื่อปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทยและเห็นความสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

ศึกษาการบริการจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ารวมทั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อดำรงชีวิตอย่างดุลยภาพและระบบของสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

ศึกษาความหมายและความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ

เพื่อเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์ชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง

ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น รู้ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมภูมิปัญญาไทยมีความภาคภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

เพื่อเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์

ศึกษาลักษณะทางกายภาพและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ปรากฎาตามธรรมชาติหรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เพื่อเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ วัฒนธรรม เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนตลอดไป

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

รายวิชา ส.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 120 ชั่วโมง

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตนตามหลักธรรม ศาสนาพิธี พิธีกรรมที่ตนนับถือ ความหมายของสติสัมปชัญญะ สมาธิการบริหารจิตแนวทางการประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นคนดีของครอบครัว สังคม ความหมายความสำคัญของประชาธิปไตย บทบาทหน้าที่สิทธิ เสรีภาพ กฎหมายรัฐธรรมนูญ การปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและวัฒนธรรมปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิต ผู้บริโภคใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด คุณธรรมเกี่ยวกับการผลิตระบบสินเชื่อ ผลดีผลเสียของระบบสินเชื่อ การใช้เทคโนโลยีเศรษฐกิจพอเพียง สหกรณ์ การใช้เงินแบบเศรษฐกิจของตลาด ธนาคาร สถาบันการเงิน ภาษีอากรความหมายของทศวรรษ ศตวรรษและสหัสวรรษ ข้อมูลแหล่งข้อมูลระบบจังหวัด มรดกทางสังคมของจังหวัด การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น เครื่องมือที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น งานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ทำเลที่ตั้ง แผนที่สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ข้อมูลข่าวสารในท้องถิ่น

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

รายวิชา ส.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 120 ชั่วโมง

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจประวัติความสำคัญของศาสนา สาวก คัมภีร์การปฏิบัติตนตามศาสนาที่ตนนับถือ ความหมายและประโยชน์ของสติสัมปชัญญะ สมาธิปัญญา การบริหารจิตและเจริญปัญญา การทำความดีของบุคคลจากเหตุการณ์ที่พบเห็นในชุมน การประพฤติตนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข วิธีปฏิบัติตนตามหลักธรรม จริยธรรม ค่านิยม ตามศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น ๆ ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ศาสนาพิธี พิธีกรรม การฝึกสมาธิ และการปฏิบัติ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคมประเทศชาติ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ความสำคัญเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิเสรีภาพการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของเด็กและเยาวชน วัฒนธรรมของกลุ่มคนในสังคม การอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย อำนาจอธิปไตยการจำแนกตามรัฐธรรมนูญการร่วมกิจกรรมการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่น ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ความรับผิดชอบและการใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด คุณธรรมเกี่ยวกับ การผลิตระบบสินเชื่อผลดี ผลเสียของระบบสินเชื่อ การใช้เทคโนโลยีในการผลิต สหกรณ์ การใช้เงินและการแลกเปลี่ยนเงินธนาคารและสถาบันการเงิน ภาษีอากร การอยู่ร่วมกันในสังคมและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ความหมายการอ่านการเขียน ทศวรรษ ศตวรรษและสหัสวรรษ แหล่งข้อมูลท้องถิ่นมรดกทางสังคมของจังหวัด ประเทศ ผลดีผลเสียของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานสร้างสรรค์วัฒนธรรมท้องถิ่นเครื่องมือเครื่องใช้ ประโยชน์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมในภูมิภาค การตั้งถิ่นฐานของไทย เหตุการณ์และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ทำเล ที่ตั้ง ลักษณะทางภายภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แผนที่การกระจายรายได้และการแลกเปลี่ยน ทรัพยากรในท้องถิ่นการดำเนินชีวิตอพยพถิ่นฐานของประชากร ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ การกระทำของมนุษย์ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากร ระบบนิเวศ ข้อมูล ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

รายวิชา ส.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 120 ชั่วโมง

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความจำเป็นในการ กระจายและแลกเปลี่ยน ทรัพยากรธรรมชาติระหว่างท้องถิ่น ความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม ทางสังคมและวัฒนธรรม ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชากร การอพยพย้ายถิ่นการแก้ปัญหาและการส่งเสริม คุณภาพ สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม จากแหล่งความรู้ในท้องถิ่น ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความแข้าใจความสำคัญของพุทธศาสนาหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือศาสนาอื่น ๆ วิธีปฏิบัติตนและประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา การปฏิบัติตนทำความดีของบุคคลในชุมชนและบุคคลสำคัญ หลักธรรมศาสนาพิธี พิธีกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา การฝึกสมาธิการปฏิบัติตน ตามวิถีชีวิตในหลักประชาธิปไตย กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ บทบาทหน้าที่ในฐานะ พลเมืองดีสิทธิการคุ้มครองเด็กและเยาวชน การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี กฎหมายและรัฐธรรมนูญ การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย การแบ่งอำนาจอธิปไตย ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญปัจจัยที่ให้ผู้ผลิต ๆ และ ผู้บริโภค ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่ามีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์การปฏิบัติตามหลักคุณธรรมในการผลิต ระบบสินเชื่อผลดี ผลเสียของสินเชื่อที่มีต่อสถานะการเงินหลักการเบื้องต้นในการใช้เทคโนโลยี การปฏิบัติตนตามระบบเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการสหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตนในการใช้เงินและแลกเปลี่ยนเงิน การปฏิบัติตนในการให้บริการของธนาคารและสถาบันการเงิน ภาษีอากร ความหมาย การเขียน ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ การนับพุทธศักราช คริสต์ศักราช ลักษณะแหล่งข้อมูลระดับประเทศ การแบ่งเขตความหนาแน่นของประชากรในจังหวัด มรดกทางสังคมของจังหวัดภาคประเทศปัจจัยทางภูมิศาสตร์ความแตกต่าง การตั้งถิ่นฐานในอดีตและปัจจุบัน การสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทยและท้องถิ่น การอนุรักษ์วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นผลงาน ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและประโยชน์ของผลงานท้องถิ่น ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางประวัติศาสตร์ ผลงานสำคัญของบุคคลผู้กระทำความดี แก่ประเทศชาติ การใช้แผนที่

กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

รายวิชา ค.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 200 ชั่วโมง

ศึกษาพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ได้เนื้อหาที่เกี่ยวกับจำนวน 1 ถึง 100 และการนับจำนวน การอ่านและการเขียนตัวเลขแทนจำนวน ชื่อหลักค่าของตัวเลขในแต่ละหลัก การเขียนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบจำนวนการใช้เครื่องหมาย = # , < >

การเรียงลำดับจำนวน การนับเพิ่มทีละ 1 และที่ละ 2 การนับลดทีละ 1

การบวก การลบ และโจทย์ปัญหา การบวกจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 100 การลบจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน 100 การบวก การลบระคน โจทย์ปัญหา

การวัดความยาว การวัดความยาว ความสูงและระยะทางโดยใช้เครื่องวัดที่มีหน่วยไม่ใช้หน่วยมาตรฐาน การแก้ปัญหา

การชั่ง การชั่งโดยใช้เครื่องชั่งที่มีหน่วยไม่ใช้หน่วยมาตรฐาน การแก้ปัญหา

การตวง การตวงโดยใช้เครื่องตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน การแก้ปัญหา

เวลา ช่วงเวลาในแต่ละวัน จำนวนวันในหนึ่งสัปดาห์ ชื่อวันในสัปดาห์ ชื่อเดือนในหนึ่งปีและจำนวนวันในแต่ละเดือน การแก้ปัญหา

การเตรียมความพร้อมทางเรขาคณิต การจัดลุ่มรูปเรขาคณิต

แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 และทีละ 2 แบบรูปของจำนวนที่ลดลงทีละ 1 แบบรูปของรูปเรขาคณิต และรูปอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันในลักษณะของรูปร่างหรือขนาดหรือสี

การจัดประสบการณ์ หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อ พัฒนาทักษะกระบวนในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล

การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ

รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง การวัดผลและประเมินผลใช้วิธีการหลากหลายตามสถานการณ์ ความเป็นจริงของเนื้อหาและทักษะที่ต้องการวัด

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

รายวิชา ค.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 200 ชั่วโมง

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ ความเข้าใจนั้นไปประยุกต์ได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับ

จำนวน 1 ถึง 100 และ 0 การใช้ตัวเลขแสดงจำนวน ชื่อหลัก ค่าประจำหลัก การเขียนในรูปกระจายการเปรียบเทียบจำนวน การใช้เครื่องหมาย = # , < > กาเรียงลำดับจำนวนคู่ จำนวนคี่ การนับเพิ่ม การนับลด

การบวก การลบ และโจทย์ปัญหา การบวกจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 1000 การลบจำนวนที่มีตั้งไม่เกิน 1000 การบวกลบระคน โจทย์ปัญหา

การคูณจำนวนนับและศูนย์ การหาผลคูณของจำนวนที่มีหลักเดียว กับจำนวนทีไม่เกินสองหลัก โจทย์ปัญหา

การหารจำนวน นับและศูนย์ การหาผลหารซึ่งตัวหารและผลหารเป็นตัวเลขและหลักเดียวและการหารลงตัว การหาผลหารและเศษซึ่งตัวหารและผลการเป็นตัวเลขหลักเดียวและหารไม่ลงตัวเศษส่วน ความหมายของเศษส่วน การเขียนและอ่านเศษส่วน

การวัดความยาว ความสูงที่เป็นหน่วยมาตรฐานและใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร การเปรียบเทียบ ความยาว ความสูง หรือระยะทาง ที่เป็นหน่วยเดียวกัน และต่างหน่วยกับการคาดคะเนความยาวและระยะทางสั้น ๆ โจทย์ปัญหา

การชั่ง การชั่งโดยชั่งเครื่องชั่ง และใช้หน่วยเป็นกรัม ขีด กิโลกรัม การเปรียบเทียบและการคาดคะเนของน้ำหนักสิ่งของต่าง ๆ โจทย์ปัญหา

การตวง การตวงโดยใช้เครื่องตวงและใช้หน่วยเป็นลิตร การเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งที่ตวงได้ หรือความจุภาชนะ โจทย์ปัญหา

เวลา การบอกเวลาจากหน้าปัดนาฬิกาเป็นชั่วโมงและนาที การเปรียบเทียบเวลา วันกับชั่วโมง ชั่วโมงกบนาที

เงินและการบันทึกที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ลักษณะและค่าของธนบัตรหรือกิจกรรมต่าง ๆ ลักษณะและค่าของธนบัตรของไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันการเปรียบเทียบ

ค่าของเงินเหรียญและธนบัตร การอ่านและเขียนจำนวนเงินเป็นบาทสตางค์ และการใช้จุดโจทย์ปัญหา

รูปเรขาคณิตและทรงเรขาคณิต การจำแนกรูปเรขาคณิต หนึ่งบิต สองบิต การเขียนรูปเรขาคณิต โดยแบบรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม และรูปวงรี การจำแนกรูปทรงเรขาคณิต การจำนวนรูปเรขาคณิต กับรูปทรงเรขาคณิต

โดยการจัดประสบการณ์ หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติจริง ทดลอง สรุปรายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ และกระบวนการในการคิดคำนวณ แก้ปัญหาการใช้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระเบียบมีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง

การวัดผลและประเมินผล ด้วยวิธีการหลากหลาย ตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อหาและทักษะกระบวนการที่ต้องการวัด

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

รายวิชา ค.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 200 ชั่วโมง

ศึกษาพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจและนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ได้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ

จำนวนนับ 1 – 10,000 การบอกจำนวน การอ่านและการเขียนตัวหนังสือ ตัวเลขฮินดู อารบิก ตัวเลขไทย แทนจำนวนการเขียนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบจำนวน การใช้สัญลักษณ์ = # , < >

การเรียงลำดับจำนวน การนับเพิ่ม การนับลด

การบวก การลบ และโจทย์ปัญหา การบวกจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 10,000 การลบจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน 10,000 การบวกลบระคน โจทย์ปัญหา

การคูณจำนวนนับและศูนย์ การหาผลคูณของาจำนวนตัวเลขที่มีหลักเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขที่มีสามหลัก สี่หลัก จำนวนตัวเลขสองหลักกับจำนวนตัวเลขสองหลัก โจทย์ปัญหา

การหารจำนวนนับและศูนย์ การหาผลหารของจำนวนตัวเลขที่มีตัวตั้งสองหลัก สามหลักสี่หลักกับตัวหารหลักเดียว โจทย์ปัญหา เศษส่วน ความหมายของเศษส่วน การเขียน การอ่าน เศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วนจากของจริง หรือรูปภาพการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน โจทย์ปัญหาเศษส่วน

การวัดความยาว การวัดความยาว ความสูงที่มีหน่วยมาตรฐาน (มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร กิโลเมตร)

การเปรียบเทียบความยาว ความสูง หรือระยะทางที่เป็นหน่วยเดียวกันและแตกต่างกัน การเลือกหน่วยการวัดความยาวที่เหมาะสม การคาดคะเน ความยาว ความสูง โจทย์ปัญหา

การชั่ง โดยใช้หน่วยเป็น กรัม ขีด กิโลกรัม การเลือกเครื่องชั่งให้เหมาะสม การเปรียบเทียบ การคาดคะเนหน่วยน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ โจทย์ปัญหา

การตวง โดยใช้เครื่องตวงที่มีหน่วยต้องเป็นมิลลิลิตร ลิตร การเปรียบเทียบหน่วยของการตวงระหว่างมิลลิลิตรกับลิตร การคาดคะเนโจทย์ปัญหา

เวลา บอกเวลาจากหน้าปัดนาฬิกาเป็นชั่วโมงนาที 5 นาที 10 นาที 15 นาที ฯลฯ

การอ่าน วัน เดือน ปี จากปฏิทิน การเปรียบเทียบหน่วย เวลาที่มีหน่วยเหมือนกนและต่างกัน

การอ่านเวลาจากการบันทึก และการบันทึกเวลาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ จากโจทย์ปัญหา

เงินและการบันทึกรายรับ รายจ่าย ลักษณะและค่าของธนบัตรไทย การเปรียบเทียบค่าของเงินเหรียญ และธนบัตร การอ่านและเขียนจำนวนเงิน เป็นบาท เป็นสตางค์การใช้จด การบันทึกรายรับรายจ่าย โจทย์ปัญหา

รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต บอกชนิดรูปทรงเรขาคณิต

การเขียนรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี การจำแนก รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยม รูปวงกลมและรูปวงรี

การจำแนกรูปทรงกลม สี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอกและทรงกลม การจำแนกรูปสี่เหลี่ยมกับรูปทรงเรขาคณิต รูปสมมาตรและแกนสมมาตร จุดเส้นตรง ส่วนของเส้นตรง รังสีมุมและการใช้สัญลักษณ์ จุดตัด

แผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งรวบรวมและบันทึกข้อมูล การอ่านแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่ง

โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติจริงทดสอบ สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การใช้เหตุผลการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิดทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการ เรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมกับคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานเป็นระบบ มีระเบียบ รอบคอบมีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง

การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการหลากหลายตามสภาพความเป็นจริง ของเนื้อหาและทักษะที่ต้องการวัด

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

รายวิชา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 200 ชั่วโมง

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจคณิตศาสตร์ พื้นฐานและสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ได้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 การบวกจำนวน การอ่านและเขียนตัวเลขแทนจำนวน การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ การเรียงลำดับจำนวน

- การบวก ลบ คูณ หาร จำนวน และโจทย์ปัญหา การบวก ลบ จำนวนที่มีหลายหลัก การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลัก กับจำนวนที่มีหลายหลัก การคูณจำนวนที่มากกว่าสองหลัก กับจำนวนที่มีมากกว่าสองหลัก การหารที่ตัวหารไม่เกินสามหลัก การบวก ลบ คูณ หารระคน โจทย์ปัญหา

    • เศษส่วน การบวก ลบเศษส่วน ความหมายการอ่าน และการเขียนเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
    • ทศนิยม ความหมาย การเขียนทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง การเปรียบเทียบทศนิยม การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ
    • การวัดความยาว กิโลเมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร วา การเลือกใช้เครื่องมือวัดและหน่วยวัดความยาว การคะเน ความยาว ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาว มาตราส่วน โจทย์ปัญหาและสถานการณ์
    • การหาพื้นที่ การหาพื้นที่จากการนับตาราง การหาพื้นที่โดยการประมาณจากการนับตาราง การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม มุมฉากโจทย์ปัญหา และสถานการณ์
    • การชั่งเมตรตริกตัน กิโลกรัม กรัม ขีด การเลือกเครื่องชั่งและหน่วยการชั่ง การคาดคะเนน้ำหนัก ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการชั่ง โจทย์ปัญหา และสถานการณ์
    • การตวง ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์เซนติเมตร ลิตร มิลลิลิตร ถัง การเลือกหน่วยการตวง การคะเนปริมาตรหรือความจุความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการตวง
    • โจทย์ปัญหา และสถานการณ์

เงิน การเขียนจำนวนเงิน โดยใช้จุดและการอ่าน การเปรียบเทียบจำนวนเงินการและแลกเงิน บันทึกรายรับจ่าย โจทย์ปัญหาและสถานการณ์

เวลา บอกเวลา การเขียนบอกเวลา โดยใช้จุดและการอ่าน การบอกช่วงเวลา การอ่านและการบันทึกกิจกรรม หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างนาที ชั่งโมง สัปดาห์ เดือน และปี โจทย์ปัญหา สถานการณ์

    • รูปเรขาคณิตและสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต ส่วนของระนาบและจุด ส่วนของเส้นตรง เส้นตรง และรังสีมุมรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นทะแยงมุม เส้นขนาน ส่วนประกอบของรูปวงกลม และสมบัติพื้นฐานของรูปวงกลม รูปที่มีแกนสมมาตรการประดิษฐ์ลวดลาย โดยใช้รูปเรขาคณิต

แบบรูป และความสัมพันธ์ แบบรูปของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ และเท่ากัน แบบของรูปเรขาคณิต และรูปอื่น ๆ การบอกความสัมพันธ์หรือการเขียนประโยคสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ของสถานการณ์

สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น การอ่านแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง และตารางการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเขียนแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ และไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

รายวิชา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 200 ชั่วโมง

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ คณิตศาสตร์ พื้นฐาน และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ได้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ จำนวนที่มากกว่า 1,000,000 การบวกจำนวน การอ่าน และเขียนตัวเลขแทนจำนวน ชื่อหลักของตัวเลขในแต่ละหลัก การเขียนในรูปการเปรียบเทียบจำนวน การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบจำนวน การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบที่เรียงลำดับจำนวน การประมาณค่าจำนวนใกล้เคียงเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน

เศษส่วน เศษส่วนที่มีเท่ากัน เศษส่วนที่เท่ากับจำนวนนับการเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน และไม่เท่ากัน เศษส่วนอย่างต่ำ เศษเกิน จำนวนคละ การเรียงลำดับเศษส่วน

ทศนิยม ทศนิยมตำแหน่ง การอ่าน การเขียนทศนิยม ค่าประจำหลัก การกระจายทศนิยมไม่เกินสองตำแหน่งตามค่าประจำหลัก การเปรียบเทียบ และความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วนโจทย์ปัญหาทศนิยม

สมบัติการสลับที่ของการบวก สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการบวก การลบระคน

การคูณ และการหาร สมบัติการสลับที่ของการคูณ การเปลี่ยนกลุ่มของการคูณ สมบัติการแจกแจง

การคูณจำนวนที่มีหลายหลัก การหารจำนวนที่มีหลายหลัก การบวก ลบ คูณ หารระคนโจทย์ปัญหา

ทศนิยม การบวกทศนิยมไม่เกินสองตำแหน่ง สมบัติการสลับที่ของการบวกทศนิยม การเปรียบเทียบกลุ่มการบวกทศนิยม โจทย์ปัญหาการบวกทศนิยม การลบทศนิยมที่ไม่เกินสองตำแหน่ง โจทย์ปัญหาการลบทศนิยม

เศษส่วน การบวก ลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน สมบัติของการสลับที่ของการบวกเศษส่วน การเปรียบเทียบกลุ่มของการบวกเศษส่วน การคูณเศษส่วนกับเศษส่วน การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วน

ร้อยละ ร้อยละกับเศษส่วน ร้อยละกับทศนิยม โจทย์ปัญหา ร้อยละ โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไรขาดทุนและการลดราคา

การวัด วัดความยาวเป็นกิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร การเลือกเครื่องมือวัด และหน่วยการวัดความยาว วัดปริมาตรเป็น เมตริกตัน (น้ำหนัก)

มุม การอ่านชื่อมุม บอกชื่อมุม การวัดมุมชนิดต่าง ๆ

ทิศ แผนผัง การหาคำตอบของมาตราส่วนที่ย่อส่วน

รูปเรขาคณิต สมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต รูปสี่เหลี่ยม การสร้างรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ รูปสามเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า สามเหลี่ยมมุมแหลม สามเหลี่ยมมุมฉาก สามเหลี่ยมมุมป้าน ส่วนประกอบรูปสามเหลี่ยม มุมภายในของรูปสามเหลี่ยม การสร้างรูปสามเหลี่ยม

มุม ส่วนประกอบ ชนิดของมุม การเรียกชื่อมุมและการเขียนสัญลักษณ์แทนมุม การวัดขนาดของมุม การสร้างมุม โดยใช้ไม้โปรแทรกเตอร์

วงกลม ส่วนประกอบของวงกลม การสร้างรูปวงกลม

เส้นขนาน การใช้สัญลักษณ์ แทนการขนาน การสร้างเส้นขนาน การประดิษฐ์ลวดลายจากรูปวงกลม และรูปเรขาอื่น ๆ

การนับเพิ่ม และการนับลดครั้งละเท่า ๆ กัน และการสังเกต

รูปเรขาคณิตสองมิติ สามมิติและความสัมพันธ์

การรวบรวมข้อมูล จากการสังเกต สำรวจ การอ่าน และการอภิปรายแผนภูมิรูปภาพ และแผนภูมิแท่ง เขียนแผนภูมิแท่งได้การอ่าน และการอภิปรายข้อมูลจากแผนภูมิแท่ง เปรียบเทียบการเขียนแสดงข้อมูล ในแผนภูมิแท่ง แสดงการเปรียบเทียบ

การคาดเดาสถานการณ์ที่ซับซ้อน โดยใช้คำว่า “เกิดขึ้นแน่นอน” อาจจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ได้” ไม่เกิดแน่นอน” อย่างมีเหตุผล

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

รายวิชา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 200 ชั่วโมง

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจคณิตศาสตร์ พื้นฐาน และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ จำนวน และการบวก ลบ คูณ หาร การเขียนในรูปกระจายค่าประจำหลัก เปรียบเทียบการเรียงลำดับ คำนวณการประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เต็มหมื่น เต็มแสน และเต็มล้าน

เศษส่วน เศษส่วนที่มีค่าเท่ากัน การเปรียบเทียบเศษส่วน

ทศนิยม ทศนิยมสามตำแหน่ง การเขียน การอ่านทศนิยม ค่าประจำหลัก ทศนิยม การกระจาย ทศนิยมสามตำแหน่ง การเปรียบเทียบทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน การประมาณค่าทศนิยม การบวกลบทศนิยมและโจทย์ปัญหา การบวกลบทศนิยม

การบวกลบจำนวนที่มีหลายหลัก โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ

การคูณ และการหาร การคูณจำนวนที่มีหลายหลัก การบวก ลบ คูณ หารระคน โจทย์ปัญหาระคน

การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน การบวกลบ เศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน การบวก ลบ เศษเกินและจำนวนคละ การบวก ลบ คูณ หารระคน เศษซ้อน โจทย์ปัญหาเศษส่วน

โจทย์ปัญหาร้อยละ และการหาร้อยละ โจทย์ปัญหาการซื้อ การขาย ขาดทุน กำไร การลดราคา ต้นทุน การคิดดอกเบี้ยจากธนาคาร

การวัดความยาวเป็นวา เมตร เซนติเมตร กิโลเมตร มิลลิเมตร เลือกเครื่องมือวัด และหน่วยการวัดความยาว

การวัดปริมาณเป็นเมริกตัน (น้ำหนัก)

การวัดขนาดของมุม การสร้างมุม การสร้างมุมแหลม มุมป้าน มุมฉาก การวัดขนาดของมุมชนิดต่าง ๆ

ทิศ การอ่านทิศ การบอกชื่อทิศทั้งแปด การเขียนแผนผัง แสดงแผนผัง แสดงตำแหน่งสิ่งของต่าง ๆ การเขียนมาตราส่วนที่กำหนดให้

รูปสี่เหลี่ยม เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจากเส้นทแยงมุม

การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง โดยใช้ไม้บรรทัด การแบ่งครึ่งมุม โดยใช้ไม้โปรแทรกเตอร์

เส้นขนาน รูปที่เกิดจากเส้นตรง ตัดเส้นขนาน

ชนิด และลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติ การประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติ การประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติ

การนับเพิ่ม การนับลดครั้งละเท่า ๆ กัน และการอธิบายค่า

รูปเรขาคณิตสองมิติ สามมิติ และการเปรียบเทียบ

สมการ และการแก้สมการ โจทย์ปัญหาสมการ

การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสำรวจ การทดลอง การเขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบการอ่าน และอภิปรายกราฟเส้น เขียนแสดงข้อมูลในรูปกราฟเส้น การอ่านและอภิปรายแผนภูมิรูปวงกลม

การคาดเดาสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้คำว่าแน่นอน หรือไม่แน่นอน “อาจเป็นไปได้ หรือ เป็นไปไม่ได้” “ใช่หรือไม่” ได้อย่างมีเหตุผล

กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

รายวิชา ว.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 120 ชั่วโมง

ศึกษาและสังเกต โครงสร้างความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับไม่มีชีวิต และบอกการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อม ที่แตกต่างกันโดยมีปัจจัยเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์ พืช และสัตว์และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ การทำงานที่สัมพันธ์กัน อภิปรายการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์ อธิบายและสำรวจตรวจสอบ

ศึกษาและสังเกต ลักษณะการถ่ายทอดจากพ่อ แม่ สู่ลูกหลานของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัวและในท้องถิ่น โดยบอกความสำคัญข้อมูล และการดำรงพันธุ์ของพืช , สัตว์มีชีวิตหลายชีวิต หลายชนิดที่เคยมีอยู่และสูญพันธุ์ในบางชนิดดำรงพันธุ์มีลักษณะเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น โยใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาสำรวจตรวจสอบ

ศึกษาและสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและบอกความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

ศึกษาสังเกตทรัพยากรธรรมชาติ และอภิปรายปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น วิธีการต่าง ๆ ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ศึกษาสังเกตลักษณะสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวันและการเปรียบเทียบวัสดุ เป็นกลุ่มและรวมทั้งระบุเกณฑ์ที่ใช้บอกชนิดและสมบัติของวัสดุที่นำมาทำของเล่น ส่วนประกอบของวัสดุแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

ศึกษาสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัสดุเมื่อ บีบ บิด ทุบ ดัน ดึง ทำให้ร้อนขึ้นหรือทำให้เย็นลง โดยการสังเกตสำรวจผลอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของวัสดุและการนำไปใช้ประโยชน์

ศึกษา สังเกต การดึง การผลักจะต้องออกแรง และอาจทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างและวัตถุจะตกลงสู่พื้นโลกมีแรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุมีน้ำหนัก และสังเกตได้ว่าแม่เหล็กมีแรงดูดหรือแรงผลักต่อกัน และดูดวัตถุบางชนิดโดยการ

นำสมบัติของแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์ และวัตถุบางชนิดผ่านการถูมาแล้ว เข้าใกล้กันจะดูดหรือผลักกันได้ด้วยวัสดุเบา ๆ

ศึกษาสังเกต สำรวจตรวจสอบ อธิบาย เขียน ตั้งคำถาม แสดง จัดจำแนกในเรื่อง ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต กับสิ่งไม่มีชีวิตในท้องถิ่น ความหมายของแรง พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ สามารถทำงานได้ แสดงว่าไฟฟ้าเป็นพลังงาน ไฟฟ้ามีจำกัดจึงต้องช่วยกันใช้อย่างประหยัด

สังเกต ศึกษา อธิบาย วาดภาพ แสดงจำแนก รวบรวมข้อมูล เกี่ยว กับลักษณะของดวงอาทิตย์ ดวงดาว ดวงจันทร์ บนท้องฟ้า เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการเขียนภาพ หรือคำอธิบาย จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยเวลา หรือเขียนชั้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

ศึกษา สังเกต สำรวจตรวจสอบ ตั้งคำถาม วาดภาพแสดงผลงาน ในการบันทึก เกี่ยวกับเรื่องหรือสถานการณ์ตามที่กำหนดให้

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอาจใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม หรือของนักเรียนทั้งชั้น หรือใช้ความคิดของครูร่วมด้วย นำไปจัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

รายวิชา ว.2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาสำรวจ ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับไม่มีชีวิต โครงสร้างของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น การดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน จำแนกปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การตอบสนองต่อสิ่งเร้าเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตได้แก่ พืช สัตว์ มนุษย์ การตั้งคำถามตอบคำถาม เกี่ยวกับหน้าที่อวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งการทำงานที่สัมพันธ์กันของร่างกายมนุษย์และสัตว์โดยใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์ อธิบายจำแนกและตรวจสอบ

ศึกษาสังเกต และการสำรวจลักษณะต่าง ๆ การถ่ายทอดจากพ่อแม่และสู่ลูกหลานของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว และในท้องถิ่น โดยอธิบายความสำคัญ ข้อมูลและการดำรงพันธ์ของพืช , สัตว์ มีชีวิต หลายชีวิต หลายชนิด ที่เคยมีอยู่และสูญพันธุ์ในบางชนิดดำรงพันธุ์มีลักษณะเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น โดยใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์ อธิบาย สำรวจเข้าร่วม

ศึกษาสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

ศึกษาอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการสำรวจปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น การอธิบายวิธีการต่าง ๆ ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด คุ้มค่าและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ศึกษาสังเกตลักษณะที่ปรากฏของสมบัติ ของวัสดุที่ใช้ทำของเล่นของใช้ในชีวิตประจำวันและการสำรวจการเปรียบเทียบวัสดุเป็นกลุ่มรวมทั้งเกณฑ์ที่ใช้จำแนก ได้โดยอภิปรายเกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุที่นำมาทำของเล่น การอธิบายและจแนกส่วนประกอบการใช้วัสดุแต่ละชนิดใช้ประโยชน์แตกต่างกันโดย เลือกวัสดุและสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

ศึกษาสังเกตสำรวจผลการเปลี่ยนแปลงที่เกดขึ้นกับวัสดุเมื่อ บีบ ปิด ทุด ดัน ดึง ทำให้ร้อนขึ้นหรือทำให้เย็นลง โดยการสังเกตการสำรวจผลอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของวัสดุและการนำไปใช้ประโยชน์

ศึกษา สำรวจตรวจสอบได้ว่าการดึงหรือผลักจะต้องออกแรงและแรงอาจทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ได้ วัตถุจะตกลงสู่พื้นโลกและแรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุมีน้ำหนัก โดยการสำรวจได้ว่าแม่เหล็กมีแรงดูดหรือแรงผลักต่อกันและดูดวัตถุบางชนิด การนำสมบัติของแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์ อภิปรายว่าวัตถุบางชนิดถูกันแล้วเข้าใกล้กันจะดูดกันหรือผลักกันและอธิบายได้ว่าวัตถุแต่ละอันจะดูดวัสดุเบา ๆ ได้

สำรวจตรวจสอบ อธิบาย และอภิปราย องค์ประกอบของดิน ประโยชน์ของดิน แหล่งน้ำ ประโยชน์ของแหล่งน้ำ การใช้น้ำอย่างประหยัด ความสำคัญของอากาศต่อการดำรงชีวิต

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

รายวิชา ว.3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาสำรวจและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิต กับไม่มีชีวิต โครงสร้างของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น การดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน จำแนกปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การตอบสนองต่อสิ่งมีชีวิตพืช สัตว์ มนุษย์ การตั้งคำถาม ตอบคำถาม อธิบายเกี่ยวกับหน้าที่อวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งการทำงานที่สัมพันธ์กันของร่างกายมนุษย์และสัตว์ โดยใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์อธิบาย จำแนกและตรวจสอบ

ศึกษา จำแนกอธิบายและเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ การถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหลานของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว และในท้องถิ่น โดยอธิบายเปรียบเทียบความสำคัญ ค้นหาข้อมูล การดำรงพันธุ์ของพืช สัตว์มีชีวิตและหลายชีวิต หลายชนิด ที่เคยมีอยู่และสูญพันธุ์ในบางชนิด ดำรงพันธุ์ที่มีลักษณะเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น โดยใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาค้นหาข้อมูลต่าง ๆ

ศึกษาสำรวจ สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยอธิบายวิเคราะห์ข้อมูลและจำแนกความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่รวมกัน

ศึกษาอธิบายการสืบค้นหาข้อมูลการใช้และปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น การอธิบายวิธีการต่างๆ ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด คุ้มค่าและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจและมีความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ศึกษา สำรวจตรวจสอบลักษณะที่ปรากฏสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่นใช้ในชีวิตประจำวัน และการจำแนกเปรียบเทียบวัสดุเป็นกลุ่มรวมทั้งระบุเกณฑ์ที่ใช้จำแนก โดยอธิบายเกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุที่นำมาทำของเล่น และอธิบายการเปรียบเทียบส่วนประกอบและใช้วัสดุแต่ละชนิดใช้ประโยชน์แตกต่างกัน โดยเลือกวัสดุและสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

ศึกษา สำรวจตรวจสอบการอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัสดุเมื่อ บีบ บิด ทุบ ดัน ดึง ทำให้ร้อนขึ้นหรือทำให้เย็นลง โดยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวัสดุและการนำไปใช้ประโยชน์

ศึกษา สำรวจตรวจอบได้ว่า การดึงหรือผลักจะต้องออกแรงและแรงอาจทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ วัตถุจะตกลงสู่พื้นโลก และแรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุมีน้ำหนัก โดยการสำรวจและอธิบายได้ว่าแม่เหล็กมีแรงดูดหรือแรงผลักต่อกันและดูดวัตถุบางชนิด การนำสมบัติของแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์ การตรวจสอบว่าวัตถุบางชนิดถูกันแล้ว เข้าใกล้กันจะดูดกันหรือผลักกันและอธิบายได้ว่าวัตถุ แต่ละอันจะดูดวัสดุเบา ๆ ได้

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ว 1.1

รายวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 120 ชั่วโมง

ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างหน้าที่ต่าง ๆ ของพืชและสัตว์และปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ สารอาหารประเภทต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำงาน ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยใช้ขบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม ค่านิยมที่เหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ว 1.2

รายวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 120 ชั่วโมง

ศึกษาวิเคราะห์ ลักษณะของตนเองกับคนในครอบครัว ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้น ข้อมูล และอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ แสดงความคิดเห็น สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินในนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

รายวิชา ว.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 120 ชั่วโมง/ปี

คำอธิบาย

ศึกษา สำรวจ ทดลอง อภิปรายโครงสร้างและหน้าที่ของดอก การสืบพันธุ์ของพืชดอก และการนำไปใช้ประโยชน์ ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการขยายพันธ์ของพืช อธิบาย ทดลอง สืบค้นข้อมูล และใช้ความรู้ขยายพันธ์ พืช ด้วยวิธีการชำ ตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่งของพืช สืบค้นข้อมูล และอธิบายการสืบพันธ์สัตว์ และนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธ์และดูแลสัตว์ ในท้องถิ่นทดลอง สืบค้นข้อมูล สำรวจอภิปราย ชื่อ ประเภท และการเจริญเติบโตของสัตว์ในท้องถิ่น เขียนแผนภาพวัฏจักรชีวิตของสัตว์ ในท้องถิ่น สืบค้นข้อมูล ประเภทอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ความจำเป็นที่ร่างกายต้องการสารอาหารที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับเพศและวัยและการใช้วัตถุเจือปน ในอาหารและอันตรายที่จะเกิดขึ้น สำรวจสังเกตเปรียบเทียบลักษณะของตนเองกับคนในครอบครัว และสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว สังเกตสำรวจลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นอธิบายและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ อภิปรายและยกตัวอย่าง เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สังเกตทดลองสมบัติของวัสดุเกี่ยวกับความยืดหยุ่น ความแข็งความเหนียว สำรวจตรวจสอบ อธิบายสารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การดึงหรือการผลักวัตถุที่มีมากกว่าหนึ่งแรง สำรวจตรวจสอบและอธิบายแรงเสียดทาน และประโยชน์ของแรงเสียดทานทดลองและอธิบายการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด เมื่อกระทบตัวกลางต่างกันทดลองอธิบายการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า ทดลอง อธิบาย การกระจายของแสงสีขาวผ่านปริซึม อธิบายลักษณะของหินในท้องถิ่น สำรวจตรวจสอบการผุผัง การกร่อนของหิน และผลที่เกิดขึ้น ลักษณะของดิน ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ความหมายของระบบสุริยะ ลักษณะของดาวเคราะห์ กลางวัน กลางคืน ข้างขึ้นข้างแรมน้ำขึ้นน้ำลง การใช้เทคโนโลยีเดินทางสู่อวกาศและการเขียนแผนภาพ แสดงจินตนาการเกี่ยวกับการเดินทางสู่อวกาศ

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ตั้งคำถาม วางแผนการสังเกต สำรวจตรวจสอบสืบค้นข้อมูล ศึกษาค้นคว้า คาดการณ์นำเสนอ เลือกวิธีการ ใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูล

วิเคราะห์ประเมินผลข้อมูลในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ตรวจสอบผลนำเสนอผลและข้อสรุปแสดงความคิดเห็น อธิบายผลความเห็น บันทึกการสังเกต นำเสนอผลงานและจัดแสดงผลงาน สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

รายวิชา ว.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 120 ชั่วโมง/ปี

คำอธิบาย

ศึกษา สำรวจ ทดลอง อภิปรายการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเขียนภาพแสดงอวัยวะภายใน ของร่างกาย ในระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบหมุนเวียน โลหิต ทดลองและอธิบายการเต้นของชีพจรก่อนและหลังการออกกำลังกาย อธิบายการเจริญเติบโตของร่างกายจากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่สืบค้นข้อมูลและอธิบายผลของสารเสพติด และนำเสนอแนวทางป้องกัน ร่วมมือรณรงค์ป้องกันสารเสพติด สำรวจสิ่งมีชีวิตแต่ละแหล่งที่อยู่ของท้องถิ่น อธิบายกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน สัมพันธ์กันระหว่างสภาพแวดล้อมกับการดำรงชีวิต เขียนแผนภาพและอธิบาย โซ่อาหาร ในแต่ละแหล่งที่อยู่ สำรวจและอธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของคนในท้องถิ่น เสนอโครงการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ทดลอง วิเคราะห์ เปรียบเทียบและอธิบายสมบัติของสารในสถานะของ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส จำแนกประเภทของสารโดยใช้สถานะหรือเกณฑ์อื่น ทดลอง และอธิบายการแยกสารด้วย วิธีการ ร่อน กรอง การให้ตกตะกอน การระเห็ดหรือการระเหยแห้ง สืบค้นข้อมูล อธิบายและจัดประเภทของสารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการนำไปใช้ประโยชน์ สืบค้นข้อมูล อธิบาย ทดลองเกี่ยวกับสมบัติของสาร เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานะ เกิดการละลายและเกิดสารใหม่ วิเคราะห์สืบค้นข้อมูล และเสนอการป้องกัน อันตรายที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของสารต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้า และการใช้ประโยชน์ของวงจรไฟฟ้า สังเกต อธิบายสืบค้นข้อมูลการเกิดฤดูกาล สุริยุปราคา จันทรุปราคา ข้างขึ้นข้างแรม น้ำขึ้นน้ำลง สิ่งที่เป็น ปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ สืบค้นข้อมูลและอธิบายความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้า สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศที่มนุษย์ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ตั้งคำถาม วางแผนการสังเกต สำรวจตรวจสอบศึกษาค้นคว้า คาดการณ์ นำเสนอ เลือกวิธีใช้อุปกรณ์ บันทึกข้อมูล วิเคราะห์

ประเมินผล ข้อมูลในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ตรวจสอบผล นำเสนอผลงานและข้อสรุป แสดงความคิดเห็น อธิบาย ลงความเห็น บันทึกสังเกตนำเสนอผลงาน และจัดแสดงผลงาน สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

รายวิชา ต.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 120 ชั่วโมง

เข้าใจคำสั่ง คำขอร้อง คำ กลุ่มคำ ประโยค บทสนทนา สัญลักษณ์โดยถ่ายทอดหรือถ่ายโอนจากภาพเป็นรูปแบบพฤติกรรม ถ้อยคำในการติดต่อสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาต่างประเทศกับภาษาไทยในเรื่องเสียง บอกความเหมือนและความต่างระหว่าง วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาไทยถ่ายทอดความหมายของคำ กลุ่มคำภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ อ่านออกเสียงคำ กลุ่มคำ ประโยคง่าย ๆ ตามหลักการอ่านออกเสียง ใช้ภาษาง่าย ๆ สั้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความต้องการเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บอกความรู้สึกของตนเอง รวมทั้งฝึกการฟัง พูด อ่านและเขียน รู้วิธีการเรียนภาษาต่างประเทศโดยใช้เทคโนโลยี ใช้ภาษาต่างประเทศตามสถานการณ์จริง ๆ นำเสนอความคิดรวบยอดความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับวัยตามความสนใจ ด้วยความสนุกสนาน รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาลงานฉลอง รู้ประโยชน์ของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในการแสวงหาความรู้ ความบันเทิงและสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษา

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

รายวิชา ต.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 120 ชั่วโมง

เข้าใจคำสั่ง คำขอร้อง ภาษา ท่าทาง ประโยค คำ กลุ่มคำ บทสนทนา เรื่องสั้น นิทาน ง่าย ๆ โดยถ่ายโอนจากภาพ รูปแบบ พฤติกรรม ถ้อยคำ จำนวน ในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาบอกความแตกต่างระหว่างภาษาต่างประเทศกับภาษาไทย ในเรื่องเสียงสระ พยัญชนะและคำ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อ่านออกเสียงคำ กลุ่มคำ ประโยคง่าย ๆ ตามหลักการอ่าน ถ่ายทอดความหมายของคำ กลุ่มคำเป็นภาษาต่างประเทศใช้ภาษาง่าย ๆ สั้น ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแสดงความต้องการ เพื่อขอและให้ข้อมูลของบุคคล สิ่งต่าง ๆ รอบตัว แสดงความรู้สึกของตน ฝึกทักษะ การฟัง พูด อ่านเขียน รู้จักวิธีการเขียนและใช้ภาษาต่างประเทศตามสถานการณ์ต่าง ๆ ในสถานศึกษาเพื่อสื่อสารขั้นพื้นฐาน เขียนคำศัพท์และโครงสร้างทางภาษาเกี่ยวกับอาชีพในสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์จริง ให้ข้อมูลเกี่ยวตนเอง สิ่งใกล้ตัวด้วยข้อความสั้น ๆ นำเสนอความคิดรวบยอด ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงด้วยกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับวัยตามความสนใจด้วยความสนุกสนาน รู้จักขนบธรรมเนียม ประเพณี เทศกาลและงานฉลอง รู้ประโยชน์ของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในการแสวงหาความรู้ ความบันเทิง และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ วัฒนธรรม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

รายวิชา ต.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 120 ชั่วโมง

เข้าใจคำสั่ง คำขอร้อง ประโยคง่าย ๆ ภาษาท่าทาง คำ กลุ่มคำ บทสนทนา เรื่องสั้น รูปแบบและพฤติกรรมถ้อยคำและสำนวน โดยถ่ายโอนเป็นภาพสัญลักษณ์ ในการติดต่อ

ปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความต่างระหว่างภาษาต่างประเทศกับภาษาไทยในเรื่องเสียง สระ พยัญชนะ คำ วลี ประโยค ข้อความ รอบๆ ตัว ความเหมือนและความต่างระหว่างวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา คำและกลุ่มคำที่เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ อ่านออกเสียงคำ กลุ่มคำประโยคง่าย ๆ ใช้ภาษาง่าย ๆ สั้น ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความต้องการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อขอให้ข้อมูลพร้อมฝึกทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน รู้วิธีการเรียนภาษาต่างประเทศ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองสิ่งใกล้ตัวด้วยท่าทาง ภาพ นำเสนอความคิดรวบยอดเกี่ยวข้องกับข้อมูล ข้อเท็จจริงกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับวัย ทำให้ได้รับความสนุกสนานตลอดถึงขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาลงานฉลอง รู้ประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ ความบันเทิง สนใจร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเป็นกลุ่มสาระต่อการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พร้อมนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา เพื่อสื่อสารขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับอาชีพในสถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลองอย่างถูกต้อง

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

รายวิชา ต.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 120 ชั่วโมง

เข้าใจคำสั่ง คำขอร้อง ภาษท่าทาง คำแนะนำในสังคม ประโยค ข้อความสั้นๆ บทสนทนา เรื่องสั้น เล่าเรื่อง นิทาน รูปแบบและพฤติกรรม ถ้อยคำสำนวน ในการติดต่อ ปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความแตกต่างระหว่างภาษาต่างประเทศกับภาษาไทย ในเรื่องเสียงสระ พยัญชนะ คำ วลี ประโยค ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและเจ้าของภาษาและนำไปใช้ได้เหมาะสมถ่ายทอดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ เป็นภาษาต่างประเทศ หรือถ่ายโอนเป็นภาษา เป็นสัญลักษณ์ได้ ทำให้อ่านออกเสียงคำ ประโยค ข้อความง่าย ๆ ถูกต้องตามหลักภาษา รู้วิธีการใช้ภาษาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความต้องการของตน เสนอความช่วยเหลือต่อผู้อื่น ขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสิ่งรอบตัว ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน แสดงความรู้สึกของตน บอกเหตุผลได้เป็นการฝึกทักษะ รู้วิธีการเรียนด้านต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคมใกล้ตัว เพื่อนำเสนอความคิดรอบยอดได้ ความคิดที่มีต่อเรื่องต่าง ๆ การนำเสนอบทเพลงหลากหลายจากสื่อตามความสนใจด้วยความสนุกสนานอย่างมีวิจารณญาณรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาลงานฉลอง รู้ประโยชน์ของการแสวงหาความรู้ ความบันเทิง การเข้าสู่สังคม การสนใจร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม พร้อมทั้งการใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ด้วยวิธีการและรูปแบบง่ายๆ ในการสื่อสารกับบุคคลในสถานศึกษาและยังทำให้เป็นผู้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

รายวิชา ต.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 120 ชั่วโมง

เข้าใจคำสั่ง คำขอร้อง ภาษท่าทาง คำแนะนำในสังคม ประโยค ข้อความสั้นๆ บทสนทนา เรื่องสั้น เล่าเรื่อง นิทาน รูปแบบและพฤติกรรม ถ้อยคำสำนวน ในการติดต่อ ปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความแตกต่างระหว่างภาษาต่างประเทศกับภาษาไทย ในเรื่องเสียงสระ พยัญชนะ คำ วลี ประโยค ข้อความง่าย ๆ ถ่ายทอดเนื้อหาภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระที่เป็นภาษาต่างประเทศ โดยถ่ายโอนเป็นภาพหรือสัญลักษณ์ หรือถ่ายโอนข้อมูลจากภาพหรือสัญลักษณ์เป็นประโยคอย่างถูกต้อง สามารถอ่านออกเสียงคำ ประโยค ข้อความง่ายๆ ตามหลักการออกเสียง ใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อแสดงความต้องการของตน เสนอความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น เพื่อขอและให้ข้อมูล อธิบายเกี่ยวกับบุคคล เพื่อแสดงความต้องการของตน เสนอความช่วยเหลือแก้ผู้อื่น เพื่อขอและให้ข้อมูล อธิบายเกี่ยวกับบุคคล สิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในการดำเนินชีวิตให้เป็นประโยชน์จากสื่อการเรียนทางภาษา และผลจากการฝึกทักษะ เพื่อแสดงความรู้สึกของตน บอกเหตุผลพร้อมได้ประโยชน์จากสื่อการเรียนทางภาษา และผลจากการฝึกทักษะ เพื่อแสดงความรู้สึกของตน สิ่งแวดล้อม สังคมใกล้ตัว เป็นข้อความสั้น ๆ เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอดที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องใกล้ตัว บทเพลงที่หลากหลาย ข้อมูลจากสื่อตามความสนใจด้วยความสนุกสนานอย่างมีวิจารณญาณ และรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาล งานฉลอง รู้ประโยชน์ของการรู้ภาษาต่างประเทศในการแสวงหาความรู้ ความบันเทิง การเข้าสู่สังคม สนใจการร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม พร้อมกับการใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสื่อสารกับบุคคลในรูปแบบวิธีง่าย ๆ ภายในสถานศึกษา เพื่อเป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานพร้อมคำศัพท์และโครงสร้างทางภาษาเกี่ยวกับอาชีพจากสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองเป็นการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

รายวิชา ต.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 120 ชั่วโมง

เข้าใจคำสั่ง คำขอร้อง ภาษท่าทาง คำแนะนำในสังคม ประโยค ข้อความสั้นๆ บทสนทนา เรื่องสั้น เล่าเรื่อง นิทาน รูปแบบ พฤติกรรม ถ้อยคำ สำนวน ในการติดต่อ ปฏิสัมพันธ์ ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความแตกต่างระหว่างภาษาต่างประเทศกับภาษาไทย ในเรื่องเสียงสระ พยัญชนะ คำ วลี ประโยค ข้อความง่าย ๆ การนำไปใช้ได้ถูกต้อง ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและเจ้าของภาษาอย่างเหมาะสมการถ่ายทอดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระที่เป็นภาษาต่างประเทศ โดยถ่ายเป็นภาพหรือสัญลักษณ์ หรือถ่ายโอนข้อมูลจากภาพหรือสัญลักษณ์เป็นประโยค หรือข้อความ สั้น ๆ สามารถอ่านออกเสียงคำ ประโยคข้อความง่าย ๆ ถูกต้องตามหลักการออกเสียง รู้จักการใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความต้องการของตน เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อขอและให้ข้อมูลอธิบายเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน สร้างองค์ความรู้ได้ประโยชน์จากสื่อการเรียน สื่อ นวัตกรรมง่าย ๆ พร้อมทั้งเทคโนโลยีจากการฝึกทักษะ เพื่อแสดงความรู้สึกของตนบอกเหตุผลได้จากประโยชน์ของสื่อการเรียน การฝึกทักษะรวมทั้งการเลือกวิธีการเรียนที่ได้ผล รวมทั้งใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารขั้นพื้นฐาน คำศัพท์และโครงสร้างทางภาษาเกี่ยวกับอาชีพการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุขในสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และแสดงความคิดของตนได้เหมาะสม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อมสังคมใกล้ตัว นำเสนอความคิดรวบยอด ที่มีอ่านเรื่องต่างๆ จากบทเพลง บทกวีที่หลากหลายจากสื่อความสนใจด้วยความสนุกสนาน รู้จักขนบธรรมเนียม ประเพณีทศกาลงานฉลอง รู้ประโยชน์ของการเรียนภาษาต่างประเทศในการแสวงหาความรู้ ความบันเทิง การเข้าสู่สังคม สนใจร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม อย่างมีวิจารณญาณ

กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง 1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 ชั่วโมง/ปี

ศึกษาการออกแบบเครื่องใช้ง่าย ๆ ประโยชน์ของการออกแบบและการใช้เทคโนโลยี เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และผลที่ได้ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อการออกแบบและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้

ศึกษาวางแผนการดำเนินงานและปฏิบัติงานตามแผนประดิษฐ์ของเล่น แก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยวิธีการเหมาะสม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ทำงานจนสำเร็จเห็นประโยชน์ของการทำงานอย่างมีความสุข ความประณีต รอบคอบ ปลอดภัยและสะอาด

งานวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีงานประดิษฐ์ เป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับการสร้าง สิ่งผลิตชนิด ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและอุปกรณ์ เพื่อประกอบของเล่นแบบ ง่าย ๆได้เอง ตามกระบวนการของขั้นตอนการทำงานพร้อมทั้งตรวจสอบและปรับปรุงผลงาน รวมทั้งเห็นประโยชน์ของการทำงานและนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์เกี่ยวกับงานประดิษฐ์ ด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตว์ ประหยัด อดออม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างประณีตและสวยงาม

ศึกษาข้อมูลงานประดิษฐ์ที่อยู่ใกล้ตัว บอกประโยชน์ของข้อมูลและการรวบรวม ข้อมูลที่สนใจและเชื่อถือได้บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์ พื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์

ศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ ได้

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง 1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง/ปี

ศึกษาการออกแบบเครื่องใช้ง่ายๆประโยชน์ของการออกแบบและการใช้เทคโนโลยี เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และผลที่ได้ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อการออกแบบและการนำเทคโนโลนีมาประยุกต์ใช้

ศึกษาวางแผนการดำเนินงานและปฏิบัติงานตามแผนประดิษฐ์ของเล่น สำรวจแหล่งความรู้ เกี่ยวกับการงาน ทำงานประดิษฐ์ของเล่น แก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยวิธีการเหมาะสม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ทำงานจนสำเร็จเห็นประโยชน์ของการทำงานอย่างมีความสุข ความประณีต รอบคอบ ปลอดภัยและสะอาด

งานวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีงานประดิษฐ์เป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสิ่งผลิตต่าง ๆ เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการบำรุงรักษาของเล่น เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ เพื่อประกอบของเล่นแบบง่าย ๆ ได้เอง ตามกระบวนการของขั้นตอนการทำงาน พร้อมทั้งตรวจสอบและปรับปรุงผลงานรวมทั้งเห็นประโยชน์ของการทำงาน และนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์เกี่ยวกับงานประดิษฐ์ ด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างประณีตและสวยงาม

ศึกษาข้อมูลงานประดิษฐ์ที่อยู่ใกล้ตัว บอกประโยชน์ของข้อมูลและการรวบรวม ข้อมูลที่สนใจและเชื่อถือได้ บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์

ศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ ได้

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง 1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง/ปี

ศึกษาการออกแบบเครื่องใช้ง่าย ๆ ประโยชน์ของการออกแบบและการใช้เทคโนโลยี เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และผลที่ได้ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อการออกแบบและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์

ศึกษาวางแผนการดำเนินงานและปฏิบัติงานตามแผนประดิษฐ์ของเล่น สำรวจแหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำงานประดิษฐ์ของเล่น แก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยวิธีการเหมาะสมทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากลุ่ม ทำงานจนสำเร็จเห็นประโยชน์ของการทำงานอย่างมีความสุข ความประณีต รอบคอบ ปลอดภัยและสะอาด

งานวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีงานประดิษฐ์เป็นรายวิชา ที่เกี่ยวกับการสร้างสิ่งผลิตต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการบำรุงรักษาของเล่น เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ เพื่อประกอบของเล่นแบบง่าย ๆ ได้เอง ตามกระบวนการของขั้นตอนการทำงานพร้อมทั้งตรวจสอบและปรับปรุงผลงาน รวมทั้งเห็นประโยชน์ของการทำงาน และนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์เกี่ยวกับงานประดิษฐ์ ด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างประณีตและสวยงาม

ศึกษาข้อมูลงานประดิษฐ์ที่อยู่ใกล้ตัว บอกประโยชน์ของข้อมูลและการรวบรวม ข้อมูลที่สนใจและเชื่อถือได้ บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์

ศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ ได้

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง 1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 ชั่วโมง/ปี

ศึกษาความสำคัญ วิธีการขั้นตอน กระบวนการทำงาน การจัดการในการประดิษฐ์ของเล่น ของใช้และของประดับตกแต่ง การใช้การเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์ตามขั้นตอนและกระบวนการทำงาน รู้จักรับผิดชอบต่อการทำงาน มีความขยัน ซื่อสัตย์ อดทน อดออม ทำงานอย่างมีความสุข รู้จักเลือกใช้พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์และถูกต้องกับงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง 1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 ชั่วโมง/ปี

ศึกษาความสำคัญ วิธีการขั้นตอน กระบวนการทำงาน การจัดการในการประดิษฐ์ของเล่น ของใช้และของประดับตกแต่ง การใช้การเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์ตามขั้นตอนและกระบวนการทำงาน รู้จักรับผิดชอบต่อการทำงาน มีความขยัน ซื่อสัตย์ อดทน อดออม รู้จักเลือกใช้พลังงาน และทรัพยากรอย่างถูกต้องกับชนิดงานเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง 1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 ชั่วโมง/ปี

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ วิธีการขั้นตอน กระบวนการทำงาน ในการประดิษฐ์ของเล่น ของใช้และของประดับตกแต่ง การใช้เครื่องมือ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน การออกแบบ และการปรับปรุงชิ้นงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการทำงาน ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน อดออม และมีนิสัยในการตรงต่อเวลาตลอดจนรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาประโยชน์ของการออกแบบสร้างสิ่งของเครื่องใช้ และประโยชน์การใช้เครื่องมือใช้ในการทำงานและโทษที่อาจเกิดต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม มีเจตคติที่ดีต่อการออกแบบ นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ออกแบบสร้างเครื่องใช้ในงานบ้าน

ศึกษาแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานบ้าน รู้จักชื่อและหน้าที่อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เห็นประโยคของข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมและเชื่อถือได้ ศึกษาความหมายและการใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสมกับงานบ้าน

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์วิธีการและขั้นตอนของงานเกษตร พลังงานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างประหยัด ใช้และเก็บบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์การทำงานเกษตร ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีและเป็นประโยชน์มาใช้ ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม

ศึกษาวางแผนงานการดำเนินงาน และปฏิบัติงานเกษตร สำรวจแหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำงานเกษตร การแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การทำงานตามบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับจากกลุ่มทำงาน จนสำเร็จเห็นประโยชน์ของการทำงานมีความสุข ความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย และสะอาด

ศึกษาประโยชน์ของการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของงานเกษตร เปรียบเทียบข้อดี และข้อเสีย ในประโยชน์และความปลอดภัย สิ่งของใช้ในชีวิต ประจำวัน การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ง่าย ๆ ความคิดที่ดีต่อการออกแบบและนำมาประยุกต์ใช้ในงานเกษตร

ศึกษาแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวอย่างเหมาะสม เห็นคุณค่าประโยชน์ของข้อมูลที่เชื่อถือได้ บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นหาข้อมูล

ศึกษาการใช้และความเข้าใจเทคโนโลยีกับงานเกษตร

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาประโยชน์ของการออกแบบสร้างสิ่งของเครื่องใช้ และประโยชน์การใช้เครื่องมือใช้ในการทำงานและโทษที่อาจเกิดต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม มีเจตคติที่ดีต่อการออกแบบ นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ออกแบบสร้างเครื่องใช้ในงานบ้าน

ศึกษาแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานบ้าน รู้จักชื่อและหน้าที่อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เห็นประโยชน์ของข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมและเชื่อถือได้ ศึกษาความหมายและการใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสมกับงานบ้าน

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์วิธีการและขั้นตอนของงานเกษตร พลังงานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการทำงานได้อย่างประหยัด ใช้และเก็บบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์การทำงานเกษตร ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีและเป็นประโยชน์มาใช้ ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม

ศึกษาวางแผนงานการดำเนินงาน และปฏิบัติงานเกษตร สำรวจแหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำงานเกษตร การแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การทำงานตามบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับจากกลุ่มทำงาน จนสำเร็จเห็นประโยชน์ของการทำงานมีความสุข ความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย และสะอาด

ศึกษาประโยชน์ของการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของงานเกษตร เปรียบเทียบข้อดี และข้อเสีย ในประโยชน์และความปลอดภัย สิ่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ง่าย ๆ ความคิดที่ดีต่อการออกแบบและนำมาประยุกต์ใช้ในงานเกษตร

ศึกษาแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวอย่างเหมาะสม เห็นคุณค่าประโยชน์ของข้อมูลที่เชื่อถือได้ บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นหาข้อมูล

ศึกษาการใช้และความเข้าใจเทคโนโลยีกับงานเกษตร

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาประโยชน์ของการออกแบบสร้างสิ่งของเครื่องใช้ และประโยชน์การใช้เครื่องมือใช้ในการทำงานและโทษที่อาจเกิดต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม มีเจตคติที่ดีต่อการออกแบบ นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ออกแบบสร้างเครื่องใช้ในงานบ้าน

ศึกษาแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานบ้าน รู้จักชื่อและหน้าที่อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เห็นประโยชน์ของข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมและเชื่อถือได้ ศึกษาความหมายและการใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสมกับงานบ้าน

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์วิธีการและขั้นตอนของงานเกษตร พลังงานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการทำงานได้อย่างประหยัด ใช้และเก็บบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์การทำงานเกษตร ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีและเป็นประโยชน์มาใช้ ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม

ศึกษาวางแผนงานการดำเนินงาน และปฏิบัติงานเกษตร สำรวจแหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำงานเกษตร การแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การทำงานตามบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับจากกลุ่มทำงาน จนสำเร็จเห็นประโยชน์ของการทำงานมีความสุข ความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย และสะอาด

ศึกษาประโยชน์ของการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของงานเกษตร เปรียบเทียบข้อดี และข้อเสีย ในประโยชน์และความปลอดภัย สิ่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ง่าย ๆ ความคิดที่ดีต่อการออกแบบและนำมาประยุกต์ใช้ในงานเกษตร

ศึกษาแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวอย่างเหมาะสม เห็นคุณค่าประโยชน์ของข้อมูลที่เชื่อถือได้ บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นหาข้อมูล

ศึกษาการใช้และความเข้าใจเทคโนโลยีกับงานเกษตร

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 ชั่วโมง

มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในครอบครัว และชุมชนอย่างมีความสุขทำงานอย่างเป็นขั้นตอนมีทักษะในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน เลือกวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานอย่างเหมาะสม คิดออกแบบดัดแปลงเครื่องใช้ได้ รับผิดชอบประหยัดใช้พลังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า ถูกวิธี วิเคราะห์ วางแผน ปรับปรุงงานเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ คุณธรรม ทักษะ กระบวนการ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 ชั่วโมง

มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์คุ้มค่า

รู้จักใช้ เก็บรักษา วัสดุ อุปกรณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลง ทำงานอย่างเป็นระบบ ผลิตจำหน่าย มีวิธีการอย่างเป็นระบบ รู้จักนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้สร้างงานในรูปแบบต่าง ๆ โดยคิดวิเคราะห์วางแผนปรับปรุงงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีคุณธรรม มีทักษะ กระบวนการทำงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือประกอบอาชีพได้ตามความเหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

รายวิชา ง.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 ชั่วโมง

ปลูกฝังความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย สร้างสุขนิสัยที่ดีในครอบครัว ชุมชน วิเคราะห์ วางแผน ปรับปรุงงานใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้อุปกรณ์บำรุง เก็บอย่างถูกวิธี คิดริเริ่มสร้างสรรค์ดัดแปลงวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำงานอย่างเป็นระบบ ผลิต จำหน่าย เป็นรายได้เสริมในครอบครัวหรือประกอบอาชีพอย่างสุจริต โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างงาน แก้ปัญหา ให้ได้แบบผลผลิตที่หลากหลาย

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม ทักษะ กระบวนการในการทำงานสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบอาชีพได้ตามความเหมาะสม

กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา

รายวิชา พ.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 ชั่วโมง

บอกความต้องการ พื้นฐานในการดำรงชีวิตที่มีอิทธิพล ต่อครอบครัวและตนเอง อธิบายความหมายของเพศชาย เพศหญิง และพฤติกรรมที่แสดงออกที่จำนำไปสู่ การล่วงละเมิดทางเพศพร้อมทั้งในการป้องกัน

ศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจขั้นตอนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายในแต่ละวัยบวกกับความแตกต่างของพัฒนาการด้านจิตใจของเด็กในแต่ละวัย ศึกษาหาความรู้ วัฎจักรของมนุษย์

ฝึกปฏิบัติการเคลื่อนไหวร่างกาย และอยู่กับที่และเคลื่อนที่ อภิปรายวิธีการเล่นเกม ฝึกเล่นเกมร่วมกับผู้อื่น สำรวจข้อบกพร่องปัญหาในการเล่น บอกประโยชน์ของการเล่นเกมและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ฝึกเล่นกมให้เป็นไปตามกฎ กติกา การเล่นมีความสนุกสนานและเกิดความสามัคคี ในการเล่น หรือการเล่นร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม

อภิปรายพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาพ การเกิดอุบัติเหตุ การใช้ยาผิด การใช้สารเสพติด การเกิดอัคคีภัย การป้องกัน อภิปรายสาเหตุของการเกิดมลพิษ สารเคมี ฝึกปฏิบัติและการป้องกัน ดูแลตนเองจากอุบัติเหตุและสามารถปฐมพยาบาลด้วยวิธีง่าย ๆ

ศึกษาความหมายของสิ่งแวดล้อม และความสำคัญที่มีต่อสุขภาพ เห็นคุณค่าความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การกินดี อยู่ดีให้เห็นกิจวัตรประจำวัน เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาหาร การเจ็บป่วย การบาดเจ็บ การป้องกันฝึกปฏิบัติการป้องกันการบาดเจ็บอย่างง่าย ๆ เห็นคุณค่าในการดูแลรักษาสุขาภาพของตนเองรู้จักและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดอารมณ์ เครียดด้วยการออกกำลังกาย

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา

รายวิชา พ.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง

ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ ตนเองและครอบครัวที่ถูกต้อง ที่จะทำให้มีผลต่อสุขภาพจิตที่ดีในครอบครัว ที่ถูกต้องที่จะทำให้มีผลต่อสุขภาพจิตที่ดีในครอบครัวการ ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเพศของตนเองตามวัฒนธรรมไทย ปฏิบัติตนในเรื่องดูแลรักษา ความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ วิเคราะห์ อภิปราย พฤติกรรม ที่จะนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ

อภิปรายการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของร่างกายและจิตใจ สังเกตเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของร่างกาย การปฏิบัติในการดูแลรักษาร่างกายของตนเอง ศึกษาหาความรู้อภิปรายวัฎจักรของชีวิตมนุษย์

ฝึกปฏิบัติการเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่อภิปรายและฝึก ปฏิบัติในการเล่นอย่างปลอดภัยและมีความสนุกสนาน อภิปรายถึงประโยชน์ของการเล่นและการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ฝึกเล่นเกมให้เป็นไปตามกฎ กติกาการเล่นสามารถเล่นเป็นทีม เพื่อส่วนรวม สังเกตปัญหาที่เกิดขึ้น ในขณะเล่นเกม นำผลและข้อบกพร่องไปปรับปรุงในการเล่นเกมให้ดีขึ้น ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วง

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ ความเขาใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเสี่ยงต่อสุขภาพ การเกิดอุบัติเหตุ การใช้ยาผิด การใช้สารเสพติด การเกิดอัคคีภัย บอกสาเหตุและวิธีการป้องกัน ช่วยเหลือดูแลตนเอง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ มลพิษและสารเคมี รวมทั้งสามารถปฐมพยาบาลด้วยวิธีง่าย ๆ

ศึกษาถึงสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี อภิปรายลักษณะเจ็บป่วย และวิธีการป้องกัน การปฏิบัติตนในการเลือก บริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพปฏิบัติตนและแก้ไขเมื่อเกิดอารมณ์ เครียด เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา

รายวิชา พ.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง

ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และครอบครัว การปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเพศของตนเองตามวัฒนธรรมไทย ปฏิบัติตนในเรื่องการดูแลรักษา ความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ วิเคราะห์ อภิปราย พฤติกรรมที่จะนำไปสู่การละเมิดทางเพศ

ศึกษาข้อมูล อภิปรายการเจริญเติบโต พัฒนาการของร่างกายและจิตใจ อภิปรายวิธีสุขปฏิบัติต่อร่างกาย สังเกตศึกษาเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฎจักรชีวิตมนุษย์

ฝึกปฏิบัติการเคลื่อนไหว ขณะที่อยู่กับที่ และเคลื่อนที่พร้อมใช้อุปกรณ์ ประกอบพร้อมทั้งควบคุมร่างกายตนได้อภิปรายและฝึกปฏิบัติการเล่น เกมได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์การออกกำลังกาย การเล่นเกมที่มีผลดีต่อสุขภาพและสามารถนำไปใช้ประจำวันได้อย่างถูกต้อง

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาพ การเกิดอุบัติเหตุ การใช้ยาผิด การใช้สารเสพติด การเกิดอัคคีภัย บอกสาเหตุและวิธีการป้องกัน ช่วยเหลือดูแลตนเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนปฏิบัติตนในการป้องกันช่วยเหลือและดูแลตนเองจากอุบัติเหตุต่าง ๆ

ศึกษาถึงสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี เห็นคุณค่า และความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี การฝึกปฏิบัติตนให้เป็นกิจนิสัย เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องการบาดเจ็บ สามารถรักษา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ฝึกปฏิบัติตนในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย เพื่อให้ป้องกันความเครียดทางด้านอารมณ์ พร้อมกับเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการด้วยความสนใจ และเห็นประโยชน์ในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา

รายวิชา พ.1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

อภิปรายและปฏิบัติตนในการป้องกันรักษาโรคต่าง ๆ ภายนอกร่างกาย ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เข้าใจการทำงานของระบบอวัยวะที่มีผลต่อสุขภาพ สมรรถภาพ การเจริญเติบโต อภิปรายสังเกตลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตวิญญาณในวัยแรกรุ่น

อภิปรายและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวเกิดความอบอุ่นตามวัฒนธรรมเห็นคุณค่าในการเป็นเพศชายและปฏิบัติหน้าที่เหมาะสมตามเพศของตนเอง เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติตนในการดูแลรักษาสุขภาพ อนามัยทางเพศให้ถูกต้องเหมาะสม

อภิปรายและฝึกปฏิบัติในการรับแรง การใช้แรงในการปฏิบัติกิจกรรม ในการเล่นเกม กีฬาได้อย่างถูกต้องและสนุกสนาน เพลิดเพลินฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ตนชอบเป็นประจำฝึกปฏิบัติตนในการมีส่วนร่วมในการเล่นเกม กีฬา ในโรงเรียนและชุมชน การทำกิจกรรมทางกาย ที่มีผลต่อสุขภาพและสมรรถภาพเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ อภิปราย กฎ กติกา และขั้นตอน การปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรม การออกกำลังกาย ความปลอดภัยในการเล่นเกมกีฬา ปฏิบัติตนในการแสดงการเคารพ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติวิธีการรุก การป้องกันในการเข้าร่วมเล่นเกมและกีฬามีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย อภิปรายฝึกปฏิบัติ ในการออกกำลังกายและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

อภิปรายลักษณะของการมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจผลกระทบของพฤติกรรมที่มีผลต่อการดำรงสุขภาพและป้องกันโรคการปฏิบัติตนในเรื่องการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อภิปรายประโยชน์ของการออกกำลังกายและพักผ่อนและเลือกใช้สถานที่ให้เหมาะสมาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

อภิปรายฝึกปฏิบัติการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้เหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละคนปฏิบัติตนแก้ปัญหา เมื่อเกิดอารมณ์เครียดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา

รายวิชา พ.1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

การป้องกันและบำรุงรักษาภายนอก และภายในร่างกาย การทำงานของระบบอวัยวะที่มีผลต่อสุขภาพ และสมรรถภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ฝึกปฏิบัติตนเพื่อป้องกัน และบำรุงรักษาอวัยวะ ภายใน ภายนอก ร่างกาย สังเกต รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ทางด้านร่างกาย จิตในของตนเองเมื่ออย่างเข้าสู่วัยรุ่น

สังเกตรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสงบสุข ไม่สงบสุขของครอบครัวเน้นในเรื่องความรับผิดชอบ ตามบทบาทหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว ปฏิบัติตนและเห็นคุณค่าในความเป็นเพศหญิง เพศชาย และปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศ และการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ สามารถแก้ปัญหาทางเพศได้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้มีทักษะการเคลื่อนไหว ในลักษณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่และแบบบังคับ สิ่งของฝึกปฏิบัติช้า ๆ เพื่อให้มีทักษะดีขึ้น

ปฏิบัติตนในการออกกำลังกายเล่นเกมกีฬาที่ตนเองเล่นเป็นประจำ มีส่วนร่วมในการเล่นกีฬา ในโรงเรียนและชุมชน เห็นคุณค่าในการปฏิบัติกิจกรรม ทางกายที่มีผลต่อสุขภาพ และสมรรถภาพอภิปรายซักถาม วิธีการเล่นกีฬา กฎ กติกา และเกิดความปลอดภัย ปฏิบัติตนเพื่อการเข้าร่วมเล่น เกม กีฬา ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีน้ำใจเป็นนักกีฬาปฏิบัติตนในการเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเคารพสิทธิผู้อื่น

อภิปรายเปรียบเทียบความแตกต่างของการมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อการดำรงสุขภาพ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ปฏิบัติตนและแก้ปัญหาเมื่อเกิดอารมณ์เครียด การออกกำลังกายและเลือกใช้ประเภทกีฬาที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ข้อมูลข่าวสารและการบริการสุขภาพ ปฏิบัติตนในการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพด้วยวิธีง่าย ๆ

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ อภิปรายฝึกปฏิบัติวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ อภิปรายผลกระทบของการใช้ยา บุหรี่ สุรา สารเสพติดภัยอันตรายและความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมและหาทางหลีกเลี่ยงได้

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติในเรื่องการปฐมพยาบาล เบื้องต้นได้ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ ยา บุหรี่ สุรา สารเสพติด ภัยอันตราย และความรุนแรง ต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม การหลีกเลี่ยง

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา

รายวิชา พ.1.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

เพื่อให้มีความเข้าใจอภิปรายเกี่ยวกับการทำงานของระบบอวัยวะที่มีผลต่อสุขภาพ สมรรถภาพการเจริญเติบโตและพัฒนาการ สังเกตอภิปรายการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจิตวิญญาณในวัยแรกรุ่น ฝึกปฏิบัติตนเพื่อป้องกัน และบำรุงรักษาระบบการทำงานของอวัยวะภายใน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจของวัยรุ่น

ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี เพื่อให้ครอบครัวมีชีวิตที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย อภิปรายถึงองค์ประกอบที่ว่าเป็นของครอบครัวที่ดี เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อเพศของตนเอง และปฏิบัติทางเพศได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติในเรื่องสุขอนามัย ทางเพศได้อย่างถูกต้อง และป้องกันแก้ไขพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์

เพื่อให้มีทักษะในการเคลื่อนไหว ในลักษณะอยู่กับที่เคลื่อนที่ และแบบบังคับสิ่งของโดยให้ร่างกายผสมผสานกับการควบคุมตนเองฝึกปฏิบัติการรับแรง การใช้แรงความสมดุลและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมถูกต้องมีควมรู้ความเข้าใจ และทักษะในการนำเกม กีฬา ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเอง ปฏิบัติตนให้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมทางกาย เกม กีฬาในโรงเรียนและชุมชน อภิปรายซักถามวิธีการเล่น กฎ กติกา การปฏิบัติฝึกเล่นกีฬา เป็นไปตามกฎ ให้เล่นเป็นทีมเพื่อส่วนร่วม มีความปลอดภัยในการเล่น มีน้ำใจเป็นนักกีฬา เห็นคุณค่าและความสำคัญในการแสดงความเคารพ ในความแตกต่างระหว่างบุคคล และเคารพสิทธิของผู้อื่นมีความรับผิดชอบ ในการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเต็มใจ

อภิปรายผลของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีปฏิบัติตนในการป้องกันพฤติกรรมที่กระทบต่อการดำรง สุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ปฏิบัติตนในการแก้ปัญหา เมื่อเกิดอารมณ์เครียด เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกายและสามารถเลือกสถานที่ ที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย อธิบายประโยชน์ของการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย และทดสอบสมรรถภาพทางกายได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเปรียบเทียบพฤติกรรมที่ปลอดภัย และไม่ปลอดภัย และเลือกปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในชีวิต ฝึกปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และเกิดการเจ็บป่วยได้

อภิปรายผลกระทบของการใช้ยา บุหรี่ สุรา สารเสพติดภัยอันตรายและความรุนแรงต่อร่างกายจิตใจ อารมณ์และสังคมและการหลีกเลี่ยง

กลับหัวรายการ

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป (ทัศนศิลป์)

รายวิชา ศ.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาสังเกตและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของงานทัศนศิลปในท้องถิ่นจากรูปลักษณะ รูปร่าง รูปทรงของธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (นาฎศิลป์)

รายวิชา ศ.3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษา ความรู้พื้นฐานนาฎศิลป์เบื้องต้น มีทักษะการสังเกต สามารถปฎิบัติการเคลื่อนไหวท่าทาง ลีลา ความงามอย่างอิสระ เพื่อสื่อความคิด จินตนาการสร้างสรรค์การแสดงออกทางนาฎศิลป์ตามความสนใจ สนุกสนาน เกิดความรัก ชื่นชมรับรู้นาฎศิลป์อันเป็นมรดกไทย การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป (ดนตรี )

รายวิชา ศ.2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษา การเกิดเสียงธรรมชาติเสียงมนุษย์และเสียงดนตรี แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เสียงขับร้อง เสียงเครื่องดนตรี รู้ที่มาของดนตรีไทยในท้องถิ่นและภูมิภาคต่าง ๆ ขับร้องและเคาะจังหวะ ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องจังหวะแสดงออกเรื่องการรับรู้ของเสียงดนตรีสนใจดนตรีทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยสากลเบื้องต้น สร้างสรรค์ทางดนตรีมาใช้ประยุกต์ในชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ทัศนศิลป์)

รายวิชา ศ.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาถ่ายทอดและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของทัศนศิลป์ เกี่ยวกับรูปลักษณะรูปร่าง รูปทรง เส้น สี ของสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ รู้จักใช้และเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสนุกสนานเพลิดเพลิน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ดนตรี)

รายวิชา ศ.2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาคุณสมบัติของเสียงมนุษย์และเสียงดนตรีแสดงความคิดเห็นและเปรียบเทียบ เสียงธรรมชาติแสดงความคิดเห็นและเปรียบเทียบ เสียงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เสียงขับร้องและเสียงเครื่องดนตรี รู้ยุคสมัยของดนตรีไทยและดนตรีสากลแสดงออกถึงการรับรู้องค์ประกอบของเสียงดนตรีเบื้องต้นขับร้องและปฏิบัติเครื่องจังหวะ ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องจังหวะ สนใจดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล สร้างสรรค์ทางดนตรีและนำความรู้ทางดนตรีมาประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น และชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (นาฏศิลป์)

รายวิชา ศ.3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาความรู้พื้นฐานด้วยการพัฒนาทักษะการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การรับรู้จังหวะ การใช้เสียงบทบาท สมบัติและภาษาในการแสดงออกเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด จินตนาการ ยอมรับความสามารถผู้อื่นขณะร่วมกิจกรรม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ทัศนศิลป์)

รายวิชา ศ.1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาปฏิบัติและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ รูปลักษณะ รูปร่าง รูปทรง เส้น สีในธรรมชาติและทัศนศิลป์ในท้องถิ่น รู้จักวิธีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ทัศนศิลป์ได้อย่างปลอดภัย เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าและรู้จักทำงานทัศนศิลป์ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ดนตรี)

รายวิชา ศ.2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาคุณสมบัติของเสียงในเรื่องการขับร้องและบรรเลง แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงขับร้อง เสียงดนตรี รู้ที่มาและยุคสมัยของดนตรีไทยและดนตรีสากล ขับร้องและปฏิบัติเครื่องจังหวะ บรรเลงเครื่องดนตรีอย่างง่ายใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องมือที่มีระดับเสียงแสดงออกถึงการรับรู้ความไพเราะของเสียงดนตรี บทเพลง สนใจดนตรีที่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย สากล สร้างสรรค์ทางดนตรีและนำความรู้ทางดนตรีมาประยุกต์ใช้และบูรณาการกับชีวิตประจำวัน วิชาอื่น ๆ และสังคม

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (นาฏศิลป์)

รายวิชา ศ.3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 ชั่วโมง

ศึกษาการสร้างความเชื่อผ่านการแสดงโดยใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์รู้และเข้าใจฝึกปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานจากประสบการณ์อย่างอิสระ การเป็นผู้ชมที่ดีมีสมาธิในการแสดงออกเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และวิเคราะห์ในการแสดงความคิดเห็น

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (ทัศนศิลป์)

รายวิชา ศ.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

ถ่ายทอดความคิด จินตนาการ ทัศนศิลป์ จากการศึกษาวิเคราะห์ รวบรวม ความหมาย ความเป็นมาของทัศนศิลป์ โดยใช้เทคนิควิธีการ วัสดุอุปกรณ์ สร้างงานทัศนศิลป์รูปแบบต่าง ๆ ของท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ๆ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (ดนตรี)

รายวิชา ศ.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

ศึกษาประวัติความเป็นมาของดนตรีประเภทต่างๆ ความสัมพันธ์ของดนตรีกับ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณสมบัติของเสียง เครื่องดนตรีบรรเลงเดียว ขับร้องและบรรเลง การรับรู้ความไพเราะของเสียงดนตรี จำแนกความแตกต่างองค์ประกอบดนตรี เก็บรักษาเครื่องดนตรีนำความรู้ไปสร้างสรรค์งานดนตรี

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (นาฏศิลป์)

รายวิชา ศ.4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

ศึกษาถ่ายทอกจินตนาการอย่างอิสระในรูปแบบของการแสดงสด สนใจนาฏศิลป์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย การฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์เบื้องต้น วิเคราะห์รูปแบบการแสดงประเภทระบำฟ้อน นาฏศิลป์พื้นเมือง ความรู้ ความเข้าใจประสบการณ์ด้านละคร สร้างสรรค์และนาฏศิลป์ในการนำไปใช้กับกลุ่มสาระอื่น ๆ และชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (ทัศนศิลป์)

รายวิชา ศ.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

นำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ สร้างสรรค์งานศิลปะ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่มีความหลากหลายและอุปกรณ์พื้นบ้าน เพื่อสืบทอดการทำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประเพณีได้อย่างภาคภูมิใจ

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (นาฏศิลป์)

รายวิชา ศ.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

ศึกษารับรู้นาฏศิลป์อันเป็นมงคลทางวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล จินตนาการความถ่ายทอด การแสดงหุ่นเงา หรือหุ่นสร้างสรรค์ รู้พื้นฐานการเต้นรำเบื้องต้น บทบาทสมมุติของชีวิต วิเคราะห์รูปแบบ การแสดงละครประเภทต่าง ๆ นำความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ด้านละคร สร้างสรรค์และนาฏศิลป์ไปใช้ในการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (ดนตรี)

รายวิชา ศ.5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

ศึกษารับรู้นาฏศิลป์อันเป็นมงคลทางวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล จินตนาการความถ่ายทอด การแสดงหุ่นเงา หรือหุ่นสร้างสรรค์ รู้พื้นฐานการเต้นรำเบื้องต้น บทบาทสมมุติของชีวิต วิเคราะห์รูปแบบ การแสดงละครประเภทต่าง ๆ นำความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ด้านละคร สร้างสรรค์และนาฏศิลป์ไปใช้ในการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และชีวิตประจำวัน

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (ทัศนศิลป์)

รายวิชา ศ.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

ปรับปรุง สร้างสรรค์ งานทัศนศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ และสามารถแสดงความคิดเห็น ในกิจกรรมศิลปะ ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาสากล โดยใช้ความชำนาญจากการเรียนรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่ผ่านมา เพื่อใช้กับการบูรณการ กับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ตามความพอใจ

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (ดนตรี)

รายวิชา ศ.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

ศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของดนตรีประเภทต่างๆ เข้าใจและสื่อความรู้สึก คุณสมบัติของเสียงดนตรี จากการบรรเลงเดียวกันและเป็นวง ขับร้องและบรรเลงดนตรีโดยใช้ประสบการณ์ใช้และเก็บรักษาเครื่องดนตรี แสดงความคิดเห็นเรื่ององค์ประกอบดนตรีสร้างสรรค์ทางดนตรีนำความรู้ไปใช้กลับกลุ่มการเรียนอื่นและยอมรับในภูมิปัญญาการสร้างดนตรี ท้องถิ่นและสากล

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลป์ (นาฏศิลป์)

รายวิชา ศ.6 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 ชั่วโมง / ปี

มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องจิตนาการ หรือเรื่องแต่งของการแสดงละครสดหรือละครหน้ากาก พื้นฐานการเต้นรำเบื้องต้น รูปแบบของนาฏศิลป์เบื้องต้น วิเคราะห์รูปแบบ การแสดงละครประเภทต่าง ๆ ความรู้สึก ความคิดเห็น เจตคติเชิงบวก ยอมรับในภูมิปัญญา การสืบทอด นาฏศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล นำความรู้นาฏศิลป์ไปใช้ในการเรียนรู้กับสาระกลุ่มอื่น และชีวิตประจำวัน

กลับหัวรายการ

 

ภาคผนวก

ประกาศโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

ที่….. / 2545

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

…………………………………………………………

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 44 กำหนดให้โรงเรียนจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ทางโรงเรียนได้ตอบสนองนโยบายทางกระทรวง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

1. นางสาวศรีนคร โกมลภิส รักษาการแทนผู้รับใบอนุญาต ประธานคณะกรรมการ

2. นายมนัส ศรีเพ็ญ ผู้จัดการ กรรมการ

3. นายสมบูรณ์ ฉ่ำทรัพย์ ผู้แทนผู้ปกครองคุณวุฒิ กรรมการ

4. นายวิชาญ ทองท่าฉาง ผู้แทนผู้ปกครอง กรรมการ

5. นางศรันยา แก้วเมืองเพชร ผู้แทนผู้ปกครอง กรรมการ

6. นายใจรัก หวังรวยนาม ศิษย์เก่า กรรมการ

7. นายสัมฤทธิ์ สิขันธกบุตร ชุมชน กรรมการ

8. นางชลอ รอดปัญญา ผู้แทนครู กรรมการ

9. นางสาวบุญรักษ์ จักรสิทธิ์ ผู้แทนครู กรรมการ

10. นางกิติมาศ จันทร์ศิริ ครูใหญ่ กรรมการและเลขานุการ

ให้เลขานุการคณะกรรมการบริหารศึกษาเรียกประชุม เพื่อพิจารณาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 7 วัน นับแต่นี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่……… มิถุนายน 2545

( )

นางสาวศรีนคร โกมลภิส

รักษาแทนผู้รับใบอนุญาต

ผู้จัดการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

 

ประกาศโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

ที่ … / 2545

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา

…………………………………………………

เพื่อให้การดำเนินงานบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของโรงเรียนเป็นไปตามจุดหมายการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูครและงานวิชาการสถานศึกษาของโรงเรียนประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้

1. นางกิติมาศ จันทร์ศิริ ครูใหญ่ ประธานคณะกรรมการ

2. นางชลอ รอดปัญญา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ รองประธานคณะกรรมการ

3. นางบุญเรือน พงษ์ปรีชา หัวหน้ากลุ่มสาระคณิต กรรมการ

4. นางสมพร ครุฑศรัทธา หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย กรรมการ

5. นางบุญเรือน หานุสิงห์ หัวหน้ากลุ่มสาระวิทย์ฯ กรรมการ

6. นางสาวเพชรา จักรสิทธิ์ หัวหน้ากลุ่มสาระสังคม กรรมการ

7. นางสาวชมเดือน สีแสงฉ่ำ หัวหน้ากลุ่มสาระทัศนศิลป์ กรรมการ

8. นางอังคณา ปานทรัพย์ หัวหน้ากลุ่มสาระสุขศึกษา กรรมการ

9. นางเสาวลักษณ์ พลารชุน หัวหน้ากลุ่มสาระการงานฯ กรรมการ

10. นางบุญเกิด อินทพงษ์ หัวหน้าภาษาต่างประเทศ กรรมการ

11. นางชลอ รอดปัญญา หัวหน้างานวัดผล กรรมการ

12. นางบุญเกิด อินทพงษ์ หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กรรมการ

13. นางชลอด รอดปัญญา กรรมการและเลขานุการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ….. มิถุนายน 2545

( นายมนัส ศรีเพ็ญ )

ผู้จัดการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

 

คำสั่งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

ที่ ….. / 2545

เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้ (กลุ่มวิชา)

……………………………………….

เพื่อให้สาระหลักสูตรของโรงเรียนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เห็นสมควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้ (กลุ่มวิชา) และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดังนี้

  1. คณะกรรมการกลุ่มสาระภาษาไทย
  2. 1. นางประไพ ทองพัฒน์ ประธานกรรมการ

    2. นางสมพร ครุฑศรัทธา อนุกรรมการและเลขานุการ

    3. นางสาวบุญรักษ์ จักรสิทธิ์ อนุกรรมการ

  3. คณะกรรมการกลุ่มสาระคณิตศาสตร์
  4. 1. นางบุญเรือน พงษ์ปรีชา ประธานธรรมการ

    2. นางกุลภา เกิดศิริ อนุกรรมการและเลขานุการ

    3. นางชลอ รอดปัญญา อนุกรรมการ

  5. คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
  6. 1. นางบุญเรือน หานุสิงห์ ประธานกรรมการ

    2. นางวิไลลักษณ์ เหนี่ยวผึ้ง อนุกรรมการและเลขานุการ

    3. นางกิติมาศ จันทร์ศิริ อนุกรรมการ

  7. คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  8. 1. นางกิติมาศ จันทร์ศิริ ประธานกรรมการ

    2. นางสาวเพชรา จักร์สิทธิ์ อนุกรรมการและเลขานุการ

    3. นางบุญเรือน หานุสิงห์ อนุกรรมการ

  9. คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลานามัย
  10. 1. นางสาวอังคณา ปานทรัพย์ ประธานกรรมการ

    2. นางพรสวรรค์ เอี่ยมละมัย อนุกรรมการและเลขานุการ

    3. นางสาวบุญรักษ์ จักรสิทธิ์ อนุกรรมการ

  11. คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระศิลปะ
  12. 1. นางสาวชมเดือน สีแสงฉ่ำ ประธานกรรมการ

    2. นางทิวา โกมล อนุกรรมการและเลขานุการ

    3. นางสาวเพชรา จักรสิทธิ์ อนุกรรมการ

  13. คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
  14. 1. นางสาวเสาวลักษณ์ พลารชุน ประธานกรรมการ

    2. นางบุษกร สาเรือง อนุกรรมการและเลขานุการ

    3. นางสาวชมเดือน สีแสงฉ่ำ อนุกรรมการ

  15. คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ

1. นางชลอ รอดปัญญา ประธานกรรมการ

2. นางบุญเกิด อินทพงษ์ อนุกรรมการและเลขานุการ

3. นางวิไลลักษณ์ เหนี่ยวผึ้ง อนุกรรมการ

และให้คณะอนุกรรมการข้างต้นมีหน้าที่ดังนี้

  1. กำหนดสัดส่วนสาระการเรียนรู้ และพัฒนาหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้รายปี หรือรายภาคให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระและประเมินผลการเรียนรู้โดยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน
  3. ดำเนินการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน
  4. พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อให้ผู้สอนสามารถปรับใช้ตามความเหมาะสมและให้การสอนนำไปสู่การเรียนรู้มากที่สุด
  5. พัฒนาสื่อการเรียนรู้เหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  6. กำหนดแนวทางพัฒนา เครื่องมือ กำกับ ติดตาม การดำเนินการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด
  7. วิเคราะห์ความก้าวหน้า และพัฒนาการของผู้เรียน เป็นรายบุคคลและกลุ่ม
  8. ดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการวัด และการประเมินผล
  9. นิเทศภายในและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
  10. รวบรวมข้อมูลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนตรวจสอบและประเมินการบริหารหลักสูตร ในภาคเรียนที่ผ่านมาและวางแผนพัฒนาการบริหารหลักสูตรในภาคเรียนต่อไป
  11. รายงานการปฏิบัติงานของครู และผลการบริหารหลักสูตร โดยเน้นผลที่เกิดกับผู้เรียนต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้เกี่ยวข้อง
  12. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่…. มิถุนายน 2545

 

(นายมนัส ศรีเพ็ญ)

ผู้จัดการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

 

 

คำสั่งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

ที่ …. / 2545

เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

…………………………………………

เพื่อให้การดำเนินงานจัดทำหลักสูตรของโรงเรียนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เห็นสมควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

1. นางกิติมาศ จันทร์ศิริ ประธานอนุกรรมการ

2. นางชลอ รอดปัญญา อนุกรรมการ

3. นางประไพ ทองพัฒน์ อนุกรรมการ

4. นางสมพร ครุฑศรัทธา อนุกรรมการ

5. นางสาวบุญรักษ์ จักรสิทธิ์ อนุกรรมการ

6. นางบุญเรือน พงษ์ปรีชา อนุกรรมการ

7. นางบุญเรือน หานุสิงห์ อนุกรรมการและเลขานุการ

ให้คณะอนุกรรมการข้างต้นมีหน้าที่ดังนี้

    1. กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมพร้อมแนวทางการวัดผลประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    2. สนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและวัดผลประเมินผลตามแนวทางที่กำหนดไว้
    3. พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการวัดและประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งนี้ตั้งแต่บัดนีเป็น

ต้นไป

สั่ง ณ วันที่ …. มิถุนายน 2545

( นายมนัส ศรีเพ็ญ )

ผู้จัดการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

 

คำสั่งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

ที่…. / 2545

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

…………………………………………….

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อันเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด จึงจะได้รับการตัดสินใจให้ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การผ่านช่วงชั้น การประเมินดังกล่าวเป็นการพัฒนาผู้เรียนเพิ่มเติมจากคุณลักษณะที่กำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อสร้างเอกลักษณ์เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

เห็นสมควรแต่งตั้งบุคลากรต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาศึกษาดังนี้

1. นางกิติมาศ จันทร์ศิริ ประธานกรรมการ

2. นางสาวบุญรักษ์ จักรสิทธิ์ กรรมการ

3. นางบุษกร สาเรือง กรรมการ

4. นางประไพ ทองพัฒน์ กรรมการ

5. นางบุญเรือน พงษ์ปรีชา กรรมการ

6. นางชลอ รอดปัญญา กรรมการและเลขานุการ

และให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานดังนี้

    1. การกำหนดแนวทางการพัฒนา แนวทางการประเมินเกณฑ์การประเมินและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข คุณลักษณะอันพึงประสงค์

2. พิจารณาตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ปลายปี / ปลายภาคและการผ่านช่วงชั้นของผู้เรียน

3. จัดระบบการปรับปรุงแก้ไขคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วยวิธีการอันเหมาะสมและส่งต่อไปวินิจฉัยเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

 

สั่ง ณ วันที่….. มิถุนายน 2545

 

( นายมนัส ศรีเพ็ญ )

ผู้จัดการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

 

 

คำสั่งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

ที่….. / 2545

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อตาม

……………………………………………………….

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องใช้รับการประเมินผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด จึงจะได้รับการตัดสินให้ผ่านการศึกษาแต่ละช่วงชั้น การประเมินดังกล่างจะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการฝึกฝนให้มีความสามารถในเรื่องดังกล่าวอันเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในทุกด้าน

เห็นสมควรแต่งตั้งบุคลากรต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการดำเนินการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนสื่อตามดังนี้

1. นางกิติมาศ จันทร์ศิริ ประธานกรรมการ

2. นางวิไลลักษณ์ เหนี่ยวผึ้ง กรรมการ

3. นางบุญรักษ์ จักรสิทธิ์ กรรมการ

4. นางประไพ ทองพัฒน์ กรรมการ

5. นางสมพร ครุฑศรัทธา กรรมการ

6. นางบุญเรือน พงษ์ปรีชา กรรมการ

และให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานดังนี้

1. กำหนดแนวทางในการพัฒนาและการประเมินความสามารถ การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อตามความหมายของผู้เรียน

2. ดำเนินการประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อตามของผู้เรียน

3. ตัดสินผลการพัฒนาความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียนสื่อความของผู้เรียนรายปี / รายภาค และการผ่านช่วงชั้น

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่….. มิถุนายน 2545

( นายมนัส ศรีเพ็ญ )

ผู้จัดการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

 

กลับหัวรายการ