วิเคราะห์แนวทางพัฒนาพื้นที่สัมมาชีวศิลปบางพระ

เสนอโดยนายมนัส ศรีเพ็ญ กรรมการเลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ

 

            บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนที่ได้รับผิดชอบงานบริหาร ทั้งตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป กรุงเทพฯ และกรรมการเลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ โดยไม่ขอรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนส่วนตัวใดๆ มาเป็นเวลากว่า 25 ปี ได้พบเห็นการดำเนินงานในอดีตและนำสภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมปัจจุบัน มาวิเคราะห์แนวทางพัฒนาพื้นที่สัมมาชีวศิลปบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ จังหวัดชลบุรี โดยยึดประณิธานของคณะผู้ก่อตั้งสัมมาชีวศิลปมูลนิธิมาเป็นสำคัญ ก็เพื่อขอรับฟังความเห็นจากผู้ศรัทธาอุปการะและประชาชนทั่วๆไปได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็นก่อนที่จะนำเข้าเสนอคณะกรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ได้ให้ความเห็นชอบและนำออกเป็นยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการพัฒนาพื้นที่และการบริหารกิจการของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิต่อไป

หลักการและเหตุผล

 

วัตถุประสงค์สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เป็นองค์กรสาธารณกุศล, จัดตั้งโรงเรียนโดยไม่แสวงหากำไรจากการจัดการศึกษาและอุปการะบุคคลให้ได้ประกอบสัมมาอาชีพซึ่งจัดว่าเป็นอาชีพตามหลักของพระพุทธศาสนา, สามารถรวมตัวจัดตั้งเป็นนิคมชาวพุทธ หมู่บ้านจะมีที่ดินทำการเกษตรกรรมโดยมุ่งให้เลี้ยงตัวเองได้อย่างเป็นสุข , มีโรงเรียน, มีวัดหรือสำนักสงฆ์....
ปัจจุบันพื้นที่โรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลปบางพระ มีเนื้อที่ 57 ไร่ เป็นพื้นที่อาคารและบริเวณที่ใช้สอยในการจัดการศึกษาตามตราสารโรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลปบางพระเพียงประมาณ 15 ไร่ เป็นพื้นที่บ้านพักทั่วๆไปประมาณ 2 ไร่ เป็นพื้นที่สวนมะพร้าวประมาณ 5 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วๆไปเป็นที่ว่างดงหญ้าคา และปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ได้ผลผลิตอีกประมาณ 35 ไร่ ซึ่งการบำรุงรักษาพื้นที่จากการตัดหญ้า และค่าจ้างเจ้าหน้าที่ดูแลภูมิทัศนีย์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมต้องใช้งบประมาณเกินความจำเป็นต่อการใช้ประโยชน์มายาวนานหลายสิบปี.....

 

          การจัดการศึกษา พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา 8 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ( 2 ) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

          มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ( 6 ) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
          มาตรา 44 ให้สถานศึกษาเอกชนตามมาตรา 18(2) เป็นนิติบุคคล......

         การบริการผู้สูงอายุจากภาครัฐบาล
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
  ให้หน่วยราชการดำเนินการ ภายใต้พ.ร.บ.ผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ.2546
กระทรวงสาธารณสุข
ให้บริการเริ่มวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2555 เช่น เปิดช่องบริการด่วน 70 ปี ไม่มีคิวทุกจุดบริการ >>>> จัดบริการสายด่วน 1669 จัดรถพยาบาลนำส่งโรงพยาบาลฟรีทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการวันอนามัยโลกของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติให้ใช้คำขวัญเป็นภาษาไทยว่า "ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน"
กระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมให้หน่วยงานสถานศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนแก่ผู้สูงอายุ
กระทรวงวัฒนธรรม อำนวยความสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ในสถานที่ด้านศาสนา,ศิลปะและวํฒนธรรม
กระทรวงแรงงาน ให้สำนักจัดหางานทุกแห่งให้มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาและจัดอบรมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านประกอบอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงการคลัง ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยดูบิดามารดา
กระทรวงคมนาคม ให้ส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งธารณะอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยและลดอัตราค่าโดยสาร

กระทรวงยุติธรรม ให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นหน่วยงานหลักให้บริการผู้สูงอายุด้วยความสะดวกรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้สูงอายุทางกฎหมาย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กรมอุทยานแห่งชาติให้การยกเว้นค่าบริการผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
กระทรวงมหาดไทย จ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพและอำนวยความสะดวกในอาคาร แก้ผู้สูงอายุ กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา กำหนดให้หน่วยงานอำนวยความสะดวกและลดอัตราการใช้บริการแก่ผู้สูงอายุ ฯลฯ

 

มูลเหตุ ข้อเสนอการจัดตั้งโครงการ บ้าน วัด โรงเรียน ( บวร )

       พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง “ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้ามีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าอะไรต้องพอเพียงหมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข ”

       ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จัดประชุมเสนอบทความทางวิชาการที่อาศัยฐานแนวคิดเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากโอกาสการปันผลทางประชากร และเพื่อป้องกันมิให้โอกาสนั้นกลายเป็นภัยคุกคามบั่นทอนความ สามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทย เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของประชากร พบว่าทั่วราชอาณาจักรมีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กลดลงจากร้อยละ 24.65 ในปี พ.ศ. 2543 เป็นร้อยละ 17.95 ในปี พ.ศ. 2568 สำหรับสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุนั้นพบว่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.43 ในปี พ.ศ. 2543 เป็นร้อยละ 19.99 ในปี พ.ศ. 2568  พบว่าจากที่มีอยู่ 8 ภาคนั้น มีเพียง 2 ภาค (คือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภาคใต้) ที่มีอัตราเจริญพันธุ์สูงกว่าระดับทดแทน ซึ่งภาคใต้มี อัตราเจริญพันธุ์สูงที่สุด (2.25)
โดยกรุงเทพมหานครมีอัตราเจริญพันธุ์ตํ่าที่สุด (
1.17) คนเมืองมีปัญหาความเครียดจากสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน มลพิษต่างๆ เกิดโรคมากตายเร็ว

ประเด็นที่ควรศึกษาเพิ่ม เติมน่าจะอยู่ที่ว่า หากประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้นตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกลุ่มประชากรเพศหญิงซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุยืนยาวกว่าประชากรเพศชายอยู่แล้วนั้น คาดหมายเฉลี่ยของประชากรเพศชายอายุ 60 ปีสูงขึ้นจาก 16.33 ปี ในปี พ.ศ. 2543-2548 เป็น 18.62 ปีในปี พ.ศ. 2563-2568 ประชากรเพศหญิงอายุ 60 ปี เพิ่มขึ้นจาก 19.41 ปี พ.ศ. 2543-2548 เป็น 21.94 ปีในปี พ.ศ. 2563-2568

ในระยะเวลาอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้านั้น การลดลงทั้งภาวะเจริญพันธุ์ และภาวะการตาย จะมีผลให้ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ มีโอกาสในการยกระดับมาตรฐานการครองชีพขึ้นอย่างน่า สนใจ นักเศรษฐศาสตร์เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ว่า “การปันผลทางประชากร”(Demographic dividend) คือสังคมจะได้ประโยชน์จากผู้สูงอายุที่ทำงานอาสาสมัคร เสียสละมากขึ้นจากคลังปัญญา โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสูง แต่เกิดผลผลิตสูงต่อต้นทุนการผลิตต่ำ

ดังนั้น นโยบายที่น่าจะเตรียมการเพื่อรองรับ ช่วงเวลาระหว่างและช่วงหลังการปันผลทางประชากร คือ การมีตลาดแรงงานที่ยืดหยุ่น ( ผู้สูงอายุควรหยุดพักการทำงานด้านการบริหารตรง ปล่อยวางตำแหน่งให้กับคนรุ่นใหม่ ) สร้างแรงจูงใจ ในการลงทุนและการออม มีการจัดเตรียมด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษาพัฒนาที่มีคุณภาพสูง ทั้งนี้เพราะช่วงการปันผลทางประชากรที่กล่าวถึงนี้จะเกิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากประเทศนั้นๆไม่ได้ ใช้ช่วงเวลาการปันผลทางประชากรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โอกาสดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นภาวะคุกคาม หากสัดส่วนประชากรสูงอายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ( ยังคงยึดครองตำแหน่งแรงงานไว้ จะเกิดผลผลิตลดลงแต่ต้นทุนสูง ) ในขณะที่สัดส่วนประชากรวัยแรงงานที่เริ่มลดลงโดยประสิทธิผลต่อประชากรไม่ได้เพิ่มขึ้น ก็น่าที่จะส่ง ผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากงบประมาณที่จะดูแลประชากรสูงอายุจะสูงมาก ซึ่งหลายๆประเทศที่พัฒนามีปัญหา.....

บทความหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
 “
ถึงเวลาแก้ไขชราวิกฤติ ” [ 6 ต.ค. 50 ]
เนื่องในโอกาสวันผู้สูงอายุระหว่างประเทศ
เมื่อวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา มี เสียงเรียกร้องจากหลายฝ่าย รวมทั้งนักวิชาการและองค์กรต่างๆ ให้รัฐบาลวางแผนจัดทำแผนกองทุนเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เนื่องจากบัดนี้ ปัญหาผู้สูงอายุของประเทศไทยได้กลายเป็นภาวะวิกฤติแล้ว เพราะมีผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ถึง 10% จะเพิ่มขึ้นเป็น 12% ใน 13 ปี และเพิ่มขึ้นเป็น 23% หรือมีคนแก่ถึง 28 ล้านคน ใน 28 ปี ข้างหน้า

มูลเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทย
ก้าวเข้าสู่สังคมชราภาพ และกลายเป็น “ ชราวิกฤติ ” คือความสำเร็จของการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดทำให้อัตราการเกิดลดลง ขณะเดียวกันอัตราการตายก็ลดลงด้วย เนื่องจากคนอายุยืนมากขึ้น เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ จึงมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และจะต้องพึ่งพาอาศัยครอบครัวหรือลูกหลานและรัฐในการเลี้ยงชีพในวัยชรา ถ้าหากเป็นสังคมในอดีต เรื่องนี้ก็อาจจะไม่กลายเป็นปัญหาที่รุนแรง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่อยู่ในสังคมชนบท สังคมเกษตรกรรม และครอบครัวขยาย มีปู่ย่า ตายาย พ่อแม่และลูกหลานอยู่ในชายคาเดียวกัน และคนไทยเป็นชาวพุทธ ยึดถือหลักธรรม “ กตัญญูกตเวที ” คือหลักการที่ว่า เมื่อท่านเลี้ยงเรามาแล้วต้องเลี้ยงท่านตอบ
      แต่บัดนี้ สังคมไทยกำลังเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง และเป็นสังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น ครอบครัวได้เปลี่ยนไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น บรรดาลูกหลานต่างแยกย้ายออกไปตั้งครอบครัวของตนเอง ไม่มีเวลาหรือรายได้อย่างเพียงพอที่จะเลี้ยงดูผู้สูงอายุให้มีความสุขและความอบอุ่น จึงตกเป็นภาระของรัฐที่จะต้องดูแล เนื่องจากในบรรดาผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน 35 ล้านคน มีสวัสดิการ เช่น บำเหน็จบำนาญเพียง 13.7 ล้านคน แต่เป็นแรงงานนอกระบบราชการและประกันสังคม ถึง 22.7 ล้านคน จึงกลายเป็นปัญหาว่าคนส่วนใหญ่ เมื่ออายุมากขึ้นและจะต้องออกจากงาน จะไม่มี ระบบการเลี้ยงชีพในวัยชรารองรับ ส่วนหนึ่งอาจจะยังพึ่งพาอาศัยลูกหลานได้ แต่อีกส่วนหนึ่ง จะกลายเป็นคนอนาถา ไม่มีที่พึ่ง ต้องยึดคติ
“ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ” เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมถึงขั้นที่วิกฤติ บรรดาองค์กรที่เกี่ยวข้องจึงเรียกร้อง บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องวางแผนเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างเร่งด่วน แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะมีบทบัญญัติให้รัฐดูแลผู้สูงอายุให้มีปัจจัยในการเลี้ยงชีพ แต่ในภาคปฏิบัติก็ยังไม่มี ผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและเพียงพอ ก่อนที่จะกลายเป็นวิกฤติที่เลวร้าย.
จากข้อมูลของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) พบมีประชากรผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2551 ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป 7.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ11.1 ของประชากรทั้งหมด อายุคาดหมายการคงชีพ เมื่อแรกเกิด 71.7 ปี ประชากรอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุหญิงมีแนวโน้มอายุยืนยาวกว่า แต่เจ็บป่วยโรคเรื้อรัง ในขณะที่ผู้สูงอายุชาย มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิตทันที ผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการทำกิจวัตรประจำวัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุด คือ "ความรู้สึกเหงา" สูงถึงร้อยละ 51.2 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว รองลงคือ ปัญาหาไม่มีคนดูแลท่านเมื่อเจ็บป่วยร้อยละ 27.5 ปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15.7 และ ร้อยละ 5.3 ไม่มีลูกหลานมาช่วยแบ่งเบาภาระภายในบ้าน

----------------------------------------------------

ข้อเสนอแนะให้จัดทำโครงการ
“ ชุมชนพุทธนิคมสัมมาชีวศิลป
”
" ชุมชน บวร ดำรงชีพ สัมมาชีวศิลป "

 

      ปัญหาการพัฒนาทรัพยากรและสังคมของประเทศไทย ถูกครอบงำและชี้นำจากผู้มีอำนาจการปกครองในอดีต ที่ฉลาด เฉโก ได้ร่วมสร้างวัฒนธรรมประเพณีการเชื่อผู้นำและเทพพระเจ้า , การจัดการศึกษาที่ดูหมิ่นศีลธรรม ยกย่องการเอาชนะแข่งขันระหว่างชนชั้น และการแบ่งแยกฐานะทางความรู้และความเป็นอยู่ของประชาชน ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน,

( คนเมืองหลวงกลุ่มเล็กๆเท่านั้นที่สืบต่อกันขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง จนกล่าวกันว่าประเทศเหมือนคนหัวโตตัวลีบ ) การสื่อสารมวลชนไม่ยึดหลัก อริยมรรค คือองค์ 8 ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงกลายเป็นสื่อลวงโลกที่เห็นอยู่ปัจจุบันมากมากมาย.........    

      แนวทางการพัฒนาทรัพยากรและสังคมของประเทศไทย  น่าจะเริ่มจากกลุ่มประชาชนกลุ่มเล็กๆ แบบครอบครัว ที่สามารถออกแบบการปกครอง, การให้ความรู้การศึกษาและการจัดระบบการสื่อสาร เพื่อรวมตัวกันคำรงชีพ สร้างความสุขที่ยั่งยืนและเป็นการเผยแผ่ต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ  ให้เป็นไปตามอริยมรรค โดยการจัดตั้ง“ ชุมชนพุทธนิคมสัมมาชีวศิลป” คือ การบริหารและปกครองในชุมชน  ประกอบด้วย บ้าน วัด โรงเรียน ( บวร )

 

       เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ก่อตั้งสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เรื่องจัดตั้งเป็นนิคมชาวพุทธ มีหมู่บ้านกสิกรรม, มีโรงเรียน, มีสำนักสงฆ์ บนที่ดิน 57 ไร่ ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ให้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนดังนี้  

( ดูภาพถ่ายจากดาวเทียม )

 

 

1. พื้นที่ส่วนของโรงเรียน มีพื้นที่ตามแนวถนนด้านทิศเหนือเริ่มตั้งแต่ถนนทางเข้าประตูใหญ่ ไปจนถึงอาคาร 3 ชั้นและบ้านพักครูไปสุดประตูด้านหลัง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ได้จัดทำตราสารเป็นนิติบุคลตาม พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน พ.ศ.2550 การบริหารจัดการให้เป็นไปตามตราสารและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ.

2. พื้นที่ส่วนบริเวณรอบศาลาทรงไทยที่ด้านหลังมีต้นไทรใหญ่ เหมาะต่อการจัดตั้งสำนักสงฆ์โดยการควบคุมของเจ้าอาวาสจากวัดใด วัดหนึ่งที่สนับสนุนจะส่งพระนักเผยแผ่มาอยู่ในช่วงออกพรรษาเพื่อเป็นครูพระ จะใช้พื้นที่รอบๆประมาณ 1 ไร่ ( ปัจจุบันทรุดโซมยังไม่ได้ซ่อมรักษาหรือดำเนินการ )

3. พื้นที่บ้านชมอุทิศ..และบริเวณรอบบ้าน ประมาณ 1 ไร ให้เป็นสถานที่พักรับรองสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับมูลนิธิหรือโรงเรียน ได้พักค้างคืน ชั้นล่างไว้จัดตั้งสำนักงานบริหารหมู่บ้านและประชุมสัมมนาทั่วๆไปและด้วยมีตู้พระเก็บหนังสือพระไตรปิฎก.และสื่อวิดีทัศน์ที่จัดเป็นห้องเรียนรู้พิเศษให้กับนักเรียนปัจจุบันได้ใช้....
4  พื้นที่ส่วนหมู่บ้านชุมชน  เรียกว่าชาวพุทธเกษตรยั่งยืน   จัดสรรพื้นที่ด้านทิศใต้ต่อจากด่านหลังศาลาพระพุทธรูปที่อยู่ด้านขวามือจากประตูทางเข้าเป็นแนวยาวไปตามถนนภายในด้านทิศใต้ มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ แบ่งออกแปลงละ 50 ตารางวา ต่อบ้าน 1 หลัง จะได้บ้าน 64 หลัง ( เป็นส่วนโครงการเบื้องต้นตามข้อเสนอนี้ หากมีผู้ศรัฑธาสนใจนโยบายนี้ ก็จะเป็นไปตามที่นำเสนอไว้นี้

5. พื้นที่ส่วนกลางของพื้นที่ทั่วๆไปอีกประมาณ 30 ไร่ เป็นส่วนกลางของโครงการพัฒนาสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ  อดิตพื้นที่เป็นดงญาคามูลนิธิต้องเสียค่าบำรุงสิ่งแวดล้อมปีละ 2แสนกว่าบาท อีกเคยมีปัญหาช่วงปี 2537 มีผู้ขัดแย้งเข้าไปเผารถที่จอดไว้ใต้บ้านชมอุทิศที่อาจารย์ศรีนครฯ ลงไปร่วมงานครบรอบอายุ 60 ปีคุณสารวิบุลฯ ที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันจึงอนุญาตให้ผู้ทำเกษตรกรรมเข้ามาใช้โดยไม่เป็นการเช่า..แล้วแต่หากมีรายได้ก็บริจาค....ซึ่งสามารถลดค่าบำรุงรักษาไปส่วนหนึ่ง......อนาคตจะจัดทำศูนย์อำนวยการบริการสาธารณะและกสิกรรม  เช่น จัดสร้างอาคารนิทัศน์การประวัติสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ในอดีต, ศาลาปฏิบัติธรรม, สำนักงานอนามัยและสาธารสุข, ร้านสหกรณ์, สวนสมุนไพรและพืชไร่เกษตรตัวอย่าง หรือกสิกรรม อื่นๆ ที่เป็นสาธารณะประโยชน์ให้กับสังคมภายนอกได้มาใช้บริการเป็นต้น.......

 

สามเหลี่ยมมิติความรัก

 



บริเวณสีเทา
(รูปสามเหลี่ยมตรงกลาง) คือ ความต้องการส่วนเกิน ที่มนุษย์ต่า
งแสวงหามาเพื่อตนได้เสพสมใจ ถ้าไม่สมใจก็จะเกิดความไม่สบายใจ รู้สึกอึดอัด เพื่อลดทอนความไม่สบายใจ จึงต้องมีการวิ่งแสวงหาสิ่งที่ใคร่อยากนั้นมาเสพ เพราะรักตัวตนมากกว่าผู้อื่น ( ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีความรักในมิติที่สูงขึ้นมากเพียงไร ความต้องการส่วนเกินจะลดลงตามอัตราส่วน )

บริเวณสีเหลือง (บริเวณสีเหลืองรูปตัววีคว่ำ) คือ ปัจจัยสี่และความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย เป็นความต้องการพื้นฐาน ที่มนุษย์ทุกคนยังต้องการอยู่ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่เนื่องด้วยชีวิต หาไม่แล้วหากขาดมันไปอาจทำให้ไม่มีชีวิตอยู่รอด ตลอดจนพิธีการทางสังคมที่สร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย เช่น มาตรฐานความปลอดภัยในด้านอาหาร อากาศ สุขภาพ ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม และภัยจากอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น ในที่นี่สมมุติให้มีค่าไม่ต่างกัน

ความรักในมิติ ที่ยังเกาะยึดกับบริเวณสีเหลืองและสีเทา ยิ่งมีปริมาณมากเท่าไร ก็จะทำให้ปริมาณของ ความรักเพื่อผู้อื่น ซึ่งเป็นบริเวณสีขาว ยิ่งมีปริมาณน้อยลงเท่านั้น หรือในทางกลับกัน ความรักในมิติที่เกาะยึดกับบริเวณสีเหลืองและสีเทา ยิ่งมีปริมาณลดน้อยลงเท่าไร ก็จะส่งผลให้ปริมาณของ ความรักเพื่อผู้อื่น มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้น พื้นที่บริเวณขาว  จึงหมายถึง เวลา และพลัง (กรรม และ กาละ) ของบุคคลผู้นั้น ที่จะถ่ายเทออกมาให้เกิดประโยชน์แก่สิ่งรอบข้าง ในรูปของ แรงงาน ปัญญา ความคิด การพูด การกระทำ ที่เสียสละ ไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ เพราะไม่ต้องการสิ่งใดๆ มาสนองตอบหรือบำเรอตนเองอีกแล้ว นอกจากความต้องการพื้นฐาน (บริเวณสีเหลืองรูปตัววีคว่ำ) 

          ความรัก คือ "ความเผื่อแผ่ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล"  อาการชอบใจ ผสมความยินดี ที่พร้อมกับ มีความปรารถนาดี อย่างสัมมาทิฏฐิ หากใคร ปฏิบัติพัฒนา "อาการชอบใจ ผสมความยินดี ที่ไม่เห็นแก่ตัวเลย มีแต่เต็มไปด้วย ความเมตตา หรือ ปรารถนา ให้ผู้อื่นได้สุข" หรือ "มีแต่ความเผื่อแผ่ของตน เสียสละแก่ผู้อื่น" ให้เจริญสูงสุด จนเกิดจริง เป็นจริง ได้เท่าใดๆ ผู้นั้นก็คือ ผู้ได้สร้าง "ความรัก" ที่ใหญ่ยิ่ง ประเสริฐสุดๆ

สมการสัจธรรมในการแสวงหาความสุข

มีนักเศรษฐศาสตร์,นักปกครอง,นักการศาสนา จะมีความเห็นตรงกันในสมการของความสุขไว้ดังนี้  

                  รายได้หรือทรัพย์สินที่มี

ความสุข =  ----------------------------                    

                     ตัณหาความอยากได้

โดยเรามาดูกลุ่มคนในสังคมว่าเป็นอย่างไร?

กลุ่มที่ 1 กลุ่มคนมีรายได้ มีรายได้หรือทรัพย์สินมากมาย หรือที่เรียกว่า เศรษฐี นั้น สมมุติว่าเขามี ทรัพย์สิน = 100 หน่วย หารด้วยความต้องการหรือตัณหาสักครึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งสิ้น คือให้ = 50 หน่วย

ถามว่าเขาจะมีความสุขเท่าใด ความสุข = 2 หน่วย

กลุ่มที่ 2 กลุ่มคนชั้นกลาง สมมุติให้มีทรัพย์สินน้อยกว่าเศรษฐีครึ่งหนึ่ง คือเท่ากับ 50 หน่วย มีความต้องการเท่ากับ 25 หน่วย              

ถามว่าเขาจะมีความสุขเท่าใด ความสุข = 2 หน่วย

กลุ่มที่ 3 กลุ่มคนยากจนมีทรัพย์สมบัติน้อย สมมุติมีอยู่เพียง 10 หน่วย มีความต้องการ 5 หน่วย คนจนมักมีการปรับตัวให้สมถะจนมีนิสัยสืบต่อกันมาตั้งแต่เกิด แบบที่เรียกว่าจนแล้วต้องเจียม ไม่ใช่เห็น ช้างขี้ก็ขี้ตามช้าง หรือรสนิยมสูง รายได้ต่ำ แต่เขาเหล่านั้นต่างก็มีความสุขได้ดังสมการนี้

ถามว่าเขาจะมีความสุขเท่าใด ความสุข = 2 หน่วย

ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าความสุขจะมีได้เท่าเทียมกันหมดทั้งเศรษฐีและคนยากจน, สังคมปัจจุบันสอนให้แย่งชิงแสวงหาทรัพย์สินหรือวัตถุ โดยสร้างความต้องการหรือตัณหา เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุ เท่ากับเพิ่มตัณหา ไม่รู้จักคำว่า "พอ" ทำให้เป็นทุกข์ ที่อาจล้มเหลวไม่สมหวังก็ได้

พุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนให้ทุกคนพยายามลดตัณหา เพื่อเพิ่มพูนความสุขให้มากขึ้นและทำได้ทันทีด้วยตนเอง.

นโยบาย “ ชุมชนพุทธนิคมสัมมาชีวศิลป์ ” ตัวอย่าง  

       สิ่งแวดล้อมดี...... พื้นดินสมบูรณ์, ไม้ร่ม, น้ำใส ไฟสว่าง ทางปลอดภัย, ลมเย็น, วิวสวย,

จัดตั้งพุทธสหกรณ์...  ธุรกิจการค้า, การกสิกรรม, การเกษตร, การอบรมสัมมนา, การเงินและธนาคาร, การสาธารณสุข, การอุปโภคบริโภค, การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาและติดตามประเมินผล.          

สังคมดี....  เพื่อนบ้านดี  มิตรดี  ผู้ร่วมอยู่ดี รวยน้ำใจ, ให้อภัยเป็นทาน  เบิกบานในธรรม, ซึ้งกรรมซึ้งเวร,  เลี้ยงง่าย, บำรุงง่าย, มักน้อย, พึ่งตนเองได้, มีศีลเคร่ง, ไม่สะสม, ไฝ่เรียนรู้, ยอดขยัน แรงงานฟรี ปลอดหนี ไม่มีดอกเบี้ย เฉลี่ยรายได้เข้ากองทุน ......

 
        ลักษณะพึงประสงค์ของคนในชุมชน.........

- เป็นสังคมที่ผู้อื่นเห็นชัดว่าเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรม

 - เป็นสังคมสามารถพึ่งตนเองได้  ไม่เป็นภาระผู้อื่น

- มีการงานที่เป็นสัมมาอาชีพ มีกิจการเป็นสาระมั่นคง

- เป็นผู้สร้างสรรค์ ขยัน กระตือรือร้น

- สุขภาพจิตร่าเริง เบิกบาน สดชื่น  

- มีความประณีต ประหยัด เอื้อเฟื้อ สะพัดแจกจ่าย

- ไม่ฟุ้งเฟือ ไม่ผลาญพร่า สุรุ่ยสุร่าย

- ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีอบายมุข ไม่มีทุจริต

- มีความรักพร้อมเพรียง สามัคคี อบอุ่นเป็นเอกภาพ

- มีสุขภาพกายแข็งแรง กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา เดินวันละ 3,000 ก้าว

- อุดมสมบูรณ์แต่ไม่สะสม ไม่กักตุน ไม่กอบโกย ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น

- มีน้ำใจไม่เอาเปรียบ เสียสละอย่างเป็นสุข ช่วยเหลือสงเคราะห์เห็นคุณค่าผู้อื่นตามกาล

 

กลุ่มเป้าหมายสร้างชุมชน

  กลุ่มที่ 1  แบ่งพื้นที่ให้กับบุคคลพุทธมามกะ สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ต้องการแสวงหาความสันโดษและศรัทธา  เพื่อรวมตัวเป็นกลุ่มผู้บำเพ็ญประโยชน์ตามนโยบายของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ (ตามแนวพัฒนาประชากรสูงอายุ ที่มักเกิดอาการซึมเศร้า และหลีกหนีสังคมสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษจากสังคมเมืองมาอยู่ในพื้นที่บริสุทธิ์ ปราศจากการเป็นผู้อมโรค " กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา เดินวันละ3,000 ก้าว มีจิตใจเปิกบานแจ่มใส " อย่างมีความสุข )  ลงทุนส่วนตัวสร้างบ้านพักตามแบบที่ตนประสงค์ และยกให้เป็นสมบัติของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ทันที่ที่ปลูกสร้าง
      โดยผู้บริจาคสามารถครอบครองอยู่อาศัยในบ้านที่ตนสร้างจะทำสัญญาให้อยู่อาศัยได้ตลอดชีวิตและให้ผู้อื่นหรือรับอุปการะนักเรียนเข้ามาร่วมพักได้ สำหรับพื้นที่่รอบบ้านให้ทำ กสิกรรมหรือสวนเกษตรพืชกินได้ตามที่ตนถนัดและต้องการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละบุคคล ฯ ซึ่งต่อไปคนเหล่านี้ซึ่งมีภูมิความรู้ความสามารถที่หลากหลาย ถือเป็นคลังสมอง
อาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหารชุมชนพัฒนาพื้นที่หรือกิจการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ฯ หรือ เป็นอาสาสมัครตัวแทนคณะกรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ดูแลบริหาร  บ้าน วัด โรงเรียนต่อไป  

     กลุ่มที 2 รับประชาชนทั่วไปเข้าเป็นเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา เป็นแรงงานทั่วๆไป โดยรับเงินเดือนตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนพัฒนา จะได้รับการดูแลจากกองทุนพัฒนาชุมชนสัมมาชีวศิลป ด้วยปัจจัย 4 คือ อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย, และยารักษาโรค ไปตลอดชีวิต ซึ่งนับเป็นผู้หาได้ยาก แต่เขาเหล่านั้นจะเป็นสังคมตัวอย่าง หลุดจากคำว่าความยากจน อดหยาก ที่พระพุทธเจ้าสอนว่านี้ละ ทางอริยมรรค สู่ความดับทุกข์ ( ดำรงตนเยี้ยงพระสงฆ์ )

คุณสมบัติของแรงงานอาสาพัฒนา ฯ

1 เป็นบคคลหรือครอบครัวที่ไม่มีที่อยู่เป็นของตน.
2 รักษาศีล 5
3 กินอยู่หลับนอนเรียบง่าย
4 เว้นขาดจากอบายมุขทุกชนิด
5 อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้ำใจ ขยัน ร่าเริงแจ่มใส
6 สละเวลา- แรงงานที่ตนถนัด เพื่อประโยชน์ของชุมชน ฯ
7
ยอมรับนโยบายและกฎระเบียบของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
8 เข้าร่วมประชุมสังสรรค์ ของหมู่กลุ่มเสมอ

สิ่งที่คาดหวังต่อการทำโครงการชุมชนพุทธนิคมสัมมาชีวศิลป

จะทำให้วัตถุประสงค์และปณิธานของผู้ก่อตั้งสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ที่ยังไม่เห็นรูปธรรมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 60 ปี ได้ดำเนินไปอย่างมั่นคงและเป็นหมู่บ้านตัวอย่างด้านความรู้รักสามัคคีดังนี้

1.     ด้านการจัดตั้งโรงเรียน ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและให้ค่าตอบแทนบุคลากรเป็นไปตาม พรบ.การศึกษาเอกชน และคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นนิติบุคคลจะกำหนด......
ตัวอย่างการจัดการศึกษาทางเลือกใหม่โดยชุมชนเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ....
เป็นที่ยอมรับจากประชาชน, ได้รับความช่วยเหลือการบริหารและการเรียนการสอนจากบุคคลในสังคมอย่างกว้างขวาง.....
บุคลากรโรงเรียนจะมีกัลยาณมิตรช่วยเหลือยกย่องมากมายและมีความสุขจากการประกอบสัมมาอาชีพ

2.     ด้านส่งเสริมพระพุทธศาสนา
เปิดโอกาสให้พระภิษุสงฆ์ได้เผยแผ่พระธรรมอันเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณแก่คนในชุมชนและนักเรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมมั่นคงในการรักษาตนหลังจากผ่านการปลูกฝังให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จากการศึกษาในโรงเรียนฯ

3. ด้านอุปการะบุคคลให้ได้ประกอบสัมมาอาชีพตามหลักของพระพุทธศาสนา เข้ามารวมตัวเป็นเจ้าหน้าที่อาสาพัฒนาทำงาน ตามความสามารถรายบุคล ที่มีอิสรภาพในการเลือกทำหน้าที่และไม่ต้องวิตกกังวนในการดำรงชีวิตและมีความสุข....

4. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประชากรและสังคมไทย ให้มีโอกาสในการยกระดับการครองชีพช่วงสูงวัยขึ้นอย่างน่าสนใจ ที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ว่า “การปันผลทางประชากร” (Demographic dividend) คือสังคมจะได้ประโยชน์จากผู้สูงอายุที่อาสาบริหารกิจการต่างๆ เสียสละแรงงานมากขึ้นจากคลังปัญญา โดยผู้สูงอายุที่ต่างสาขาอาชีพและประสบการณ์เมื่อเข้ามาสร้างบ้านพักอาศัย ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารโครงการ  เป็นการระดมผู้มีประสบการณ์ ( คลังสมอง ) ได้ทำคุณประโยชน์คืนสังคมยามช่วงวัย แห่งการแสวงหาความสุขจากสังคมใหม่  โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสูง เกิดผลผลิตสูงต่อต้นทุนการผลิตต่ำ

5. เป็นการส่งเสริมการดำเนินการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ให้เป็นองค์กรสาธารณกุศลของมหาชนส่วนรวมอย่างแท้จริง และเป็นชุมชนตัวอย่าง ส่งเสริมให้พัฒนาชุมชนในประเทศให้มีจำนวนมากขึ้น จนเป็นอำเภอและจังหวัดต่อไป  อันจะทำให้เกิดความเชื่อถือศรัทธายกย่อง เกิดขึ้นมากมายจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้การสนับสนุนการขยายแนวทางสงเคราะห์ให้สืบทอดยาวนานสืบไป

 

กลับไปหน้าหลักเว็ปไซตสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ `