ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลของโรงเรียนเอกชนในระบบ

โรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป บางพระ

 

หมวดที่ ๑

ชื่อ ประเภท  ระดับการศึกษา

ข้อ ๑.     โรงเรียนนี้ชื่อว่า     “ มัธยมสัมมาชีวศิลป บางพระ”

                 เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า  Sammajivasilpabangpha School ( School For Education in

               the Art of Living)

( ๑ )   โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนเอกชนในระบบ เปิดสอนประเภทสามัญศึกษา

( ๒ ) โรงเรียนนี้จัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา  มัธยมศึกษา

( ๓ )  ความจุนักเรียนสูงสุดจำนวน  ๕๒๕  คน

 ( ๔ )   ในตราสารนี้

“ ผู้รับใบอนุญาต”  คือ  สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ

“ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต”  คือประธานกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิโดยตำแหน่ง

“ ผู้จัดการ”  คือ  ผู้จัดการโรงเรียนที่ได้รับการแต่งตั้งตามตราสารนี้

“ ผู้อำนวยการ”  คือ  ผู้อำนวยการที่ได้รับการแต่งตั้งตามตราสารนี้

“ ครู”  หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน
 “ ผู้ปกครอง”  หมายถึง  บิดา มารดา หรือผู้ทำหน้าที่แทนบิดา มารดาของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่

“ พนักงาน”  หมายถึง  พนักงานและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานประจำ หรือชั่วคราวในโรงเรียน

 

ข้อ ๒.   โรงเรียนตั้งอยู่ที่  หมู่ที่ ๑ ถนนเลียบอ่างเก็บน้ำบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๑๐    โทรศัพท์และโทรสาร  ๐๓๘ ๓๕๗๒๗๒  E-mail :  schoolbangpha@yahoo.com   

 

 ข้อ ๓     เครื่องหมาย/ตราของโรงเรียนนี้คือ รูปบัวสี่เหล่ากลางน้ำ มีพระอาทิตย์ส่งรัศมีอยู่ในวงกลมในชั้นนอกมีข้อความรอบวงกลม “โรงเรียนสัมมาชีวศิลป บางพระ”  “ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราช อักษรย่อว่า   ... 

 

        

 

ข้อ ๔. รายละเอียดแผนผังแสดงบริเวณและอาคารของโรงเรียนปรากฏตามเอกสารแนบท้ายตราสารจัดตั้งโรงเรียน

                                                                              หมวดที่  

วัตถุประสงค์

 ข้อ ๕.                   โรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป บางพระ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

( ๑ )   ดำเนินการกิจโรงเรียน ตามวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิเพื่ออุปการะเยาวชนและอุปการะบุคคลให้ได้รับการศึกษาและประกอบสัมมาอาชีพ ตามคติของพระพุทธศาสนา

                 ( ๒ )  จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษาในระบบ ตามหลักสูตรระดับต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ระดับเตรียมอนุบาล, ปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา

                 ( ๓ )    ให้การศึกษาอมรมเน้นหนักทางธรรมะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ตลอดจนอบรมให้รักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย

 ( ๔ )   ให้การศึกษาอบรม เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ให้นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างมีความสุข

                 (  ๕ )   ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนแก่ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรของโรงเรียน

                 ( ๖ )  ส่งเสริมความเป็นเอกภาพและความรับผิดชอบร่วมกันผู้เรียน, ผู้ปกครอง, ครู  อย่างเป็นรูปธรรม

                 ( ๗ )  ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 ( ๘  )  อุปการะนักเรียนที่ยากจน ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้มีโอกาสรับการศึกษาจากโรงเรียน

 ( ๙  )   ส่งเสริมสวัสดิการแก่ครู  นักเรียน และพนักงานของโรงเรียน เพื่อให้เกิดความสำนึกดีในการประกอบสัมมาอาชีพ

 ( ๑๐ )   ให้บริการอื่นเพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือร่วมมือในกิจกรรมการพัฒนาชุมชน องค์กรอื่น

( ๑๑ )   ไม่ดำเนินกิจการในทางแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ เพื่อต้องการให้ได้มาซึ่งกำไรทางธุรกิจ

 

 

                                                                            หมวดที่ ๓

    ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

 

ข้อ ๖.     ทรัพย์สินของโรงเรียนทุนเริ่มแรกคือ ทุนสำรองเริ่มแรกที่ได้รับจากสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ฯ

                 ในส่วนผู้รับใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ..๒๕๕๐  คือ

               (  ๑ )    เงินสดตามบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาชลบุรี  บัญชีเลขที่ ๒๐๘-๑-๖๕๐๔๕-๒

                            จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท ( สามล้านบาทถ้วน )                                                

              (   )   ส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์

      ( ๒.๑ )    ที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงเรียนเนื้อที่ประมาณ   ๑๕      ไร่
                              โฉนดเลขที่  ๙๑๖๐  เลขที่ดิน ๒๓๖    พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้แก่

    ( ๒.๒ )   อาคารเรียน      หลัง  ๑๒   ห้องเรียน

    ( ๒.๓ )   อาคาร พักครูและคนงาน     จำนวน          หลัง

 ( ๒.๔ )    สนามบาสเกตบอล และสวนเกษตร
( ๓  )   ตามข้อ ๖  ( ๒ )    เป็นกรรมสิทธิ์ของ สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ
สำหรับจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิในวันหยุดราชการ และให้สิทธิเก็บกินแก่โรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดไปจนกว่าจะเลิกมูลนิธิฯ แต่ไม่น้อยกว่าสิบปี

         ( ๔ )   ทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ (  ราคาประมาณ  ๑๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท)

          ( ๕ )  เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
                   ( ๕.๑ )   สื่อการเรียนของเด็ก
( ตามบัญชีสื่อ )

                   ( ๕.๒ ) โสตทัศนูปกรณ์เพื่อการศึกษา ( ตามบัญชีโสตทัศนูปกรณ์ )       

                   ( ๕.๓ )    เครื่องคอมพิวเตอร์  จำนวน  ๒๓     เครื่อง

                   ( ๕.๔ )    เครื่องถ่ายเอกสาร  จำนวน            เครื่อง

                   ( ๕.๕ )    อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ (ตามบัญชีอุปกรณ์สำนักงาน)

                   ( ๕.๖ )    เครื่องเล่นสนาม( ตามบัญชีเครื่องเล่นสนาม )

                   ( ๕.๗ )   อุปกรณ์การประกอบอาหารและเครื่องครัว ( ตามบัญชีอุปกรณ์ครัว )

                   ( ๕.๘  )    หลักฐานเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนตามกฎหมาย เป็นต้น เช่นต้นขั้วใบสุทธิ รบ.  รบ.  ต ๒ ก  ตามบัญชีรายการเอกสารที่แนบ เป็นต้น
            รวมราคาทรัพย์สินทั้งหมดประมาณ  ๑๓,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (  สิบสามล้านบาทถ้วน  )

 

ข้อ ๗.    โรงเรียนอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้

( ๑ )   เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมใดๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้โรงเรียนสัมมาชีวศิลปต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาระผูกพัน           

( ๒  )  เงินค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่รัฐจ่ายให้แก่ผู้เรียน
( ๓  )   เงินที่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ

( ๔  )   เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นๆ

( ๕ )   เงินหรือทรัพย์สินที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้บริจาคกำหนดไว้

( ๖ )    เงินจากการบริการต่างๆ ของโรงเรียน เช่น การขายอาหาร ค่าขายเสื้อผ้าเครื่องใช้สำหรับนักเรียน การขายสิ่งพิมพ์ สื่อประกอบการเรียนการสอน ค่ารถโรงเรียน  การบริการด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  
              ( ๗ )  ดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สินของโรงเรียน

              ( ๘ )  รายได้จากการจัดงานอื่น
              ( ๙ )  รายได้เนื่องจากการขายผลผลิตของโรงเรียน
              ( ๑๐ )   เงินที่ได้จากการบริการที่เกี่ยวเนื่องแก่ผู้ปกครอง ครูและบุคคลกรในโรงเรียน

              ( ๑๑ )   รายได้ที่เกิดจากการบริหารทรัพย์สินในอนาคต 

 

 

หมวดที่ ๔

ที่ปรึกษา ผู้อุปถัมภ์และผู้อุปการะโรงเรียน

ข้อ ๘.    ให้มีที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร ผู้อุปถัมภ์ และ ผู้อุปการะโรงเรียน ดังนี้

( ๑ )   ให้กรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ทุกคนเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

( ๒ )   ให้กรรมการกิตติมศักดิ์ทุกคนของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ เป็นผู้อุปถัมภ์ของโรงเรียน

 ( ๓ )   ให้เจ้าของทุนบุญญนิธิ หรือ ทายาท เป็นผู้อุปการะโรงเรียนนี้อีกด้วย

 

หมวดที่ ๕

คณะกรรมการบริหารโรงเรียน

ข้อ ๙.     ให้มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป  ซึ่งประกอบด้วยบุคคลและตำแหน่งดังต่อไปนี้

๑.  ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต                                                         เป็นประธานกรรมการ

.  เลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ                                           เป็นกรรมการ

.  ผู้จัดการโรงเรียน                                                                  เป็นกรรมการ

. ผู้แทนผู้ปกครอง ๑ คน                                                                      เป็นกรรมการ

. ผู้แทนครู  ๑ คน                                                                                  เป็นกรรมการ

. ผู้ทรงคุณวุฒิ(อย่างน้อยหนึ่งคนแต่ไม่เกินสามคน)                       เป็นกรรมการ

๗. ผู้อำนวยการโรงเรียน                                                                      เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

หมวดที่ ๖

คุณสมบัติ การสรรหา และการพ้นจากตำแหน่ง
ของกรรมการบริหารโรงเรียน

 

ข้อ ๑๐.   กรรมการบริหารโรงเรียนมีคุณสมบัติดังนี้

(  ๑ )   มีสัญชาติไทย
(  ๒ )   มีอายุไม่ต่ำกว่า  ๒๕  ปีบริบูรณ์ 
(  ๓ )  มีความรู้และประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของโรงเรียน
(  ๔ )  ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย  คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(    )  ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาทหรือ

              ความผิดลหุโทษ
(    )    มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ไม่มีประวัติด่างพร้อยด้านการทุจริตประพฤติมิชอบ

 ( ๗ )   เป็นผู้เลื่อมใสศรัทธายึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

 ( ๘ )  เป็นนักพัฒนา เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ต่อบุคคลทั่วไปและเป็นผู้เสียสละสามารถอุทิศเวลาในการบริหารโรงเรียน

( ๙ )    เป็นผู้ศรัทธา สนับสนุน การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ

 

ข้อ ๑๑  ให้คณะกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการบริหารโรงเรียน ขึ้นคณะหนึ่งจำนวน ๓  คน ทำหน้าที่สรรหาผู้มีความรู้และความสามารถเป็นกรรมการบริหาร ในส่วนที่เป็น ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครองและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ เท่า เพื่อเสนอให้คณะกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เลือกให้เหลือตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ 

 

ข้อ ๑๒ กรรมการบริหารโรงเรียนที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี กรรมการบริหารที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งได้อีก

 

ข้อ ๑๓.  กรรมการบริหารของโรงเรียนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

                 ( ๑ )   ถึงคราวออกตามวาระ

                  ( ๒ )  ตายหรือลาออก

                  ( ๓ )  พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือเกษียณอายุการทำงานสำหรับผู้เป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง

                   ( ๔ )  ขาดคุณสมบัติตามตราสาร  ข้อ ๑๐

                  ( ๕ )  พ้นจากสถานภาพการเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่

                ( ๖ )  ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร

               ( ๗ )   ที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และคณะกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ  มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่ง หนึ่งของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ของทั้งสองคณะให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย หรือกระทำการให้เกิดความเสียหายแก่การดำเนินกิจการโรงเรียน

ข้อ ๑๔ ในกรณีที่กรรมการบริหาร ซึ่งมิใช่กรรมการโดยตำแหน่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้กรรมการบริหารที่เหลืออยู่ แต่งตั้งบุคคลอื่นผู้มีคุณสมบัติเป็นกรรมการแทน และ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยุ่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน

หมวดที่ ๗ 

 การประชุม และลงมติ                                           

 ข้อ ๑๕  คณะกรรมการบริหารโรงเรียนต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง

ข้อ ๑๖  ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการดำเนินการประชุม โดยการประชุม ต้องมีกรรมการมาร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม 

ข้อ ๑๗  ให้ประธานคณะกรรมการบริหารเป็นประธานในที่ประชุม  ถ้าประธานคณะกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งที่มาประชุมทำหน้าที่ประธานที่ประชุม

ข้อ ๑๘  การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงในการลงคะแนนหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ ๑๙ การประชุมเพื่อลงมติพิเศษให้กระทำโดยมีกรรมการบริหารโรงเรียนเข้าประชุมไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมการทั้งหมดและมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม

 

หมวดที่ ๘

อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน

ข้อ ๒๐. ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต  มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

                 ( ๑ ) เป็นผู้ทำการแทนโรงเรียนในการทำนิติกรรมกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก หรืออาจมอบ

                         หมายให้ผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการเป็นผู้ทำการแทนก็ได้

                ( ๒ )  เป็นประธานกรรมการบริหารโรงเรียน

ข้อ ๒๑.    ผู้จัดการ  มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

( ๑ )  ดูแลรับผิดชอบงานด้านการเงิน  การบัญชีและงบประมาณของโรงเรียนตามมาตรฐานการบัญชี

( ๒ ) ดูแลรับผิดชอบด้านการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียน เช่น วางระเบียบและควบคุมการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ด้านธุรการ  นักการภารโรง  คนงาน  คนครัว  คนขับรถ และแม่บ้าน โดยผู้จัดการร่วมกับผู้อำนวยการ ร่วมกันดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดซื้อ จัดจ้าง จัดการดูแลรับผิดชอบอาณาบริเวณ  อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนด้านรักษาความสะอาด  พัฒนาซ่อมแซมความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัย

 ( ๓ ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นอันเกี่ยวกับการบริหารงานตามตราสารจัดตั้ง  นโยบาย  ระเบียบ  และข้อบังคับ
          โรงเรียนและหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
                

( ๔ )  มีอำนาจสั่งจ่ายเงินในการบริหารกิจการตามหน้าที่ นอกเหนือจากงบประมาณปกติประจำ
         เดือน หรือตามที่คณะกรรมการบริหารได้อนุมัติ  ได้ครั้งละไม่เกิน ๕
,๐๐๐ บาท(ห้าพันบาท
          ถ้วน
)ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากประธานกรรมการบริหารเป็นครั้งคราว

( ๕ ) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

ข้อ ๒๒. ผู้อำนวยการ  มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

( ๑ )   ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิชาการของโรงเรียน

( ๒ )  แต่งตั้งถอดถอนครู  บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

( ๓  )  ควบคุมปกครองครู  บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน

( ๔ )  จัดทำทะเบียนครู  บุคลากรที่เกี่ยวกับการศึกษา  นักเรียนและเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการศึกษา

( ๕ )  จัดทำหลักฐานเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลการเรียน

( ๖ ) ปฏิบัติหน้าที่อันเกี่ยวกับวิชาการตามระเบียบและข้อบังคับของทางราชการรวมทั้งตราสาร   

         จัดตั้ง  นโยบาย  ระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน  และหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราช-                     
         
-บัญญัติโรงเรียนเอกชน  ..๒๕๕๐  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

( ๗ )   ปฏิบัติงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๙

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

ข้อ ๒๓.  คณะกรรมการบริหารโรงเรียน มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๔ และมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐  ดังนี้

                ( ๑ )    กำหนดนโยบายที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของ สัมมาชีวศิลปมูลนิธิและของโรงเรียน

                ( ๒ )   ออกระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของโรงเรียน

                ( ๓ )  ให้ความเห็นชอบนโยบาย แผนการศึกษา และโครงการต่างๆของโรงเรียน

                ( ๔ )  ให้คำแนะนำการบริหารและจัดการโรงเรียนด้านบุคลากร  แผนงาน  งบประมาณ  วิชาการ 

                          กิจการนักเรียน  อาคารสถานที่  และความสัมพันธ์กับชุมชน

                ( ๕ )   กำกับดูแลให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน

                ( ๖ )   ติดตาม  ตรวจสอบ  และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ

                ( ๗ )  ให้ความเห็นชอบกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียน

                ( ๘ )  ให้ความเห็นชอบในการกู้ยืมเงินครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันเกินร้อยละสิบห้าของมูลค่า

                          ทรัพย์สินที่โรงเรียนมีอยู่ในขณะนั้น เพื่อประโยชน์ของการดำเนินกิจการโรงเรียน

( ๙ )  ให้ความเห็นชอบรายงานประจำปี  งบการเงินประจำปี และการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี

( ๑๐ ) พิจารณาคำร้องทุกข์ของครู  บุคลากรทางการศึกษา  ผู้ปกครอง และนักเรียน

( ๑๑ ) ดำเนินการจัดสรรผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการของโรงเรียนในแต่ละปี เข้ากองทุน
           ส่งเสริมโรงเรียน กองทุนสำรอง กองทุนอื่นและจัดสรรให้สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ตามที่
           บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๕

( ๑๒ ) ให้ความเห็นชอบในการขอเปลี่ยนแปลงรายการในรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการโรงเรียน 

( ๑๓ ) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินงานของโรงเรียน
            ตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย

( ๑๔ )  ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

หมวดที่ ๑๐

                                         ระเบียบการของโรงเรียน

ข้อ ๒๔   ระเบียบการเกี่ยวกับการรับสมัครนักเรียน

( ๑ )  รับสมัครนักเรียนทั้งชายและหญิง
( ๒ ) อายุอย่างต่ำตั้งแต่ ๒ ปี  อย่างสูงไม่เกิน ๑๖  ปี

( ๓ ) ต้องมีผู้ปกครองหรือบิดามารดา นำมาฝากด้วยตนเอง นักเรียนที่มาจากโรงเรียนอื่นต้องมี
         เอกสารทางการศึกษาจากโรงเรียนเดิมมาแสดง

ข้อ ๒๕  หลักฐานการสมัคร 
              ( ๑ )  สำเนาสูติบัตร

                ( ๒ ) สำเนาทะเบียนบ้าน

                ( ๓ ) หลักฐานการเรียน
              ( ๔ ) ภาพถ่ายนักเรียนขนาด ๓
x  ๔ เซนติเมตร  จำนวน  ๒ รูป

 

ข้อ ๒๖ การจำหน่ายนักเรียน
            ( ๑ )  เมื่อเรียนจบหลักสูตร

            ( ๒ ) เมื่อสมัครใจลาออก,   ตาย

 

ข้อ ๒๗ เวลาเรียน 

             ( ๑ ) เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น.  ถึงเวลา ๑๕.๐๐ น.

             ( ๒ ) ทำการสอนตั้งแต่วัน จันทร์ ถึง วันศุกร์  
              ( ๓ )  พักกลางวันเวลา ๑๒.๐๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น.
              ( ๔ )   ภาคเรียนที่ ๑  เปิดเรียนตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม  ถึงวันที่ ๑๑ ตุลาคม
                         ภาคเรียนที่ ๒ เปิดเรียนตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๑ เมษายน

 

ข้อ ๒๘ วันหยุด  หยุดวันเสาร์  วันอาทิตย์  วันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ 

 

ข้อ ๒๙ การแต่งกายนักเรียน
             ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน หรือข้อบังคับ หรือข้อกำหนดโรงเรียนว่าด้วยการแต่งกายของนักเรียนที่ได้รับอนุญาตตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน

 

                                                                                   หมวดที่ ๑๑ 

                                                          การบริหารการเงินและบัญชี

ข้อ ๓๐ .                  ประธานกรรมการบริหารโรงเรียน ในกรณีที่ทำหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต มีอำนาจสั่งจ่าย นอกเหนือจากงบประมาณปกติประจำเดือน  ตามคำขอของผู้จัดการคราวละไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท(สามหมื่นบาทถ้วน)  ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการบริหารที่อนุมัติให้จ่ายได้แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการบริหาร ทราบในการประชุมคราวต่อไป

 

ข้อ ๓๑.   หัวหน้าบัญชีและการเงินโรงเรียนมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท( หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

ข้อ ๓๒.                  เงินสดของโรงเรียนและเอกสารสิทธิต้องนำฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินของรัฐหรือของเอกชน ที่กรรมการบริหารเห็นว่ามีความมั่นคงและมีผลประโยชนตอบแทนสูง

 

ข้อ ๓๓.   ในการจ่ายแต่ละครั้งต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการบริหาร หรือ ผู้อำนวยการ หรือผู้แทนของบุคคลดังกล่าว และ ผู้จัดการ เป็นผู้เบิกถอน

 

ข้อ ๓๔.   การใช้จ่ายจากเงินทดรองจ่าย  สำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียน  ให้เบิกจ่ายตามระเบียบที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริหาร

 

ข้อ ๓๕.   กิจกรรมพิเศษเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และมีค่าใช้จ่ายสูงเกินวงเงินงบประมาณที่จัดทำไว้  อาจดำเนินได้โดยขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเป็นกรณีพิเศษก่อน

 

ข้อ ๓๖ .                  ให้คณะกรรมการบริหาร  กำหนดระเบียบเกี่ยวกับเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของโรงเรียน ตลอดจนกำหนดหน้าที่ต่างๆเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

 

ข้อ ๓๗.   กำหนดปีบัญชีของโรงเรียน ให้ถือวันที่  ๓๐  เดือนเมษายน เป็นวันสิ้นสุดของปี

 

ข้อ ๓๘.   ให้โรงเรียนจัดทำงบรายได้และค่าใช้จ่ายและงบดุลประจำปีของโรงเรียนทุกปี

 

ข้อ ๓๙.   การเปลี่ยนแปลง  ปรับปรุงงบประมาณประจำปีของโรงเรียนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

ข้อ ๔๐.    งบดุลประจำปีของโรงเรียนจะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

 

ข้อ ๔๑.   ผู้สอบบัญชีซึ่งคณะกรรมการบริหารเห็นชอบและแต่งตั้งต้องมาจากบุคคลซึ่งมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของโรงเรียน  โดยจะให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาหากช่วยเหลือโดยไม่คิดค่าจ้างทำหรือให้ได้รับค่าตอบแทนอย่างไรสุดแต่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจะกำหนด

 

ข้อ ๔๒.                  ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนและรับรองงบดุลประจำปีที่คณะกรรมการบริหารรับรอง  เพื่อส่งรายงานต่อกระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการคลัง(กรมสรรพากร) ผู้สอบบัญชีมีสิทธิตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนสอบถามผู้รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและเอกสารดังกล่าว

 

หมวดที่ ๑๒

การแก้ไขเพิ่มเติมตราสาร

ข้อ ๔๓.   การแก้ไขเพิ่มเติมตราสาร จะกระทำได้โดยที่ประชุมกรรมการบริหาร  ซึ่งต้องมีกรรมการบริหารเข้าประชุม ไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมตราสารต้องประกอบด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าร่วมประชุม                                                        

 

หมวดที่ ๑๓

 การเปลี่ยนสภาพอสังหาริมทรัพย์

ข้อ ๔๔.   ในกรณีที่โรงเรียนประสงค์จะเปลี่ยนสภาพอสังหาริมทรัพย์ พึงกระทำได้ดังนี้

( ๑ )  ทรัพย์สินของโรงเรียนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับมาจากสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ หรือผู้
                         ศรัทธาบริจาคให้จะดำเนินได้ จะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการสัมมา
                         ชีวศิลปมูลนิธิได้พิจารณาเห็นเป็นการสมควรและอนุมัติให้ดำเนินการตามมตินั้น

               

                 ( ๒ )      ทรัพย์สินของโรงเรียน ซึ่งได้มาจากทุนทรัพย์ เงินอุดหนุนจากรัฐ หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ    

              ของโรงเรียนเอง หากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร พิจารณาเห็นเป็นการเหมาะสมและ

              อนุมัติให้ดำเนินการ  โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการบริหาร

              โรงเรียนทั้งหมด  ให้ดำเนินการไปตามมตินั้น

 

หมวดที่ ๑๔ 

                                         การเลิกกิจการโรงเรียน

ข้อ ๔๕    การเลิกกิจการโรงเรียนจะต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการบริหารของโรงเรียน และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ

 

ข้อ ๔๖.   ให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนแต่งตั้งผู้จัดการและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการโรงเรียน

 

ข้อ ๔๗     การเลิกกิจการโรงเรียนต้องยื่นคำขอล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนสิ้นปีการศึกษาและให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการและผู้จัดการ ส่งมอบหลักฐานการวัดผลปรเมินผลของโรงเรียนให้แก่ผู้อนุญาเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

 

ข้อ ๔๘.   ถ้าโรงเรียนต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการบริหาร หรือโดยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินของโรงเรียน ที่เหลืออยู่ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ตามระเบียบที่ราชการกำหนด

 

ข้อ ๔๙.   การสิ้นสุดของโรงเรียนนั้นนอกจากกฎหมายบัญญัติไว้แล้ว  ให้โรงเรียนเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุดังต่อไปนี้

( ๑ )  เมื่อโรงเรียนได้รับการควบคุมจากทางราชการและสั่งให้เลิกกิจการตามกฎหมาย

( ๒ )  เมื่อกรรมการบริหารมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิก

( ๓ )  เมื่อโรงเรียนไม่อาจหากรรมการบริหารได้ครบตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ในตราสาร

( ๔ )  เมื่อโรงเรียนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆ                                      

 

หมวดที่ ๑๕

เบ็ดเตล็ด

ข้อ ๕๐    การจำหน่ายของสูญหาย หรือชำรุด สินทรัพย์ถาวรที่จัดหาจากเงินรายรับของโรงเรียนให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อยสามคนประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้กระทำการแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการและผู้จัดการ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุด  เสื่อมสภาพ หมดอายุการใช้งานแล้วรายงานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเพื่อขออนุมัติจำหน่าย

 

ข้อ ๕๑    การตีความในตราสารจัดตั้งโรงเรียน  หากเป็นที่สงสัยให้คณะกรรมการบริหารของโรงเรียนร่วมประชุมพิจารณาโดยเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด                                                            

 

 ข้อ ๕๒   ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติบุคคลมาใช้บังคับในเมื่อตราสารของโรงเรียนไม่ได้กำหนดไว้

                                         ประกาศ  ณ วันที่                               พ.ศ. ๒๕๕๓  

 

                                                ลงชื่อ………………………………………

                                                       (  นายสารวิบุล  รามโกมุท )

                                  ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป บางพระ

                 

 

------WebKitFormBoundaryEmqC24PWuoOyHe2l Content-Disposition: form-data; name="overwrite" 1