คำนำ
ตามที่คณะกรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
ในฐานะเจ้าของโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ได้อนุมัติงบประมาณพัฒนาโรงเรียนฯ
3 ด้าน คือ 1. พัฒนาอาคารสถานที่ 2. พัฒนาบุคลากร 3. พัฒนาการศึกษา และได้เริ่มให้มีการจัดสัมมนาผู้บริหารและบุคลากรขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
2539 ( ก่อนที่จะมีการประกาศ พรบ. การศึกษาแห่งชาติฉบับปฏิรูปการศึกษา
) เพื่อกำหนดเป็นนโยบายและกรอบแนวทางการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามปณิธานและวัตถุประสงค์
ของผู้ก่อตั้ง ซึ่งในต่อมาได้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนไว้ในมาตรา
24 คือ
1 ได้เรียนรู้เนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดตามความแตกต่างของ
นักเรียนแต่ละคนให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และคณะกรรมการเขตการศึกษา
2 ได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ไปใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
3 ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น
รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4 ได้เรียนรู้โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5 ได้เรียนรู้โดยผู้สอนจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
ทั้งนี้ผู้สอนและนักเรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6 ได้เรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่ โดยมีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนานักเรียนตามศักยภาพ
และมีความสุข
โรงเรียนสัมมาชีวศิลป
จึงกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาบริการการศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ คือ
เร่งส่งเสริมให้จัดบริการการศึกษาที่มีหลักสูตรหลากหลาย โดยเน้นการใช้สื่อและเครื่องอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย
เช่น อินเตอร์เน็ต สื่อผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา วี.ดี.โอ.เทป และสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์
ที่ผลิตโดยสถาบันการพัฒนาการศึกษาที่ได้ผ่านการรับรองความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว
ให้เข้ามาช่วยในการเรียนรู้ โดยให้ครูสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการสอนหน้าชั้นด้วยตนเอง
มาเป็นนำผู้ชำนาญการถ่ายทอดความรู้ ในสาระต่างๆ มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน
การประเมินผล กระบวนการเรียนรู้ ดังกล่าวต้องมีการบูรณาการอย่างเหมาะสม
การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งการประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
นอกจากนั้นโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ยังสนับสนุนให้ระดมทรัพย์ยากรจากแหล่งต่างๆ
มาช่วยในการจัดการศึกษาในโรงเรียน โดยเน้นให้มีการบริหารจากกลุ่มชน,
องค์กร, สถาบันวิชาการหรือโครงการต่างๆของส่วนราชการ ที่มีประสบการณ์
เข้ามาช่วยดำเนินการแบบก้าวหน้า เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น
กล่าวคือให้โรงเรียน มีการบริหารและบริการเพื่อยกระดับและ ปรับปรุงคุณภาพของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
นับเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และการระดมสรรพกำลังเพื่อการจัดการศึกษา
ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโรงเรียนสัมมาชีวศิลปได้มีการประเมินผลสรุปได้ดังนี้
ผลงานด้านพัฒนาอาคารสถานที่ของโรงเรียนสัมมาชีวศิลป
สรุปได้ว่าประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานระดับหนึ่ง เนื่องจากคณะกรรมการบริหาร
ฯ มีการอนุมัติงบประมาณให้มาโดยลำดับตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 ( ก่อน พรบ.การปฏิรูปศึกษาจะประกาศใช้
) แม้จะยังไม่สามารถดำเนินการได้ครบขั้นตอนในวัตถุประสงค์การประกันคุณภาพ
ตามมาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นพัฒนาไว้ เช่น ห้องเรียนด้านสาระวิชาการ
ห้องพักครู ห้องบริหารและบริการ พื้นที่เล่นและมุมความรู้ต่างๆ โรงเรียนจึงได้จัดโครงการ
กิจกรรม 5 ส. เพื่อจัดระบบสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม ความเป็นระเบียบในการใช้และบริการ
ห้องปฏิบัติ ห้องเรียน อุปกรณ์ คุรุภัณฑ์ เอกสาร สื่อการเรียนการสอน
ด้วยกระบวนการ 5 ส. คือ 1. สะสาง 2. สะอาด 3. สะดวก 4. สุขลักษณะ 5.
สร้างนิสัยให้อยู่ในใจของทุกคน
กลับหัวเรื่อง
ผลงานด้านพัฒนาบุคลากร
งานสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์
คณะกรรมการมูลนิธิ และโรงเรียน ได้มีความเห็นในการปฏิรูปการศึกษาว่า
การจะพัฒนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับแรก
จึงกำหนดแนวบริหาร ให้บุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมปฏิบัติด้วยความยุติธรรม
เสียสละ และยึดถือส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยการจัดให้มีหัวหน้าฝ่ายและหัวหน้าโครงการ
เป็นคณะกรรมการบริหารการศึกษาทางวิชาการ
จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการ จากการเลือกตั้งของคณะครูและเจ้าหน้าที่
เพื่อออกระเบียบ และบริหารดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และช่วยเหลือสงเคราะห์
ด้านสวัสดิภาพ ครู พนักงาน และนักเรียน ตามสถานะและกำลังงบประมาณที่มี
โดยทางสัมมาชีวศิลปมูลนิธิได้ให้เงินให้ยืมจ่ายโดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นทุนเบื้องต้น
ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน และให้คณะกรรมการฯ เป็นผู้ดูแลกิจการและผลประโยชน์จากการทำร้านค้าโรงเรียน
เพื่อนำผลกำไรเข้าเป็นกองทุนสวัสดิการดังกล่าว และยังมีรายได้จากดอกเบี้ยกองทุนสวัสดิการครูของมูลนิธิอีกส่วนหนึ่งด้วย
สำหรับการให้เปล่าในกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน และได้นำเงินที่ไม่ใช่กองทุนของผู้บริจาค
มาให้บุคลากรกู้ยืมในอัตราธนาคารและผ่อนส่งระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่บุคลากรมีความจำเป็นต้องไปกู้ยืมและต้องผ่อนส่งไม่จบสิ้นที่ผ่านมาซึ่งได้มีการควบคุมวินัยการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อลดปัญหาการทำงานจากการแสวงหารายได้นอกระบบและทำงานอย่างมีความสุข
กลับหัวเรื่อง
งานทางวิชาการ
ผู้บริหารและครู
เข้าร่วมการสัมมนาและอบรม นอกสถานที่ คือ โครงการแยกขยะ, การอ่านเฉลิมพระเกียรติ,
การพัฒนาครูและแฟ้มงาน, ธรรมะกับครู, การจัดการสอนโดยบูรณาการ จิตพิสัย
, พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ การจัดทำร่าง พ.ร.บ. การศึกษาเอกชน,
การจัดเตรียมเพื่อขอรับรองมาตรฐานและคุณภาพโรงเรียน, การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพิสัยนักเรียน,
การต่อต้านยาเสพติดและการสูบบุหรีในโรงเรียน, พัฒนาการสอนคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ,
การเสริมสร้างประสิทธิภาพครูอนุบาล, การสอนแบบโครงการและหลักสูตรใยแมงมุม,
การประชุมผู้บริหารเพื่อทำประชาพิจารณ์ พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน, การประชุมผู้บริหารโรงเรียนกลุ่ม
5 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการบริหารสถานศึกษาและบุคลากร ซึ่งมีจำนวน 30 โรงเรียนเป็นประจำทุกๆ
เดือนจนถึงปัจจุบัน การพัฒนาครูให้มีความสามารถจัดการศึกษา โรงเรียนได้มุ่งปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ให้สามารถบรรลุถึงมาตรฐาน ประกันคุณภาพโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ได้จัดการอบรมสัมมนาครูขึ้นภายในโรงเรียนและให้มีการประชุมปรึกษาเพื่อพัฒนาแผนการบริหาร
และการเรียนการสอน แก่ครูหัวหน้าฝ่ายและครูทุกระดับ เช่น การอบรมที่เป็นประจำทุกเดือนสำหรับครูทั้งกรุงเทพฯและครูบางพระ
ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 คือ การอบรม ธรรมะกับอาชีพครู
โดยวิทยากร ที่เป็นบุคคลต่างๆ และพระสงฆ์
การอบรมครู จากคณะวิทยากรของ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชน เรื่อง
ปรับกระบวนทัศน์: สู่มิติใหม่ทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้ในการปรับแผนการเรียน
การสอนในรูปใหม่โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และการรับรองมาตรฐาน และประกันคุณภาพโรงเรียน
ได้จัดอบรมในวันเสาร์ อาทิตย์เดือนละ 2 วันทุกเดือน เป็นระยะเวลา 11
เดือน ซึ่งเป็นการอบรมทางวิชาการแล้วคณะวิทยากรจะติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ครูทุกคนได้ปฏิบัติและปรับปรุงแก้ไข โดยเริ่มตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม
2541 ถึงเดือน พฤษภาคม 2542 นั้นครูสามารถจัดทำผลงาน พร้อมทั้งได้นำเอาไปปฏิบัติการสอนของครูแต่ละวิชาเพื่อประเมินผล
จากการอบรมดังกล่าว ครูทุกคนได้ร่วมกันเขียนและจัดทำเอกสาร โดยจัดพิมพ์บันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งสะดวกต่อการปรับปรุงแก้ไขภายหลัง เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ดังผลงานต่อไปนี้
1. เขียนธรรมนูญโรงเรียน จำนวน 70 หน้า
2. ทำเอกสารรายงานการประเมินตนเอง จำนวน 115 หน้า และแผนปฏิบัติการ จำนวน
68 หน้า ประจำปีการศึกษา 2542 และ 2543 และทุกรอบปี
3. วิเคราะห์จัดทำหลักสูตรกลุ่มสาระวิชาต่างๆ แต่ระดับชั้นเรียนประถมปีที่
1 ถึงปีที่ 6 จำนวน 12 เล่ม
4. เขียนข้อกำหนดแผนการสอน, วิธีการสอน ในกลุ่มวิชาต่างๆ แต่ระดับชั้นเรียนประถมปีที่
1 ถึงปีที่ 6 จำนวน 98 เล่มและต้องปรับปรุงทุกๆปีจนปัจุบัน
5. ครูทุกคนจัดทำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้น โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการศึกษาเอกชนดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
6. มีการจัดทำปฏิทินการศึกษาของโรงเรียน และคู่มือปฏิบัติงานข้อกำหนดหน้าที่ต่างๆ
ของครูและเจ้าหน้าที่ของแต่ละปีการศึกษา
เมื่อพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสอน ทางฝ่ายวิชาการ ได้จัดให้ครูได้นำแผนการสอนแต่ละวิชา
ไปใช้เพื่อสรุปประเมินผลสัมฤทธิ์ ในด้านการคิดและแก้ปัญหา ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้
แต่กระบวนการเรียนรู้ยังมีลักษณะที่ยึดครูเป็นผู้บอกความรู้ และยังต้องให้ความสำคัญต่อการสอนให้จำจากเนื้อหาในหนังสือ
ตามหลักสูตรเก่า มากกว่าการยึดทักษะกระบวนการที่จะทำให้ผู้เรียนรู้จักคิด
วิเคราะห์ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงยังดำเนินการในวงจำกัด
เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจ การโต้ตอบกับครู ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวเป็นธรรมดา
และมั่นใจว่าในปีต่อ ๆ ไปจะสามารถจัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนเป็นสำคัญได้
โดยได้เร่งรัดให้จัดเต็มรูปแบบในชั้นอนุบาลและประถมปีที่ 1 ก่อนเพื่อนำผลวิเคราะห์
ไปใช้กับชั้นประถมปีที่ 2 6 ต่อไป
กลับหัวเรื่อง
การจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้ใช้สื่อทางเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ จึงสอดคล่องกับแผนของโรงเรียนสัมมาชีวศิลป
ซึ่งจะเป็นกลไกที่เป็นเครื่องมื่อครูและพํฒนาส่งเสริมการเรียนการสอน
ให้ครูสามารถปรับวิธีการสอนโดยใช้นักเรียนเป็นสำคัญได้รวดเร็ววิธีหนึ่ง
กว่าการที่จะต้องส่งให้ครูแต่ละคนไปเข้ารับการอบรมเพื่อให้เปลี่ยนความเชื่อและทัศนคติเดิมๆ
ให้ครูยอมรับและนำมาปฏิบัตินั้น จำเป็นต้องใช้ระยะเวลามาก และด้วยขีดจำกัดของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน
การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ในโรงเรียนสัมมาชีวศิลป เพื่อมุ่งให้นักเรียนได้รับการศึกษา
มีรูปแบบหลากหลาย ที่ได้กำหนดในแผน ให้ครูนำไปใช้ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการนำสื่อและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีมาช่วยสอน
ยังมีปัญหาเรื่องการตัดสินใจที่จะเลือกใช้ของครูแต่ละคนที่แตกต่าง และเรื่องการประสานข้อมูล
ข่าวสาร ความรู้ ระหว่างกัน อีกทั้งยังมีปัญหาในเรื่องการยึดติดต่อรายละเอียดในเนื้อหา
ของหลักสูตรเดิมๆ ที่นำมาสอน ว่ายังไม่มีเวลาเร่งให้จบสิ้นในเทอมการศึกษาได้
หากการต้องนำสื่อมาใช้ จึงถูกมองว่าเป็นตัวปัญหา ??
อย่างไรก็ตามโรงเรียนได้พยายามที่จะส่งเสริมให้ชุมชนหรือกลุ่มองค์กรนักวิชาการศึกษาทางธุรกิจ
ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ให้ครูยอมรับและนำไปใช้ต่อไป เช่น คุณสารวิบุล ฯ ได้จัดบรรยายธรรมะสัปดาห์ละ
1 ชั่วโมง พระสงฆ์ 3 รูป เข้ามาสอน ศีลธรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ บริษัท
สยามคอมพิวเตอร์ จำกัด จัดการสอนคอมพิวเตอร์ สถาบันภาษาอังกฤษ Discovery
Education System นำคณะโดย Mr. Ben Benhar เข้ามาสอนเสริมภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ
1 ชั่วโมงทุกระดับชั้น บริษัท จินตคณิต จำกัด สอนจินตคณิต เพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพทางสมองที่กำลังพัฒนาตามวัยเด็ก
ธนาคารเอเชียเปิดชมรม ออมประหยัด เป็นต้น
กลับหัวเรื่อง
การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน ทุกปีโรงเรียนจะนำคณะครูนักเรียนเข้าเฝ้าเพื่อร่วมถวายพระพรเนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัวและพระราชินีนาถ
ได้จัดทำกิจกรรม ในแบบโครงงานต่อเนื่อง รวมมากกว่า 26 กิจกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจ
ให้นักเรียนเป็นผู้กล้าแสดงออก และเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังตัวอย่าง
คือ กิจกรรมโรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด, โครงการเยาวชนพุทธมามกะ,
จัดทำข่าวการศึกษาและสาสน์ผู้จัดการเป็นหนังสือเวียนสำหรับครูและพนักงานเป็นประจำมากกว่า
57 เรื่อง , การแสดงเวทีคนกล้าทุกเวลาพักกลางวัน, พี่ดูแลน้องการเข้าแถวทุกวัน,
สวดมนต์ทุกวันพระ, ทุกๆวัน 10 นาที นักเรียนประถมทุกห้องอ่านหนังสือในใจ,
สารพันชวนรู้ทุกวันพฤหัส, ปฏิบัติ+สมาธิจิตกล่าวแผ่เมตตาก่อนเรียนตอนบ่าย,
สัปดาห์วิทยาศาสตร์, เพื่อนเพื่อเพื่อน (ต่อต้านยาเสพติด) สัปดาห์ส่งเสริมพุทธศาสนา,
สื่อเพื่อพัฒนาจิตพิสัยระดับอนุบาล, ครูทั้งหมดและนักเรียนร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติครบ
72 พรรษา ในหลวง ที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษา นักดาราศาสตร์เรื่องฝนดาวตกที่ท้องฟ้าจำลอง,
คณะลูกเสือ เนตรนารี เข้าค่ายพัฒนา และบำเพ็ญประโยชน์ ในวันสำคัญ, ฉันรักหนังสือ,
เยาวชนประหยัดออม, อำลาอาลัยโรงเรียนสัมมาชีวศิลปของนักเรียนประถมปีที่
6 งานประจำปีกีฬาสี กิจกรรมวันพ่อ วันแม่แห่งชาติ เป็นต้น
ส่งเสริมให้นักเรียนได้ร่วมเข้าแข่งขัน นอกโรงเรียน เช่น ประถม 6 เยี่ยมโรงเรียนมัธยมวัดสระเกศ
และ ร่วมแข่งขันความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่ ร.ร.ไผทอุดมศึกษา, วาดภาพด้วยสีไม้,
วาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์, การประกวดวาดภาพเมืองไทยยุค 2000, ต่อจิกซอร์และเลโก้
(ชนะรางวัลที่ 3 ) ด.ญ. กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ รับเกียรติบัตรเรื่องธรรมะกับเยาวชนจากสมเด็จพระสังฆราช,
ศีลปิน มิรินด้า, การประดิษฐ์เศษวัสดุ, การแข่งขันวาดภาพ จัดโดย ร.ร.อำนวยศิลป์,
ด.ญ.อธิติภรณ์ รวดเร็ว ป. 6 รับเกียรติบัตรผู้บำเพ็ญประโยชน์ ประพฤติดี
มีคุณธรรม งานวันเด็กแห่งชาติ ณ หอประชุมคุรุสภา, ด.ช.ทนันท์ วิศิษฎ์สุขวัฒนา
เข้าแข่งขันอ่านฟังเสียง ธนาคารนครหลวงไทย โครงการอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทย
ได้ชนะเลิศระดับ 2 ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
การ แข่งสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ และตอบปัญหาธรรมะ จัดโดยกรมการศาสนาเป็นต้น
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัชฌาสัย
ครูและนักเรียนร่วมกันจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อเผยแผ่ ครู นักเรียน และประชาชน
ได้รับความรู้ แยกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ปรัชญา คติพจน์และคำคมสอนใจ แผงความรู้ในวันสำคัญแต่ละเดือน
และวัฒนธรรมประเพณีประจำชาติ, การพัฒนาการศึกษาและกิจกรรมผลงานนักเรียน,
บุคคลตัวอย่างและนักเรียนดีเด่น, ประกาศและปฏิทินโรงเรียน, ข่าวการศึกษาและสังคม,
นิทรรศการรู้จักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนของเรา, พุทธสุภาษิตประจำเดือน,
ส่งเสริมอ่านคำ ร ล , เฉลิมพระชนม์ 72 พรรษา รักในหลวง เอื้ออาทรผู้สูงอายุ
กลับหัวเรื่อง
ผลงานและโครงการพัฒนาวุฒิภาวะทางการศึกษา
โรงเรียนได้ตั้งนโยบายการจัดการศึกษาตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธและโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและจัดทำเอกสารเพื่อประเมินภายในและประกันคุณภาพโรงเรียน
ได้ดำเนินการและได้รับผลดังนี้
ด้านนโยบายโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนได้ให้นักเรียนและครูปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิมาตลอดนานกว่า
50 ปี คือทุกวันนักเรียนจะสวดมนต์หน้าเสาธงและทุกวันพระ ก่อนเรียนจะกล่าวแผ่เมตตาและนั่งสมาธิทุกวัน
และนำนักเรียนทำกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญตลอดมา ได้นิมนต์พระจากโครงการพุทธบุตร์
ในโอกาสวันสำคัญต่างๆ พระจากวัดบรมนิวาสและวัดปทุมวนารามเข้ามาสอนศีลธรรมทุกชั้นเรียน
จำนวน 3 รูปทุกสัปดาห์ ในปีการศึกษา 2546 นี้ได้จัดทำโครงการนำนักเรียน
ป.4 ถึง ป.6 เข้าวัดปทุมวนารามเดือนละ1ครั้ง ตลอดปีจนถึงปัจุบันในวันพระ
ตามเอกสารโครงการเยาวชนพุทธมามกะ
ด้านนโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนได้ส่งเสริมให้นักเรียนไปร่วมกิจกรรมวิ่งแข่ง
30 เพื่อสุขภาพตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข จัดโดยสำนักงานเขตราชเทวี ร่วมกิจกรรมรวมพลคนเสื้อเหลือ-ฟ้า
กับรัฐบาลที่ท้องสนามหลวง โครงการกระโดดเชือก 72,000 ครั้ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศไทย
กิจกรรมของกองทัพบก ค่ายเยาวชนรักษ์ความปลอดภัย ซึ่งมีโรงเรียนร่วมโครงการ
85 โรงเรียนและโรงเรียนสัมมาชีวศิลปได้เป็น 1 ใน 21 โรงเรียนที่ได้รับเลือกจากคณะกรรมการบริหารให้เงินทุนสนับสนุนโครงการตัวอย่างในชื่อว่า
"โครงการห่วงใยความปลอดภัยถ้วนหน้า รวม 5 กิจกรรมที่จะต้องจัดทำในปี
2548 การแข่งขันประกวดวาดภาพ คุณครูชมเดือนฯ ผู้แนะนำฝึกสอนได้นำนักเรียนไปแข็งขัน
ด.ญ.มาริสา ชนมานะวัตร ได้รับชนะที่ 2 จากมูลนิธิสายธาร เรื่อง อาหารจานโปรด
จากผู้เข้าจำนวน 300 กว่าคน ได้รับโล่นายกรัฐมนตรี โรงเรียนได้รับอุปกรณ์กีฬา
15 ชนิด และในปัจจุบันมีนักเรียนอีกหลายคนได้เข้าแข็งขันจนได้รับรางวัลอยู่ในระดับต้นๆ
ทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 18.00 20.30 น. โรงเรียนจัดตั้งคณะกรรมบริหารพื้นที่โรงเรียนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชน
วัตถุประสงค์เพื่อทำโรงเรียนให้เป็นที่พักผ่อนและอบรมพัฒนาคุณภาพให้กับประชาชนทั่วไปโดยไม่หวังผลกำไรทางธุรกิจ
เช่น ให้กลุ่มแม่บ้านของชุมชนซึ่งมีจำนวนมากกว่า 100 คนได้เข้ามาจัดออกกำลังกายแอโรบิกในบริเวณโรงเรียนโดยไม่คิดค่าสารณูปโภค
เช่นค่าห้องน้ำและไฟฟ้าแสงสว่าง และกลุ่มได้ไปร่วมงานแข่งขันแอโรบิกลูกทุ่งไทยต้านภัยเสพติด
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากกระทรวงการท่องเทียวและกีฬา เมื่อวันที่
14 ก.ย.46 และจากที่โรงเรียนเคยได้รับประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนสีขาวปลอดยาเสพติดแล้ว
และเมื่อวันที่ 17 พ.ย.46 กรุงเทพมหานคร ได้ส่งหนังสือแจ้งว่าคณะกรรมการเลื่อกให้โรงเรียนสัมมาชีวศิลป
เป็นสถานศึกษาเข้มแข็งปลอดยาเสพติด ได้รับโล่และธง
การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน การจัดการศึกษาของโรงเรียนสัมมาชีวศิลป
มิได้มุ่งเพื่อพัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญา และทักษะการประกอบอาชีพตามหลักสูตรสามัญของกระทรวงศึกษาเท่านั้น
ยังให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทางด้านจิตใจอีกด้วย โดยเฉพาะด้านคุณธรรม
และจริยธรรม
จากการประเมินผลด้านลักษณะนิสัยทางคุณธรรมและค่านิยมของนักเรียนสัมมาชีวศิลป
พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ของการเสียสละและมุ่งพัฒนาคุณธรรม
สังเกตได้จากการปฏิบัติเมื่อผู้ใดได้รับบาดเจ็บ หรือไม่สบาย หรือมีปัญหา
เพื่อนๆ จะช่วยพามาแจ้งครู หรือพากันส่งห้องพยาบาลและสอบถาม ซึ่งโดยภาพรวมและประวัติที่ผ่านมาแล้วกว่า
50 ปี สามารถสรุปได้ว่านักเรียนของโรงเรียนสัมมาชีวศิลปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
กลับหัวเรื่อง
ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและสถานศึกษา ได้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการเรียนรู้และการบริหาร
ได้จัดติดตั้งคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต ไว้ให้ครูและนักเรียนได้ค้นหาข้อมูลต่างๆ
ทางการศึกษาได้อย่างกว้างขวางมีแผนควบคุมการใช้อย่างมีคุณค่า ได้จัดทำข้อมูลมูลนิธิฯ
และโรงเรียนทั้งสองแห่งไว้ในเวปไซต์มูลนิธิฯและโรงเรียนชื่อ www.sammajivasil.net/
ผู้เข้ามาดูสามารถติดต่อกับทางมูลนิธิฯและโรงเรียนได้ทางอีเมล samma@sammajivasil.net
เพื่อประกาศนโยบายและการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนเก่าได้ลงทะเบียนเพื่อติดต่อและทราบความเป็นอยู่ในเวบไซต
Friends.co.th นอกจากนี้ได้ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาและจัดเก็บข้อมูล
ทะเบียนประวัติครูและนักเรียน โปรแกรมระบบบัญชีและการเงินและคุรุภัณฑ์
ฯลฯ การจัดห้องสมุดหนังสือและสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา มีโปรแกรมข้อมูลเพื่อการค้นหาได้รวดเร็ว
ซึ่งปัจุบันมีหนังสือจำนวนมากกว่า 2,500 เล่ม มีแผ่น ซี.ดี วิชาการและสื่อการเรียนรู้จำนวนมากว่า
160 ชุด จัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ เช่น จัดทำเอกสารหลักสูตร, แผนการสอนตามกลุ่มสาระต่างๆ
กลับหัวเรื่อง
จุดอ่อนและจุดแข็งของการปฏิรูปการศึกษากับการบริหารโรงเรียนสัมมาชีวศิลป
จากผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ในช่วงปีการศึกษา
2540 ถึง 2543 แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการยกระดับการพัฒนาโรงเรียนให้สูงขึ้น
และสามารถดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัด
ซึ่งเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ในการดำเนินงานหลายประการ ที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานตามโครงการประสบทั้งผลสำเร็จและล้มเหลว
ในที่นี้จะกล่าวถึงใน 4 ปัจจัยใหญ่คือ
1 ) ปัจจัยด้านชุมชน เพื่อความหวังให้ได้รับการอุปถัมภ์ บริจาคทางการงบประมาณ
หรือความช่วยเหลืออื่นๆ ต่อกิจกรรมของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ฯ จากนักเรียนเก่าในชุมชน
ที่โรงเรียนมีอายุยาวนานกว่า 50 ปี เพื่อการพัฒนาโรงเรียนค่อนข้างน้อย
เนื่องจากประชากรท้องถิ่นหลักของพื้นที่ในซอยพญานาคและถนนเพชรบุรี มาจากผู้ประกอบการค้าขาย
และผู้มาอยู่อาศัยเป็นผู้ประกอบอาชีพชั่วคราว มีการโยกย้ายเป็นส่วนใหญ่
และอยู่ในฐานะปานกลางและอยากจน และมีความเข้าใจว่าโรงเรียนสัมมาชีวศิลป
เมื่อต้องจ่ายค่าเรียนแล้วนั้น เป็นโรงเรียนเอกชนทางธุรกิจ จึงไม่จำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องและให้ความช่วยเหลือเหมือนความรู้สึกที่มีต่อโรงเรียนของรัฐบาล
ดังนั้นโอกาสที่โรงเรียนสัมมาชีวศิลปและการที่ยึดถือการบริหารรูปแบบของมูลนิธิสงเคราะห์
และการเรียนการสอนทางศาสนาและศีลธรรมมากกว่าวิชาการ จึงไม่เป็นกระแสนิยมจากสังคมเมือง
แต่เป็นเป็นจุดแข็งที่ได้เป็นที่พึ่งช่วยสงเคราะห์ยามที่เขามีปัญหาให้เยาวชนเหล่านั้นได้รับการศึกษาตามวัย
และเป็นประชากรของชาติที่มีภูมิคุ้มกันตนและทำให้คนในสังคมมีความสงบและเป็นสุข
แต่จุดอ่อนต่อการคาดหวังที่จะให้โรงเรียนและมูลนิธิฯ ได้รับความผูกพัน
และการช่วยเหลืออุปถัมภ์ทางการเงินจากชุมชน หรือนักเรียนเก่าจึงเป็นเรื่องยาก
เนื่องจากตัวนักเรียนจบไปเมื่ออายุน้อยๆ ดังนั้นความผูกพันที่จะมีต่อโรงเรียนเพื่อปลูกฝังว่าจะมาช่วยสงเคราะห์โรงเรียนเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าได้นั้นจะต้องเกิดจากการชี้แนะจากผู้ปกครองที่เป็นผู้ใหญ่ในวันนี้ที่มีความผูกพันและศรัทธาเท่านั้น
2 ) ปัจจัยการบริหาร เนื่องจากสภาพโรงเรียนที่มีอายุเก่ากว่า
50 ปี และประกอบกับข้อบังคับการปฎิรูปการศึกษา คณะกรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ
ฯ ได้ให้งบประมาณในการพัฒนาอาคารสถานที่ของโรงเรียนทั้งสองแห่ง เพื่อปรับปรุงการบริหารโรงเรียน
ทำให้สร้างภาพลักษณ์เพื่อดึงความสนใจขึ้นในบุคคลภายนอกที่พบเห็น อีกทำให้เป็นที่ยอมรับในส่วนราชการที่เป็นผู้กำกับดูแลโรงเรียนในการรับรองคุณภาพ
และมาตรฐานโรงเรียนในอนาคต แต่กลับเป็นจุดอ่อนที่ไม่ช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการบริการเพื่อหารายได้ให้สูงเพื่อมาชดเชย
แบบการลงทุนในวงการธุรกิจโรงเรียนได้ครบวงจร ก็ด้วยอุปสรรคจากวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
ฯ และด้วยสภาพแวดล้อมของสังคมเมืองหลวง ที่ผู้ปกครองที่มีรายได้จะไม่นิยมส่งเด็กมาเรียนในโรงเรียนที่มีนโยบายสงเคราะห์
เพราะไม่มั่นใจในทางพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมทางสังคมของหมู่เพื่อนเด็กๆ
ด้วยกันที่แตกต่าง ผู้ปกครองที่มีรายได้สูงมักยึดติดค่านิยมทางวัตถุ
และความมีอำนาจในสังคมของกลุ่มผู้ปกครอง ตรงกันข้ามผู้ปกครองที่นำบุตรหลานมาเข้ากลับคาดหวังที่จะให้โรงเรียนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทุกสิ่งทุกอย่างในการเรียนอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นการอนุมัติการใช้เงินจำนวนมากเพื่อการพัฒนาสถานที่สิ่งแวดล้อมอย่างที่ไม่เคยทำในอดีตกว่า
50 ปี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหาใหญ่ก็คือ ทำให้การมีส่วนร่วมของบุคลากรสัมมาชีวศิลป
ซึ่งต่างก็อยู่ในผลกระทบในเรื่องค่าครองชีพในสังคมเมืองที่ค่อนข้างสูง
เมื่อเทียบกับตำแหน่งหน้าที่ๆ ควรได้ตามกระแสปฎิรูปครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงและต้องเงินเดือนสูงด้วย
จึงทำให้บุคลากรเกิดความคิดที่จะเรียกร้องให้ปรับปรุงเรื่องอื่นๆ ตามมาอีกหลายเรื่อง
โดยไม่รับรู้ต่อผลกระทบของโรงเรียนในอนาคต เช่น การปรับเงินเดือน, ค่าตอบแทนอื่นๆ
จากการปฏิบัติงานพิเศษ, สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้น
3) ปัจจัยการส่งเสริมการจัดการศึกษา ปัจจุบันโรงเรียนภาครัฐ ได้มีบทบาทในการจัดการศึกษาอย่างเป็นอิสระและมีการจัดให้บริการในทางธุรกิจอย่างกว้างขวาง
โดยอาศัยข้อได้เปรียบทางสถานที่และจำนวนบุคลากร ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ทำให้การขยายการจัดบริการให้สามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มีจำนวนได้มากยิ่งขึ้น
จึงเป็นจุดอ่อนทำให้การจัดการศึกษาของภาคเอกชนต้องได้รับผลลดลง ดังข้อมูลทางราชการว่าในปีการศึกษา
2533 ภาคโรงเรียนเอกชนเคยมีส่วนแบ่งในจำนวนนักเรียนระดับอนุบาล ถึงร้อยละ
25 ของนักเรียนที่เข้า แต่จากปีการศึกษา 2541 โรงเรียนภาคเอกชนมีส่วนแบ่งเพียงร้อยละ
20 นับปีจะลดลง ( และสถิติข้อมูลประชากรเด็กลดลงทุกๆ ปี )นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า
คณะกรรมการประกันคุณภาพจากภายนอก ผู้มีหน้าที่รับรองคุณภาพการศึกษา กลับออกระเบียบว่า
หากโรงเรียนใดมีอัตราส่วนจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนน้อยกว่า 30 คนให้ถือว่าเป็นสถานศึกษาที่ใช้จ่ายไม่คุ้มการลงทุน
เป็นโรงเรียนไม่มีคุณภาพด้วย ???? ก็จะทำให้โรงเรียนเอกชนขนาดเล็กจะต้องปิดโรงเรียนเร็วขึ้น
คงอยู่ได้แต่โรงเรียนเอกชนทางธุรกิจที่มีทุนสูงและมีกระแสนิยมสังคมกลุ่มคนมีฐานะเท่านั้น
และจากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนระบุว่าหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการจัดการศึกษายังไม่ปฏิบัติตามนโยบาย
กฏ ระเบียบ ต่างๆ มีจำนวนมาก เช่น นโยบายขยายจำนวนและชั้นเรียนโรงเรียนรัฐให้รับประชากรเด็กได้ทั้งหมดโดยอ้าง
พรบ.การศึกษาแห่งชาติที่รัฐต้องให้การศึกษาเด็กทุกคนโดยไม่รับฟังปัญหาของโรงเรียนเอกชน
จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เอกชนไม่มั่นใจในการเข้ามาลงทุนจัดการศึกษา
จากการศึกษาปีการศึกษา 2542 จำนวนโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ
มีโรงเรียนเอกชนเพียงร้อยละ 30.82 สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนได้ร้อยละ
60 และร้อยละ 43.85 สามารถเก็บได้เพียงร้อยละ 40 - 59 และมีถึงร้อยละ
19.82 ที่เก็บได้ไม่เกินร้อยละ 29 ของค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐ
แสดงว่าโรงเรียนที่ได้รับการอุดหนุนร้อยละ 40 ของค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐ
( โรงเรียนสัมมาชีวศิลป ) ประมาณร้อยละ 19.82 มีรายได้สำหรับจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน
1 คน เพียงร้อยละ 69 ของค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐเท่านั้น ดังนั้นการอุดหนุนค่าใช้จ่ายของนักเรียนเป็นรายหัวบุคคลยังไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง
ปัญหาที่มาจากสังคมพบว่าโรงเรียนสัมมาชีวศิลปและโรงเรียนเอกชนส่วนหนึ่งต้องรับเด็กที่มาจากครอบครัวมีรายได้น้อยเพราะปัญหาต่างๆ
ไม่สามารถเข้าโรงเรียนรัฐที่มีระเบียบกฏเกณฑ์ ซึ่งทำให้ไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนได้เพียงพอกับรายจ่ายบุคลากร
แต่รัฐกลับพยายามหาข้อความมาสนับสนุนกระทรวงศึกษา ว่าทำอย่างไรจะไม่ต้องจ่ายเงินรายหัวนักเรียนที่ไปเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน
( ซึ่งโรงเรียนใหญ่ ๆ ก็ไม่ต้องการให้รัฐเข้าไปกำหนดควบคุม ) ดังสรุปการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐบาล
มีหน้าที่ต้องจัดที่เรียนไว้ให้กับนักเรียนทุกคนแล้ว โดยการให้โรงเรียนรัฐเพิ่มชั้นและจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียนได้
โดยมิได้คำนึงถึงคุณภาพการศึกษา ดังนั้นหากผู้ปกครองจะนำเด็กไปเข้าโรงเรียนเอกชน
ก็เท่ากับไม่ต้องการใช้สิทธิการศึกษาที่รัฐจัดให้ จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายตามที่โรงเรียนเอกชนเรียกเก็บโดยรัฐไม่จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือ
ซึ่ง ณ เดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งต้องรับนักเรียนแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจนว่ารัฐจะให้การสนับสนุนโรงเรียนเอกชนสามัญขนาดเล็กๆ
อย่างไร ? จนเดือนมิถุนายน 2547 จึงได้คำตอบแต่โรงเรียนสัมมาชีวศิลปที่เคยได้รับเงินอุดหนุนนักเรียนอนุบาล
1 กลับถูกตัดทำให้ไม่สามารถไปเอากับผู้ปกครองได้
ด้านบุคลากร จากปัญหาขาดงบประมาณดังกล่าวทำให้ครูโรงเรียนเอกชนจึงไม่ค่อยได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
โรงเรียนเอกชนประสบปัญหาการขาดแคลนครูบางสาขาวิชา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษาในภาพรวม
จากนโยบายปฏิรูปการศึกษาปัจจุบัน ทำให้เกิดวิธีการแข่งขันในรูปแบบใหม่ของพื้นที่บริการต่อกลุ่มเป้าหมายภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรทางการศึกษาและความพร้อมของแต่ละโรงเรียนเข้าแบบ
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เป็นผลให้คุณภาพของการจัดการศึกษาต้องกลายเป็นระบบทุนนิยมมากขึ้นและเพิ่มความยุ่งยากในการกำหนดทิศทางการพัฒนา
ด้านศีลธรรม ของโรงเรียนมูลนิธิฯ เพื่อให้มีคุณภาพเป็นไปตาม พรบ. การศึกษาได้
4) ปัจจัยการปฏิรูปตามกฏหมาย ระบบการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษา
2542 บังคับให้ทุกโรงเรียนต้องปรับการบริหารจัดการหลายด้าน เช่น ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อม
ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการเรียนการสอนและสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา
โรงเรียนต้องเข้าประเมินคุณภาพจากองค์กรธุรกิจภายนอกที่ สมศ. รับรอง
ยุบกรมวิชาการแล้วให้ทุกโรงเรียนไปทำวิชาการทุกอย่างแทน ทำให้เป็นจุดเปรียบเทียบสถานะสิ่งแวดล้อมในการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนใหญ่ๆ
เพื่อแข่งขันแย่งชิงลูกค้าแบบธุรกิจ
สำหรับด้านโรงเรียนภาค รัฐ รัฐบาลก็ต้องจัดหางบประมาณเพิ่มขึ้นในการให้การศึกษาเพื่อให้เป็นตาม
พรบ.การปฎิรูปการศึกษา จึงส่งเสริมให้โรงเรียนของภาครัฐต้องพัฒนาทุกด้าน
และซึ่งมีนักเรียนจำนวนมากจะได้งบประมาณสนับสนุนรายหัวสูงขึ้นจากเดิม
อีกอย่างคือ เนื่องจากพ.ร.บ.ใหม่ยังเปิดโอกาสให้องค์กรการศึกษาทางธุรกิจเอกชน
ที่เรียกว่าการศึกษานอกระบบ หรือให้ผู้ปกครองหรือคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรหรือกิจกรรมทางด้านการศึกษา
นับเป็นจุดแข็งให้มีการแข่งขันทางศึกษา และผู้เรียนมีโอกาสเลือกได้มากขึ้น
แต่เป็นจุดอ่อนซึ่งส่งผลให้โอกาสของโรงเรียนมูลนิธิ หรือองค์กรการกุศลที่มีนักเรียนจำนวนน้อย
และไม่มีทุนสูงพอในการจะลงทุนพัฒนาแบบแข่งขันเปรียบเทียบ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่อ้างกันว่าเป็นมาตรฐาน
และกำหนดแบบก้าวกระโดดให้ได้ผลทันทีทันใดตามที่ผู้มีอำนาจอยากแสดงผลงาน
จึงไม่ใช่การพัฒนาประเทศแบบพอเพียง แต่จะทำให้โรงเรียนที่มีทุนน้อยไม่สามารถดำเนินการต่อไป
และต้องล้มเลิกไปเอง ดังนั้นโรงเรียนโรงเรียนสัมมาชีวศิลป คงต้องได้รับผลกระทบด้วยหากจะใช้เงินที่ได้ในปัจจุบันที่ยังไม่พอจ่ายเงินเดือนบุคลากรที่ไม่มากนัก
แต่ต้องพัฒนาเพื่อแข่งขันการจัดการตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ จะทำให้การให้บริการไม่สามารถจัดได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายตามกระแสสังคมเมือง
หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและผู้มีพระคุณบริจาคต่อมูลนิธิ
กลับหัวเรื่อง
บทสรุป
เพื่อให้โรงเรียนสัมมาชีวศิลปสามารถจัดบริการทางการศึกษา ได้ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
และภารกิจที่กฎหมายปฏิรูปการศึกษากำหนด จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากร พัฒนาการศึกษาและสถานศึกษา
ทั้ง 3 เรื่องดังที่กล่าวมาแล้วอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ เดือนธันวาคม
พ.ศ.2539 ถึงแม้ว่าจะดูเป็นการใช้จ่ายต้องสูงกว่ารายได้ นั่นคือการลงทุนทางการศึกษาในอนาคตที่ไม่สามารถประเมินได้ในระยะเวลาสั้นๆ
อย่างที่นักวิชาการบริหารอยากให้ได้เห็นในรอบอำนาจที่ตนตำรงอยู่
สิ่งสำคัญต้องได้รับความช่วยเหลือจากประชาชนผู้มีใจเป็นกุศลบริจาคกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาตามโยบายสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯมากขึ้นและต้องทำโครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ให้โรงเรียนมีความมั่นคงในระยะยาว การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
พร้อมทั้งต้องจัดทำระบบข้อมูลเพื่อวางแผนวิเคราะห์การบริหารจัดการที่สามารถช่วยเหลือสังคมตามศรัทธาของผู้บริจาค
อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ และจัดสรรงบประมาณสนองความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นของโรงเรียน
และบุคลากร ได้ตามเกณฑ์ความพอเพียง ด้วยการดำรงชีพอย่างเป็นสุข ความเสมอภาค
และความยุติธรรม โดยการเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคลากร, กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และกลุ่มผู้ที่ให้การอุปถัมภ์บริจาค ที่มีความศรัทธาต่อวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
ฯ เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียน โดยเฉพาะการร่วมวางแผน
และควบคุมการบริหารจัดการด้วยความเสียสละ จะทำให้เขาเหล่านั้นได้มีส่วนร่วมรับรู้เข้าใจปัญหา
ความจำเป็นต่างๆ จะทำให้มีการปรับเปลี่ยนความต้องการ และปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างมีความสุข
และประการสำคัญผู้บริหารโรงเรียนต้องไม่เป็นเพียงนักบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์เท่านั้น
หากต้องเป็นผู้ เสียสละไม่เรียกร้องค่าตอบแทนเกินกว่าการดำรงชีพพอเพียงและมีมนุษยสัมพันธ์ชั้นยอด
สามารถระดมทรัพยากรบุคคลอาสาพัฒนาที่มีคุณค่ายิ่งในแต่ละสาขาวิชา ( ครูปัจจุบันที่มีความสุขจากการเป็นผู้ให้
) กับทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคลากรของหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน
องค์กรและสถาบันทางสังคมต่าง ๆ รวมทั้งวัด และแม้แต่บิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
มาช่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่นักเรียนสัมมาชีวศิลปให้มากที่สุดด้วยค่าจ้างเพียงเล็กน้อย
จึงคาดว่าวิธีการเช่นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้ ค้นคว้า และค้นพบความรู้ต่างๆ
จากกลุ่มบุคคลถือเป็นครูต้นแบบที่มีคุณธรรมสูง ( ไม่ใช่ครูรับจ้างที่รัฐกำหนดให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
ต้องได้รับค่าจ้างสูง ) ในความรู้สึกแบบญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวมีสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติด้วยตนเอง
และจะช่วยให้นักเรียนของสัมมาชีวศิลป เกิดความภาคภูมิใจในการได้รับความเมตากรุณาจากสังคมด้วยตนเอง
เป็นการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะชีวิต และ หล่อหลอมให้เขาเหล่านั้นได้ฝังความรู้สึกกตัญญู
กตเวที ต่อโรงเรียนและเป็นบุคคลตามปรัชญาของโรงเรียน ที่ว่า มีศีลธรรม
นำปัญญา เกื้ออาชีพ ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนตลอดไป .
*************************************