อนุโมทนาแด่ผู้ศรัทธาบริจาค
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
เรียบเรียงโดย
นายมนัส ศรีเพ็ญ
กรรมการเลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จากผู้ริเริ่มประกอบด้วย หลวงปริญญาโยควิบูลย์, พระยาอมรฤทธิธำรง, พระปวโรฬารวิทยา, พระสงครมภักดีและพระอร่ามรณชิต
จัดตั้งมูลนิธิชื่อว่า สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ
เมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๒ และได้จัดตั้งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ ที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป ที่ริมอ่างเก็บน้ำบางพระ ตำบลสุรศักดิ์
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
คณะผู้ก่อตั้งได้ปรารภกันเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศไทย
ในช่วง ปี พ.ศ. 2470 ประเทศไทยยังไม่ได้เรื่องสิทธิมนุษยชนสมบูรณ์ ได้นำเรื่องประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเลิกทาษในประชาชนผิวดำ และให้ปล่อยทาส ทำให้เป็นผู้เร่ร้อนขอทานฯ แต่ได้ ดร. ยอร์ช วอชิงตัน คาร์เวอรซึ่งเกิดมาเป็นลูกทาส ในเรือนเบี้ยที่ไร่ฝ้าย ได้พยายามศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จ ได้จัดพื้นที่เกษตรกรรมและก่อตั้งโรงเรียนสอนชนผิวเดียวกันเจริญอยู่ในปัจจุบัน...........
และอีกกับความวิตกกังวลต่อการสืบพระพุทธศาสนา
เนื่องในโบราณกาลวัดเคยเป็นโรงเรียนไปด้วยในตัว เยาวชนที่ปรารถนาจะเล่าเรียนต้องไปอยู่ที่วัด
โดยขอเข้าเป็นศิษย์ของพระภิกษุ มีการสอนอ่านและเขียน สอนคำนวณ เป็นลูกมือรับใช้ซ่อมแซม ถือเป็นการเรียนวิชาช่าง ฝึกสวดมนต์และฟังธรรมตามโอกาส
จึงไม่มีสิ่งชักนำไปในทางชั่ว
ต่อมาเมื่อรัฐจัดการศึกษาตั้งโรงเรียนขึ้น แทนการส่งเด็กไปวัด
เราก็ส่งไปโรงเรียน การศึกษาวิชาการได้เพิ่มขึ้น แต่การศาสนาคงทิ้งไว้ในวัด สิ่งแวดล้อมก็มีการยั่วยวนให้ลุ่มหลงไปในทางอบายมุขมาก
จึงไม่ สามารถช่วยตัวให้ดำเนินชีวิตไปอย่างดีได้ยาก
ทำให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับการศึกษาดีแล้ว กลับมีคุณธรรมต่ำกว่าผู้ไร้การศึกษาในชนบท ซึ่งความจริงคนชนบทเขาหาได้ไร้การศึกษาไม่
หากเขามีการศึกษาตามแบบเก่า ไม่มีหลักสูตร
มีแต่การเรียนและปฏิบัติจริงตามธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ตนอยู่
ซึ่งสร้างคุณธรรมประกอบด้วยคติธรรมตามพระพุทธศาสนาให้เขา ด้วยถ้าผู้ได้รับการศึกษาสูงเป็นคนโกง
ก็ยิ่งเบียดเบียนคนอื่นได้มาก เพราะคนฉลาดมักเอาคนด้อยการศึกษาเป็นเหยื่อเพื่อประโยชน์ของเขา
ซึ่งสอดคล้องกับสำเนาพระราชหัตถเลขาของ
สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ฉบับที่ 52 เรื่อง สอนธรรมแก่เด็กนักเรียน ที่พระราชทานแก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร ลงวันที่ 24 กรกฎาคม ร.ศ.117 ความว่า
เรื่องการศึกษานี้ ขอให้ทรงช่วยดัดให้มากๆ
จนถึงรากเหง้าของการศึกษาในเมืองไทย .......
การสอนศาสนาในโรงเรียนทั้งในกรุงและหัวเมืองจะต้องมีขึ้น
ให้มีความวิตกว่าเด็กชั้นหลัง
จะห่างเหินจากศาสนาจนกลายเป็นคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น......
ต่อไปภายหน้าถ้าจะเป็นคนที่ได้เล่าเรียน คงจะประพฤติตัวดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่าเรียนนั้นหาถูกไม่
คนที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินตาม
...... ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่ใคร่คล่อง หรือ
โกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้นและโกงพิสดารมากขึ้น......
ด้วยการบริหารประเทศไทยในอดีต มิได้ให้ความสำคัญเรื่องการจัดการศึกษาให้กับประชาชนที่เป็นชาวบ้านทั่วๆไปมายาวนาน.......
นโยบายของคณะผู้ก่อตั้ง ที่ส่งเสริมการศึกษาควบคู่ไปกับพระพุทธศาสนา
จนถึงปัจจุบันนี้
นับจากที่ก่อตั้งสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จนปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่าหกสิบกว่าปี ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 14,000.00 บาท ปัจจุบัน ณ.ปี พ.ศ.2555 สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
ปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 169,565,178.79 บาท
(
หนึ่งร้อยหกสิบเก้าล้านห้าแสนหกหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบแปดบาทเจ็ดสิบเก้าสตางค์
) แบ่งออกเป็นมูลค่าที่ดินและอาคาร 139,205,000.00 บาท และเงินสดมูลค่า
30,360,158.79 บาท
อะไรเป็นปัจจัยทำให้สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
ได้รับการรับรองจากกรมสรรพากร ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์กรสาธารณกุศล
ตามมาตรา 47(7) (ข) ด้วยในระเบียบองค์กรสาธารณกุศล
มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นมูลนิธิที่ดำเนินการไม่แสวงหาผลกำไร และจะต้องนำรายได้ไม่น้อยกว่า
80 เบอร์เซ็น ใช้จ่ายออกไปเพื่อด้านสาธารณกุศลเท่านั้น จะเอาไปใช้ด้านบริหารหรือเก็บสะสมมิได้
แต่ด้วยที่ตั้งสำนักงานสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ก็คือพื้นที่โรงเรียนฯ พนักงานก็คือเจ้าหน้าที่โรงเรียน จึงกล่าวได้ว่า รายจ่ายทั้งหมด 100 เบอร์เซ็น จ่ายไปตามวัตถุประสงค์ในตราสารทั้งสิ้น แต่ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาตลอด
คือ
1.
คณะผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้บริหารที่ผ่านมาจำนวน 30 กว่าคณะ
ได้เข้ามาร่วมบริหารด้วยความเสียสละทั้งความสามารถและทรัพย์ส่วนตัว
โดยไม่รับค่าตอบแทนไดๆทั้งสิ้น จากตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินกิจการ
( ตามตราสารมูลนิธิฯ ) ทำให้ประหยัดเงินค่าบริหารจัดการได้หลายล้าน.......
2.
หลวงปริญญาโยควิบูลย์และทายาท ได้เป็นกำลังหลักในการบริหารและให้การบริจาคที่ดินส่วนตัวและสร้างอาคารชมอุทิศที่จังหวัดชลบุรี
เพื่อใช้เป็นสถานที่ดำเนินการ ด้วยปัจจุบันกรมสรรพากร มีระเบียบการแสดงงบดุล ให้ทรัพย์สินส่วนของอสังหาริมทรัพย์
สามารถให้บริษัทรับอนุญาตเป็นผู้ประเมินทรัพย์สินใหม่ตามมูลค่าการซื้อขายในแต่ละพื้นที่ ขึ้นต่อความเจริญทางธุรกิจได้ จึงทำให้มูลค่าทรัพย์สิน
ส่วนที่เป็นที่ดินและอาคารของโรงเรียนสัมมาชีวศิลปทั้งสองแห่ง
ได้รับการประเมินใหม่และมีมูลค่าสูงขึ้นจากราคาซื้อปัจจุบัน..
3. ผู้ศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1 บริจาคเพื่อสนับสนุนการบริหารโดยตรง จัดเป็นการบริจาคให้นำไปใช้ทั้งสิ้น เและกลุ่มที่ 2 การจัดตั้งเป็นกองทุนบุญญนิธิ ฯ ไว้เป็นอนุสรณ์ส่วนตัวหรืออุทิศบุญกุศลให้แก่บุพการี ตามนโยบายสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ฯ เงินส่วนนี้มูลนิธิฯ ได้นำเอาเพียงดอกเบี้ยไปเป็นค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์มูลนิธิ
ทำให้มีกองทุนเงินสดสะสมเพิ่มขึ้นทุกๆปี
และปัจจุบันกองทุนบุญญนิธิ ฯ ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 มีเงินสะสมทั้งสิน
14,923,453.04 บาท และเมื่อเดือนกันยายน
พ.ศ. 2555 สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ได้นำเงินสดจำนวน 16 ล้าน
ไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง อัตราดอกเบี้ยร้อยละ3.99 ต่อปี ซึ่งเงินสดในชื่อกองทุนจะยังคงจารึกไว้ตลอดไป
4. บุคลากรสัมมาชีวศิลป
ทุกระดับต่างล้วนให้ความร่วมแรงร่วมใจอาสา ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักเมตตาธรรม
และควบคุมการดำรงชีพแต่พอเพียง ไม่เรียกร้องค่าตอบแทน ด้วยการสร้างความสุขจากการทำงานตามคำสอนในพระพุทธศาสนามายาวนานตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
คณะกรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารการศึกษาอันนับเป็นพลังสำคัญหลักเพื่อเข้ามาช่วยการบริหารจัดการพัฒนาโรงเรียนทั้งสองแห่ง
มายาวนานกว่า 60 ปี
แต่ปัจจุบันได้กำหนดให้มีพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
พ.ศ. 2550 ออกมาบังคับให้การบริหารโรงเรียนเอกชน
ว่าต้องเป็นนิติบุคคลและจัดให้มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนขึ้นมาใหม่ มีผลตั้งแต่ปีการศึกษา
พ.ศ. 2553 ทำให้โรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ
จะต้องมีการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติ
โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และต้องมีการตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษาทางวิชาการโดยคณะกรรมการจากกระทรวงศึกษาธิการ
และตรวจประเมินคุณภาพในแต่ละระดับตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
( สมศ. ) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายนอกได้ตรวจรับรองอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก
5 ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย ................
ผลกระทบอันมาจากพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
ถือเป็นการรอนสิทธิต่อเจ้าของโรงเรียนเอกชนที่ได้ดำเนินการมาก่อนทั้งหมด
ในการที่เคยได้เป็นผู้รับอนุญาตให้บริหารจัดการโรงเรียนฯ โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่เก่า
กลับถูกรอนสิทธิการบริหารส่วนตัวเดิมไปเป็นนิติบุคคล
และจะต้องจัดหาเงินทุนสำรองให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนได้ใช้จ่ายให้เพียงพอตลอดในการดำเนินกิจการ อีกทั้งต้องโอนอำนาจใช้ทรัพย์สินส่วนที่เป็นพื้นที่โรงเรียนทั้งหมดไปเป็นโรงเรียนนิติบุคคลตามกฎหมายใหม่
ไม่น้อยกว่า 10 ปี ( ปัจจุบันมี พรบ.ฉบับืั้ 2 แก้ยกเลิกการโอนทรัพย์สินแล้ว สรุปคือมูลนิธิต้องใช้เงินไปปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่โรงเรียนสัมมาฯ ทั้งสองแห่งมาลอด ) ซี่งในช่วงแรกนั้นจึงเป็นเหตุให้โรงเรียนเอกชนเก่าๆ
หลายโรงเรียนต้องปิดตัวลง เช่น
ตัวอย่างต่อไปนี้
เรียน ศิษย์เก่า ศ.น.ทุกท่าน
โรงเรียนศึกษาสมบูรณ์อนุสรณ์ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี๒๔๐๔ ด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้าของ
อาจารย์
แต่ในระยะหลังๆนี้ โรงเรียนได้รับผลกระทบมากมายขึ้นหลายด้าน
ทั้งจากกฎหมาย และนโยบายของรัฐ และจากการสภาพการแข่งขันในด้านการศึกษาที่เกินพอดี
โดยเฉพาะปัญหาจากทางภาครัฐ เช่น
เงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้ของพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.๒๕๕๐ นโยบายเรียนฟรี๑๕ปี
นโยบายเเจกฟรีของโรงเรียนสังกัด กทม. นโยบายการให้เปิดโรงเรียนใหม่ในบริเวณที่มีโรงเรียนเดิมหนาแน่นอยู่แล้ว
นโยบายการรับครูเข้ารับราชการระหว่างปี ปัญหาขาดแคลนครูและลดโอกาสในการประกอบวิชาชีพครู
เป็นต้น และปัญหาการแข่งขันอย่างรุนแรงของโรงเรียนเอกชน และปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้โรงเรียนประสบปัญหาสภาวะจำนวนนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่อง
และยังมีปัญหาสุขภาพของผู้บริหารอีกด้วยจากเหตุผลดังกล่าว จึงเห็นว่าควรจะปิดกิจการตั้งแต่จบปีการศึกษา๒๕๕๔เป็นต้นไป
ดร.
ดร.วีรวัฒน์
กล่าวว่า สมาคม ร.ร.เอกชน พยายามให้การแก้ไข พ.ร.บ.ร.ร.เอกชน เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
เพราะหากไม่ทันอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของ ร.ร.เอกชน
นาย
ทำไมโรงเรียนสัมมาชีวศิลปทั้งสองแห่งยังสามารถดำเนินการอยู่ได้
?
เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกราบเรียนมายังท่านผู้มีพระคุณได้ทราบ
คือ
1 การกำหนดให้โรงเรียนฯ เป็นนิติบุคคล ไม่มีปัญหาต่อโรงเรียนสัมมาชีวศิลป เพราะมิได้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ใด
แต่เป็นของประชาชนผู้บริจาคทั่วไปอยู่แล้ว และสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ก็อยู่ในฐานะผู้รับใบอนุญาต จึงได้เป็นผู้จัดทำตราสารนิติบุคคลโรงเรียนฯ
ทั้งสองแห่งโดยให้มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปเขียนไว้เป็นหลักสำคัญ
2 การบริหารโรงเรียน ฯ มีประธานมูลนิธิฯ
ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตเป็นประธานกรรมการบริหารแล้ว ก็ได้แต่งตั้งกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เข้าไปร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และได้เขียนกำหนดไว้ในตราสารโรงเรียนฯ
ให้กรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงเรียนฯ
, ให้กรรมการกิตติมศักดิ์ฯ เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนฯ และให้เจ้าของทุนบุญญนิธิ หรือ ทายาทเป็นผู้อุปการะโรงเรียนฯ
3 การบริหารงบประมาณ มีปัญหาต้องจัดทำประมาณการงบประมาณประจำปีในรูปขาดดุล
ในระยะต้นๆ นี้ ด้วยพ.ร.บ.
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อปฏิรูประบบการศึกษาใหม่ กับ พ.ร.บ.
การศึกษาเอกชน พ.ศ. 2550 ทำให้การบริหารโรงเรียนต้องมีงบประมาณในการพัฒนาปรับปรุงใหม่
เช่น ด้านการบริหารจัดการ, การเรียนการสอน,
การพัฒนาคุณวุฒิบุคลากรและปรับเงินเดือนตามวุฒิ, การพัฒนาครุภัณฑ์สื่อการสอน ,
การพัฒนาอาคารสถานที่ ฯลฯ ซึ่งต้องใช้จ่ายงบประมาณสูงกว่ารายได้จากเงินอุดหนุนและค่าธรรมเนียมต่างๆ
ที่ต่ำกว่าโรงเรียนเอกชนทั่วๆไป ด้วยเป็นโรงเรียนการกุศลที่ไม่แสวงหากำไรทางธุรกิจ ...............
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ได้โอนเงินสดเป็นทุนสำรองให้โรงเรียนๆ ละ 3
ล้านบาท ตามตราสารโรงเรียนฯ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมโครงงานพิเศษต่างๆ
ของการเรียนการสอนด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมประจำชาติ ให้เป็นไปตามแผนที่โรงเรียนกำหนด
ซึ่งในปีการศึกษา 2553, 2554, 2555
ภายหลังจากโรงเรียนได้แยกการบริหารเป็นนิติบุคคลแล้ว ปรากฏรายได้จากค่าธรรมเนียนและเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ยังไม่เพียงพอต่อการบริหารและพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่กฎหมายต้องการได้ แต่ด้วยบุญกุศลจากกองทุนบุญญนิธิที่ท่านทั้งหลายได้บริจาคสะสมให้ไว้ ถ้าจะเปรียบได้กับกองมรดกเก่าที่บุพการีได้สร้างสมไว้ให้
และส่วนนี้เองที่ทำให้สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ สามารถให้การสนับสนุนโรงเรียนสัมมาชีวศิลปได้ดำเนินอยู่จนปัจจุบันด้วยดี และได้รับการประเมินคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาทั้งสามรอบ
ให้อยู่ในระดับ ดี เกือบทุกตัวบงชี้
จึงสรุปได้ว่าการดำเนินกิจการโรงเรียนสัมมาชีวศิลปทั้งสองแห่ง
จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จากเพียงลำพังในการเก็บค่าธรรมเนียมและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเท่านั้น หากขาดเสียจากพลังผู้ศรัทธาทท่านได้ให้การสนับสนุนทุกด้านดังกล่าวทั้งในอดีต ปัจจุบัน
และอนาคตต่อไป.....
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ขอแสดงมุทิตาและอนุโมทนาแด่ท่านผู้ศรัทธาบริจาคดังรายชื่อกองทุนที่ได้จารึกในนามทุนต่างๆ
อีกทั้งคณะกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ
ทั้งในอดีตและปัจจุบันไว้ ณ ที่นี้ด้วย ดังพุทธศาสนสุภาษิตบทที่ว่า
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ แปลความว่า การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง"
เช่นเดียวคือ การให้ความรู้ทางการศึกษาเป็นกุศลสูงสุด
และจากบทประพันธ์ของท่านศาสตราจารย์ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ อดีตประธานสัมมาชีวศิลปไห้ไว้ดังนี้
กุศลกรรม
เมื่อถึงวันชีวินต้องสิ้นสูญ
ทรัพย์มากมูลใครเล่าเอาไปได้
คงมีแต่กุศลกรรมอันอำไพ
ที่ติดตามไปในปรภพ.
--------------------------------------------------------------------------------------