การเสียชีวิตจากหลอดลมอุดตัน
การป่วยฉุกเฉินเกิดได้กับประชาชนทุกระดับ ไม่ยกเว้นคนรวย หรือจน ....
หากเกิดกับคนจน หลายๆ คนต้องเสียชีวิต เพราะไม่มีเงินรักษา ?????
คำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่า " อโรคยา ปะรมาราภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ " พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า " การมีโรคนั้นเป็นปกติธรรม ของการมีร่างกาย " ตราบใดที่กายยังอยู่ คำว่าปราศจากโรคนั้นย่อมไม่มี " ดังนั้นคำว่า อโรคยา ปะรมาราภา หมายถึงโรคทางจิตที่ขาดปัญญามากกว่า .
ความสุขที่เห็นได้ พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
อันความสุขย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทุกๆ คน และทุกๆ คนย่อมเคยประสบความสุขมาแล้ว ความสุขเป็นอย่างไรจึงเป็นที่รู้จักกันอยู่ ในเวลาที่กายและจิตใจอิ่มเอิบสมบูรณ์สบาย ก็กล่าวกันว่าเป็นสุข
ความสุขจึงเกิดขึ้นที่กายและจิตใจนี่เอง
สำหรับกายนั้น เพียงให้เครื่องอุปโภคบริโภคพอให้เป็นไปได้ ก็นับว่าสบาย แม้กายสบายดังกล่าวมานี้ ถ้าจิตไม่สบาย กายก็พลอยซูบซีดเศร้าหมองด้วย ส่วนกายเมื่อไม่สบายด้วยเจ็บป่วยหรือด้วยความคับแค้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจิตยังร่าเริงสบายอยู่ ก็ไม่รู้สึกเป็นทุกข์ร้อนเท่าใดนัก และความไม่สบายของกายก็อาจบรรเทาไปได้ ...........
ต่างชาติชื่นชมไทย ต้นแบบระบบหลักประกันสุขภาพโลก
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เมื่อเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา มีการประชุมกลุ่มนโยบายด้านการต่างประเทศและสาธารณสุข (Foreign Policy and Global Health-FPGH) ที่คณะผู้แทนถาวรฝรั่งเศสประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในการประชุมครั้งนี้มีข้อเสนอให้เรื่องสาธารณสุขอยู่ในลำดับความสำคัญสูงของวาระของเป้าหมายแห่งการพัฒนาสหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs) หลังปี 2558 โดยเน้นประเด็นเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage-UHC) เนื่องจากเป็นระบบที่สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและช่วยขจัดความยากจนแก่ประชาชน เพื่อเสนอต่อสหประชาชาติให้บรรจุเป็นวาระของโลกต่อไป
Judith Rodin ประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และ David De Ferrnati ประธาน The Result for Development Institute ได้เขียนบทความลงในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ China Daily ฉบับวันเสาร์ที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า มีการประชุม Global Symposium on Health Systems Research (HRS) ครั้งที่ 2 ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2012 ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นักวิจัย ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารกองทุน ฯลฯ การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จของระบบหลักประกันของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และเป็นต้นแบบให้กับการสร้างหลักประกัน (Universal Health Coverage) ให้กับประเทศอื่นๆ โดยมีหลักฐานชัดเจนจากหลายประเทศ แสดงให้เห็นว่า ประเทศที่มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุม จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะการที่ประชาชนที่มีสุขภาพไม่ดีย่อมส่งผลให้ผลผลิตของประเทศลดลง
ในที่ประชุมได้มีการยกตัวอย่างประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2545 ปัจจุบันมีความครอบคลุมเกือบ 100% ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น และช่วยให้จำนวนครัวเรือนที่ล้มละลายจากภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจุบันประเด็นสุขภาพได้ถูกจัดให้เป็นวาระของโลก ไม่ได้เป็นเรื่องของประเทศที่ร่ำรวยหรือยากจน แต่เป็นเรื่องที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกัน และเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศในเอเชีย แม้ว่าจะมีความหลากหลายทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่สามารถพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ประสบความสำเร็จ จนเป็นแบบอย่างของโลกอย่างเช่นประเทศไทย มีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การมีนโยบายทางการเมืองที่ชัดเจน และมีผู้นำในการขับเคลื่อนที่เข้มแข็ง
Judith และ David สรุปในตอนท้ายว่า ในที่สุดแล้ว ไม่ควรมีใครเลยที่ต้องล้มละลายจากปัญหาสุขภาพ ไม่ควรมีใครเลยที่จะต้องจมปลักอยู่กับความเจ็บป่วยเพียงเพราะปัญหาทางการเงิน และไม่ควรมีใครเลยที่ต้องถูกบังคับให้จ่ายค่ารักษาแพงๆ เพียงเพราะการส่งเสริมป้องกันโรคล้มเหลว.
วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2555
เรื่องที่ วิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข แถลงไว้ว่าเป็นผลงานนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้านสาธารณสุข โดยมีการระบุด้วยว่า... ปัจจุบันจากจำนวนคนไทยที่มีหลักประกันสุขภาพแล้วร้อยละ 99.85 หรือราว 64.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นส่วนที่มีหลักประกันสุขภาพโดยใช้ 30 บาท รักษาทุกโรค ราว 48.5 ล้านคน กว่าครึ่งของคนไทย...ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะ มีกลุ่มประชาชนที่ ได้รับการยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาท ทั้งหมด 21 กลุ่ม ประกอบด้วย...1. ผู้เข้ารับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ฉุกเฉินเร่งด่วน หรือเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลชุมชน, 2. ผู้มีรายได้น้อย, 3. ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคคลในครอบครัว, 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว, 5. ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี, 6. เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี, 7. คนพิการ ทั้งที่มีบัตรและไม่มีบัตรประจำตัว, 8. พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง และบุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลาม, 9. ทหารผ่านศึกทุกระดับที่มีบัตร และบุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท
10. นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, 11. นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์, 12. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว, 13. อาสาสมัครมาเลเรียตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว, 14. ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว, 15. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชายแดน, 16. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, 17. สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทยที่มีหนังสือรับรองว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป, 18. หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม, 19. อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม, 20. อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก, 21. บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ...ทั้ง 21 กลุ่มนี้ไม่ต้องจ่าย 30 บาท
ด้าน นพ.วีรวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช. เสริมข้อมูลในส่วนของ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่า...ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 ได้ เพิ่มขึ้น 12 ข้อ ดังนี้...
1. เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิต รับบริการที่ใดก็ได้ตามที่จำเป็น ไม่ต้องสำรองจ่าย,
2. ผู้ป่วยเอดส์ได้รับการดูแลเท่าเทียมกันทุกสิทธิ เชื่อมข้อมูลผู้ป่วยแบบออนไลน์ ย้ายสิทธิหรือย้ายที่อยู่ก็จะได้รับบริการต่อเนื่องไม่ต้องเริ่มต้นใหม่,
3. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกสิทธิทุกคนใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการขอรับบริการ ได้รับการดูแลต่อเนื่องแม้เปลี่ยนสิทธิ,
4. ผู้ป่วยทุกคนทุกสิทธิได้รับยาที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมตามมาตรฐานการรักษา,
5. จัดระบบปรึกษาออนไลน์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบแพทย์ทางไกล ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งจะพัฒนาให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 2 ปี,
6. เพิ่มคุณภาพอาหารสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล
7. ผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป ได้รับบริการช่องทางพิเศษ ไม่ต้องเข้าคิวรอในโรงพยาบาลรัฐ,
8. สามารถรับบริการที่หน่วยบริการใกล้บ้าน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายกว่า 4 เท่าตัว,
9. เปลี่ยนหน่วยบริการได้บ่อยขึ้น ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง กรณีเปลี่ยนที่อยู่ก็เลือกหน่วยบริการได้ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง,
10. ใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการลงทะเบียนสิทธิหรือเปลี่ยนหน่วยบริการ,
11. โรงพยาบาลในสังกัดตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปให้บริการผู้ป่วยนอกโดยไม่หยุดพักเที่ยง,
12. ประชาชนจะได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง
โพสโดย Anonymous เมื่อ
30 มิถุนายน 2532 17:00
การช่วยชีวิตผู้ป่วยจากหลอดลมอุดตัน
กลางปี
พ.ศ.2531 มีข่าวลงหนังสือพิมพ์หน้า 1 ว่า เด็กนักเรียนชั้นประถม
ลูกชิ้นติดคอต่อหน้าบิดา และถึงแก่กรรมขณะนำส่งโรงพยาบาล...
การหายใจมีความสำคัญมากต่อชีวิต หากทางเดินหายใจถูกอุดตันอย่างสมบูรณ์
อาจถึงแก่ความตายหรือสมองพิการอย่างถาวรภายใน 4 นาที
สำหรับผู้ที่มีออกซิเจนในเลือดน้อยกว่าปกติ เช่น เป็นโรคปอด หรือโรคหัวใจเรื้อรัง
เวลาที่จะช่วยชีวิตได้อาจมีน้อยกว่านี้
การอุดตันของหลอดลมอันมีสาเหตุมาจากสิ่งแปลกปลอม
ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ฟันปลอม ของเล่น หรืออื่นๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
และเนื่องจากมีเวลาจำกัด การพยายามพาผู้ประสบเคราะห์ร้ายส่งแพทย์ จึงดูเหมือนไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
ประชาชนทุกคนจึงควรทราบวิธีแก้ไขเหตุฉุกเฉินดังกล่าวอย่างถูกต้อง
ในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตด้วยทางเดินหายใจอุดตันถึง 3,000 ราย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ นายแพทย์เฮนรี่
ไฮม์ลิชได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุบัติเหตุชนิดนี้
อาการของภาวะหลอดลมอุดตัน
อาการที่ผู้ป่วยภาวะหลอดลมอุดตัน
จะแสดงออกให้เห็นคือพูดไม่ออก หายใจไม่ออกอย่างกะทันหัน ริมฝีปากและใบหน้าม่วงคล้ำ
และหมดสติอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยบางรายอาจแสดงอาการให้เห็นว่ามีอะไรติดคอ
โดยยกมือจับที่บริเวณคอ จากสถิติการตรวจศพของผู้เสียชีวิตในร้านอาหาร 56 ราย พบว่า
55 รายตายจากหลอดลมถูกอุดตัน มีเพียง 1 รายที่ตายจากโรคหัวใจ และเนื่องจากโรคหัวใจมักเป็นในคนสูงอายุ ดังนั้น ถ้าพบคนอายุต่ำกว่า 30
ปีมีอาการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะกินอาหาร น่าจะนึกถึงภาวะนี้ก่อนโรคอื่น
และลงมือช่วยชีวิตได้ทันที
วิธีปฏิบัติ
ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังของผู้ป่วย กำมือข้างหนึ่ง
วางด้านนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของกำปั้น (ภาพที่ 2) ลงบนหน้าท้องของผู้ป่วย เหนือสะดือเพียงเล็กน้อย
แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งอุ้มกำปั้นไว้
กระแทกมือขึ้นสู่ทิศทางของกะบังลมอย่างรวดเร็ว และแรง (ภาพที่ 1)
การช่วยชีวิตสามารถทำได้ทั้งในท่ายืน (ภาพที่ 3) ท่านั่ง
(ภาพที่ 4) และท่านอน (ภาพที่ 5)
โดยเฉพาะเด็กซึ่งตัวเตี้ยและมีแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่จะทำได้ง่ายในท่านอน (ศีรษะตรง)
โดยใช้น้ำหนักตัวช่วย (โปรดสังเกตการวางมือแทนกำปั้น)
นอกจากนี้ยังมีท่าที่ใช้ช่วยตัวเองได้ด้วย (ภาพที่ 6)
สำหรับเด็กเล็ก
การช่วยเหลือให้ใช้เพียงปลายนิ้วมือกดกระแทก (ภาพที่ 7) หากช่วยได้ผล
สิ่งแปลกปลอมอาจพุ่งกระเด็นออกจากปากโดยแรง แต่บางครั้งอาจหลุดขึ้นมาค้างอยู่ในปาก
ต้องใช้นิ้วช่วยเขี่ยออกมา
ถ้าการช่วยครั้งแรกไม่ได้ผลอาจต้องทำซ้ำถึง 6 ครั้งก็ได้
แต่ละครั้งควรทำอย่างหนักแน่นและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่กระแทกเบาๆ ถี่ๆ หลายครั้ง
อย่างไรก็ตาม การช่วยชีวิตผู้ป่วยจากหลอดลมถูกอุดตันไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทุกราย
จากการวิเคราะห์พบว่า ความล้มเหลวเกิดขึ้นได้ใน 3 กรณี คือ
1. ทำไม่ถูกวิธี
2. สิ่งแปลกปลอมอุดแน่นเกินไป
3. สิ่งแปลกปลอมมีมาก และกระจายอุดหลอดลมหลายแห่ง
อาการแทรกซ้อน
อาการแทรกซ้อนจะพบได้น้อยมาก ที่เคยมีรายงาน ได้แก่
อาเจียนหรือเจ็บหน้าท้องซึ่งไม่รุนแรง ซี่โครงหัก และมีกระเพาะอาหารแตก 1 ราย
ซึ่งได้รับการผ่าตัดอย่างปลอดภัย
สันนิษฐานว่าเกิดจากการบีบรัดรอบชายโครงหรือท้องอย่างแรง
ซึ่งเป็นท่าที่ไม่ถูกต้องแต่บังเอิญช่วยชีวิตได้
การช่วยชีวิตด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ล้วงคอ และตบหลังนั้น
นอกจากจะไม่มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันประสิทธิภาพได้แล้ว
ในบางกรณียังปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจะทำให้เป็นอันตรายมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
การสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมอุดหลอดลมเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้
เช่น ไม่พูดคุยหัวเราะเวลามีอาหารอยู่ในปาก ควรตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ
และเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ใส่ฟันปลอม
และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากก่อนหรือขณะกินอาหาร
เพราะทำให้ขาดสติและสมองควบคุมอวัยวะไม่ได้เหมือนปกติ ต้องไม่ให้เด็กวิ่งเล่นขณะอมอาหารหรือขนมในปาก
ควรมีผู้ดูแลใกล้ชิดขณะเด็กเล่นของเล่น รวมทั้งเก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบ เช่น
ตะปู เหรียญ ของเล่นของเด็กโต ซึ่งเด็กเล็กอาจหยิบเข้าปากหรือจมูกได้
ควรมีการเผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันและวิธีการช่วยชีวิตผู้ป่วยจากหลอดลมถูกอุดตันให้ประชาชนทุกวัยและทุกอาชีพได้ทราบทางสื่อมวลชนต่างๆ
ตามภัตตาคาร ร้านอาหาร และใช้วิธีบอกเล่ากันปากต่อปากด้วย
ควรมีภาพแสดงวิธีทำท่าต่างๆ ติดตามฝาผนัง พร้อมคำอธิบายสั้นๆ
รวมทั้งบรรจุไว้ในหลักสูตรการปฐมพยาบาลอย่างทั่วถึง
เพื่อที่ทุกคนจะมีโอกาสรอดชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน
ด้วยวิธีการช่วยชีวิตจากหลอดลมถูกอุดตัน
(จาก Heimlich HJ, Uhley MH. The Heimlich Maneuver. Henry Clinic symposia. 1979;31:3)
การสำลักอาหารหรือวัสดุจะเกิดการอุดตันทางเดินหายใจ
เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กและผู้สูงอายุ พบว่า
ในจำนวนนี้การเสียชีวิต 3,000
กว่ารายนี้ ประมาณร้อยละ 2 เกิดจากการสำลักอุดตันทางเดินหายใจ หรือประมาณ 80
รายต่อปี มีรายงานสิ่งของที่มักสำลักและอุดตันทางเดินหายใจที่พบบ่อย ได้แก่ ถั่ว
เมล็ดผลไม้เช่น เมล็ดน้อยหน่า มะขาม ละมุด ลูกอม ไส้กรอก ลูกชิ้น ชิ้นส่วนของเล่น
และเม็ดพลาสติกกลมชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (ร้อยละ 85)
เคยมีรายงานการเสียชีวิตจากข้าวหลามที่จับตัวกันเหนียวเป็นก้อน
แล้วสำลักเข้าสู่ทางเดินหายใจเช่นกัน
การศึกษาจากต่างประเทศ พบสิ่งต้นเหตุคล้ายคลึงกัน ร้อยละ 69
เป็นถั่วและเมล็ดผลไม้ ร้อยละ 5 เป็นชิ้นส่วนของเล่นและเม็ดพลาสติก
และพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ คือ
การอุดตันจากชิ้นส่วนของเล่นของเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และไส้กรอกของเด็กอายุ 4 ปี
ย้อนหลังกลับไปเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2548 เด็กชายวัย 2 ขวบ
ทานขนมเยลลี่ ที่อยู่ในถ้วยพลาสติกทรงกรวย แล้วติดคอเสียชีวิต
ขนมเยลลี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อการติดขัดทางเดินหายใจของเด็กได้
จากรูปร่างสีสันที่ชวนรับประทาน มีขนาดที่พอเหมาะั การอุดตันทางเดินหายใจจากลักษณะเป็นกรวยเล็กข้างหนึ่ง
ใหญ่ข้างหนึ่ง คล้ายการปิดจุกขวด
ความลื่นและความเหนียวของเยลลี่ที่เด็กชอบดูดกลืนทั้งชิ้น เมื่อเกิดการอุดตันจึงยากต่อการปฐมพยาบาลช่วยเหลือให้ชิ้นส่วนอาหารนี้หลุดออกมาได้
อีกทั้งการรับประทานร่วมกับการเล่นและหัวเราะจึงก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย
ฉลากจึงควรกำหนดกลุ่มอายุเด็ก เช่น ห้ามในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
วัสดุและผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็ก ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า
ป้องกันอย่างไร ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากเช่นนี้อีก
ในต่างประเทศมีการแนะนำให้พ่อแม่มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัดขนาดสิ่งของที่จะใช้กับเด็ก
ถ้าสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ใดมีขนาดเล็กกว่า
การสอนเด็กให้กินช้าๆ ค่อยๆเคี้ยว ไม่วิ่งเล่น
หัวเราะขณะรับประทานเป็นสิ่งที่ต้องทำ ถ้าจะให้เด็กเล็กกว่า 5 ปีทานเยลลี่
ไส้กรอก ลูกชิ้นให้ตัดเป็นชิ้นเล็กก่อน ผู้ผลิตต้องมีจิตสำนึกความปลอดภัย
และคำนึงถึงว่าเด็กยังไม่มีความพร้อมเท่าผู้ใหญ่
ควรคำเตือนในกรณีที่เป็นอันตรายในเฉพาะเด็กเล็กบางสถานการณ์
หรือดัดแปลงรูปร่างผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับเด็กเล็ก
จะทำให้เกิดภาวะผลิตภัณฑ์ปลอดภัยในท้องตลาดที่พ่อแม่ไม่ต้องกังวลในการควบคุมดูแลด้วยตนเอง
การช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นสิ่งที่สำคัญ
เด็กที่มีการอุดตันทางเดินหายใจมีเวลาที่จะช่วยมิให้สมองตายเพียง 4 นาที
ถ้าเป็นการอุดตันแบบไม่มีทางที่อากาศจะเข้าไปได้ ดังนั้น จะไม่มีหน่วยฉุกเฉินใดช่วยได้ทันเวลา
ผู้ดูแลเด็กจึงต้องมีความสามารถในการปฏิบัติการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลม ท่าที่ใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี คือ ท่าเคาะหลัง 5 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก 5
ครั้ง ท่าที่ใช้สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี คือ
ท่ากดท้องโดยผู้ช่วยเหลือยืนทางด้านหลัง
ทักษะความสามารถการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่จะต้องสร้างระบบกระจายความรู้สู่ครัวเรือนให้ได้
การปฐมพยาบาล
สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม
1.ทารก --ตบอย่างรวดเร็วกลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
2.เด็กเล็ก ---ตบกลางหลังหนัก ๆ 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
3.เด็กโตและผู้ใหญ่ --ตบหนัก ๆ และเร็ว ๆ กลางหลัง 4 ครั้งในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
ที่มาhttp://rescuepakkred.is.in.th/?md=content&ma=show&id=6
แหล่งอ้างอิง:
http://www.activeboard.com/forum.spark?aBID=124118&p=3&topicID=36174462
ปอดอักเสบ โรคที่มากับหน้าฝน แนะเฝ้าระวังเด็กเล็ก
วันที่ 31 ก.ค. 2555
ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกแทบทุกวันแบบนี้ หลายบ้านมักเจ็บป่วย ด้วยโรคหวัด คออักเสบ
ไซนัสอักเสบ หลอดลม หรือแม้กระทั่งปอดอักเสบ
ที่อาจเกิดได้จากภาวะการแพ้อากาศ หรือการติดเชื้อ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ตั้งแต่ 0-5 ปี ควรระวังการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
แพทย์หญิงสมฤดี ชัยวีระวัฒนะ กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ ประจำ Vejthani Super Kid's Center โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตเป็นอันดับ
1 ของโรคติดเชื้อในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี นั่นคือ โรคปอดอักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่มีการอักเสบของเนื้อปอด
ประกอบด้วย หลอดลมส่วนปลาย ถุงลม รวมถึงเนื้อเยื่อของปอด
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่
โดยอาการที่พบมักจะมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หรือหอบ ถ้าเป็นในเด็กเล็กๆ
อาจทำให้มีภาวะซีดเขียว หรือหยุดหายใจร่วมด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารและน้ำลดลง
และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น มีน้ำมูก เสียงแหบ
มีขี้ตา หรือตาอักเสบ ปวดหู เป็นต้น
แพทย์หญิงสมฤดี กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรคปอดอักเสบว่า ในเด็กเล็ก มักเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนเด็กโตพบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หรือบางครั้งอาจมีลักษณะของการติดเชื้อร่วมกัน โดยไวรัสหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน
และฤดูหนาว อาทิ Influenza (ไข้หวัดใหญ่), RSV (Respiratory syncytial virus), Parainfluenza เป็นต้น รวมถึงแบคทีเรียชนิดต่างๆ
เช่น Streptococcus pneumonia, Haemophilus influenza และ Mycoplasma เป็นต้น หากพบว่า บุตรหลานมีอาการดังกล่าว ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาหาสาเหตุของโรคทันที
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน เชื้อไวรัส RSV เจริญเติบโตได้ดี ไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ
และโรคระบบทางเดินหายใจ อาการของโรคจะเริ่มจากเด็กเป็นไข้หวัดธรรมดา
อาจมีไข้ต่ำๆ ไอ มีน้ำมูก ต่อมาไข้จะสูงขึ้น หายใจลำบาก
เด็กจะซึมลง ไม่กินน้ำ ไม่กินนม ไอ หายใจหอบเร็วและมีเสียงหวีดหรือฮื๊ด ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการปอดบวม ต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน
มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้
สำหรับป้องกัน ในเด็กเล็กแนะนำให้สร้างภูมิต้านทานธรรมชาติให้แก่เด็ก
ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และหมั่นล้างมือให้เด็กบ่อยๆ
หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด ไม่พาเด็กไปใกล้คนป่วยหรือผู้ที่กำลังเป็นหวัด เด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์หรืออยู่ในที่มีอากาศเย็น
เช่น ในฤดูฝนหรือฤดูหนาว ควรดูแลให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
ด้วยการใส่เสื้อผ้าหนาๆ
ระบบทางเดินหายใจ โดย :
พ.ญ.ศิริพัฒนา
ศิริธนารัตนกุล
Read more... : http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=425&sub_id=57&ref_main_id=15#ixzz2M6ZdpU5G
ในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อยตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว และเด็กจะมีอาการทางระบบหายใจได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่...
ทั้งนี้เพราะทางเดินหายใจของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
คือ นอกจากจะมีขนาดเล็กจึงเกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้ง่ายแล้ว ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆ
ยังมีน้อยกว่าผู้ใหญ่ด้วยค่ะ เรามาดูกันก่อนดีไหมคะว่า ลักษณะทางเดินหายใจของเด็กนั้นเป็นอย่างไร
เมื่อเกิดอาการต่างๆ ขึ้นจะได้เข้าใจว่าอาการนั้นๆ เกิดจากทางเดินหายใจส่วนใด
แพทย์จะให้การรักษาอย่างไร และคุณพ่อคุณแม่จะช่วยดูแลได้อย่างไรบ้างนะคะ
ระบบหายใจของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่
อวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายเด็กมีการเจริญพัฒนาอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด
ระบบหายใจก็เช่นเดียวกันค่ะ มีการค่อยๆ เพิ่มขนาดทั้งส่วนกว้างและส่วนยาวของท่อทางเดินหายใจ
จำนวนและขนาดของถุงลมก็เพิ่มขึ้นจนทำให้ปริมาตรของปอดในช่วง 12 ปี แรกของชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าของทารกแรกเกิด และ
เพิ่มเป็น 12-15 เท่าเมื่ออายุ 12 ปี อัตราการหายใจของเด็กก็แตกต่างจากผู้ใหญ่ เด็กยิ่งเล็กยิ่งหายใจเร็ว
กล่าวคือ ในทารกแรกเกิดปกติจะหายใจประมาณ 50 ครั้งต่อนาที หรือสูงสุดไม่เกิน 60 ครั้งต่อนาที เด็กทารก 6 เดือนหายใจประมาณ 30 ครั้งต่อนาที และเด็กอายุ 1-5 ปี ปกติจะหายใจประมาณ 24 ครั้งต่อนาทีค่ะ
เปรียบไปก็คล้ายระบบท่อส่งอากาศ
ทางเดินหายใจนั้นถ้าจะเปรียบไปก็เหมือนระบบท่อส่งอากาศจากภายนอกเข้าสู่ภายในร่างกาย
บริเวณถุงลมในปอดเป็นที่สำหรับร่างกายดึงเอาก๊าซออกซิเจนจากอากาศไปใช้ และแลกเปลี่ยนปล่อยเอาของเสีย
คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากับลมหายใจออก การเดินทางของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ภายในร่างกายต้องผ่านระบบต่างๆ
หลายขั้นตอนเพื่อให้อากาศที่ลงสู่ปอดนั้นสะอาดและเหมาะสมกับร่างกายของเราที่สุดค่ะ
เรามาตามไปดูกันดีกว่าว่า อากาศที่เข้าไปในจมูกของเราแล้วจะต้องผ่านไปทางไหนกันบ้าง...เลาะเลียบทางเดินหายใจส่วนบน
ด่านแรกคือบริเวณโพรงจมูก ถ้าเปรียบโพรงจมูกนี้กับถ้ำ ขนจมูกก็คงจะเทียบได้กับรากไม้ที่ห้อยระย้าจากเพดานถ้ำลงมาระเกะระกะ
เพื่อเป็นตัวดักฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดใหญ่กว่า 10-15 มิลลิเมตรไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปได้
ผนังและเพดานถ้ำ มี "ระบบปรับอากาศ" อัตโนมัติ ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นเลือดฝอยเล็กๆ
จำนวนมากมาหล่อเลี้ยงให้ความอบอุ่นและชุ่มชื้นแก่อากาศที่ผ่านเข้ามา เพื่อให้อากาศที่จะลงสู่ปอดมีความชื้น
และอุ่นพอเหมาะ ระบบปรับอากาศนี้จะมีไปตลอดทางจนถึงหลอดลมใหญ่ค่ะ * โพรงจมูกส่วนต่อไปคือส่วนที่ลึกเข้าไป
เยื่อบุจมูกบริเวณนี้จะยื่นเข้ามาในโพรงคล้ายแท่นที่มีซอกหลืบเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการให้ความอบอุ่นชุ่มชื้นกับอากาศ
ในกะโหลกศีรษะ ข้างๆ โพรงจมูกบริเวณนี้จะเป็นโพรงอากาศที่เรียกว่า "ไซนัส" (paranasal air sinuses) ไซนัสเหล่านี้จะมีเยื่อบุผิวเชื่อมต่อกับเยื่อบุของจมูก และมีรูเล็กๆ
ที่เปิด ติดต่อกับบริเวณโพรงจมูก ดังนั้นเชื้อโรคจึงอาจรุกรานผ่านเข้าไปได้ *
อากาศจะผ่านต่อไปยังคอ ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมกับช่องปากจากคอก็จะไปถึงกล่องเสียง กล่องเสียงของเด็กจะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่โดยรอบ
และเป็นส่วนที่ค่อนข้างแคบ ดังนั้น ในเด็กยิ่งเล็กหากมีการอักเสบหรือบวมบริเวณกล่องเสียง
ก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าในผู้ใหญ่ ทางเดินหายใจที่กล่าวมาถึงข้างต้นนี้
คือทางเดินหายใจส่วนบน ถัดจากกล่องเสียงลงไป คือทางเดินหายใจส่วนกลาง ได้แก่
หลอดลมใหญ่ข้างซ้ายและขวา หลอดลม แขนงเล็ก หลอดลมฝอย และเนื้อปอดค่ะ
"พลลาดตระเวน" กับกลไกการป้องกันตัวเองของปอด
เยื่อบุทางเดินหายใจเป็นเซลล์ที่เรียงรายอยู่ผิวบนสุดส่วนต้นๆ ของทางเดินหายใจ เซลล์เหล่านี้จะมีรูปทรงสูง
มีหลายชนิด เช่น เซลล์ที่มีขนอ่อนอยู่ด้านบน แต่ละเซลล์จะมีขนอ่อนอยู่ถึง 275 อัน
ขนอ่อนเหล่านี้จะพัดโบกด้วยความถี่ 1,000 ครั้งต่อนาที การพัดโบกนี้ต้องอาศัยน้ำและสารคัดหลั่งที่ผลิตออกมาจากเซลล์อีกชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย
การโบกของขนอ่อนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันค่ะ คือ โบกไล่ขึ้นไปส่วนบนด้วยอัตรา 10 มิลลิเมตรต่อนาที
กลไกนี้จึงมีความสำคัญมากในการขับสิ่งแปลกปลอมขนาด 1-5 มิลลิเมตรที่หลงเข้าไปในทางเดินหายใจ
กล่าวโดยสรุป คือ ฝุ่นขนาดใหญ่จะถูกกรองไว้โดยขนจมูก ฝุ่นขนาดกลางตกลงบนผิวที่มีน้ำและมูกแล้วถูกขับโดยการโบกของขนอ่อน
ส่วนฝุ่นขนาดเล็กกว่า
การไอคือกลไกป้องกันตัวเองอย่างหนึ่ง
นอกจากกลไกที่กล่าวมาแล้ว หากมีการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองส่งสัญญาณประสาทจากศูนย์ควบคุมที่สมองลงมาที่กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจให้หดตัวและเพิ่มกำลังในการอัดลมเป่าออกมาอย่างรวดเร็ว
เกิดเสียงที่เราเรียกว่า "การไอ" นั่นเอง การไอจะขับมูกส่วนเกินในทางเดินหายใจออกไปด้วยความแรงถึง
300 มิลลิเมตรปรอทเลยทีเดียว
การไอจะเกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจได้รับความระคายเคืองด้วย เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ
เวลาล้มตัวลงนอน แล้วมีน้ำมูกไหลลงในคอก็จะไปกระตุ้นให้หลอดลมหดตัวและเกิดการไอด้วย
เสียงไอที่เกิดจากการอักเสบทางเดินหายใจจะมีความแตกต่างกันตามตำแหน่ง ที่เป็น เช่นระคายคอจะไอเสียงแห้งๆ
ไอจากกล่องเสียงอักเสบจะเป็นเสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบจะไอแบบมีเสมหะอยู่ลึกๆ
ค่ะ
ใช้ยาแก้ไอช่วยให้ลูกหยุดไอดีไหม
?
อาการไอเป็นสัญญาณเตือนว่าเกิดปัญหาขึ้นในระบบหายใจ จึงไม่ควรกินยาระงับการไอโดยยังไม่ทราบสาเหตุของการไอค่ะ
ยาระงับการไอเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอที่สมอง จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง
ส่วนใหญ่เด็กที่ไอมักจะเกิดจากมีเสมหะ หากใช้ยาหยุดการไอกลับจะทำให้เสมหะคั่งค้าง จึงไม่ได้กำจัดเสมหะที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการไอ
ยาแก้ไอที่ใช้ในเด็กส่วนมากเป็นยาขับเสมหะและยาละลายเสมหะค่ะ ยาขับเสมหะจะกระตุ้นเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดการหลั่งน้ำเมือกในทางเดินหายใจมากขึ้น
เสมหะจะมากขึ้นในระยะแรก เมื่อไอไล่เสมหะออกหมดจึงจะหยุดไอ ส่วนยาละลายเสมหะจะลดความเหนียวของเสมหะลง
จึงถูกขับออกง่ายขึ้นค่ะ คุณพ่อคุณแม่ที่เคยสงสัยว่า
ทำไมกินยาแก้ไอแล้วลูกไอมากขึ้น คงจะเข้าใจแล้วนะคะว่าเป็นเพราะยานั้นคือยาขับเสมหะ
ไม่ใช่ชนิดกดอาการไอค่ะ แพทย์จะพิจารณาใช้ยากดการไอในรายที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น เช่นไอมากจนพักผ่อนไม่เพียงพอ
หรือการไอที่เจ็บปวด เช่นคนไข้หลังผ่าตัดหรือไอจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
หากเราช่วยให้เสมหะออกได้ดีเท่าใด เด็กก็จะหายจากการไอมากขึ้น และ
เสมหะจะออกได้ดีเมื่อ
1.เสมหะไม่เหนียว...ต้องให้เด็กดื่มน้ำมากขึ้น เพราะน้ำคือยาละลายเสมหะ
ที่ดีที่สุด
2.เสมหะไม่ติดค้างในหลอดลม
ช่วยได้โดยการเคาะปอด ในเด็กที่นอนป่วย ให้ขยับเปลี่ยนท่านอนพลิกทางซ้ายบ้างทางขวาบ้าง
อย่าให้นอนในท่าเดียวนาน ๆ
3.รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ยาปฏิชีวนะ และยาละ ลายเสมหะ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------