ธรรมะกับความขัดแย้งทางการเมือง
เรียบเรียงโดย นาย มนัส ศรีเพ็ญ เลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ

 

เหตุการณ์มหัศจรรย์ในประเทศไทย  Unseen Thailand..
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นวงจรของวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์  ( Valentine )
มาตรงกัน ในขณะที่ประชาชนไทยเกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีในอดีต

       ด้วยคนไทยเป็นชาวพุทธ จึงเกิดมีประชาชนที่รักความสงบสวมเสื้อขาว Respect My Vote และนักเรียนถือป้าย Respect My Future  รวมกลุ่มจุดเทียนเขียนสันติภาพ แสงสว่างจากเทียน คือพุทธศาสนา แล้วปักเทียนลงเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ตามสากลนิยม ไปทั่วประเทศ จึงเป็นการแสดงวันแห่งความรักสามัคคีที่ยิ่งใหญ่กว่าวันใดๆ

        ความขัดแย้งในสังคมไทยมีมาตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่สงครามชิงราชบัลลังสมัยสุโขทัย กบฎยึดราชบัลลังก์สมัยอยุธยา กบฏโค่นอำนาจพระเจ้าตากสินมหาราช กบฏและรัฐประหารอีกไม่น้อยกว่า 27  ครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น การก่อกบฎเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.2475 กับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตย,   กบฏ ร.ศ.130, กบฏนายสิบ, กบฏบวรเดช, กบฏวังหลวง, กบฏยังเตอร์ก, กบฏแมนฮัตตั้น  

        การปฏิรูปการปกครองในประเทศไทย เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ประเทศไทย (สยาม) ต้องเผชิญกับภัยจากประเทศตะวันตกอยู่รอบทิศ จากการล่าอาณานิคมของประเทศทางตะวันตก ได้แผ่ขยายเข้ารุกรานประเทศต่าง ๆ ในเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียอาคเนย์ ทุกประเทศโดยรอบประเทศไทย ตั้งแต่ลาว,  เวียดนาม,  กัมพูชา,  มลายา,  พม่า และในวงกว้างออกไปคือ จีนฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอินเดีย
        เริ่มต้นจาก พระเจ้าน้องยาเธอ 4 พระองค์    1 พระเจ้าบรมวงค์กรมพระนเรศวรฤทธิ์ฯ ..  2 พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ...  3 พระองค์เจ้าสวัสดิ์โสภณ .... 4 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ และข้าราชการสถานทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลรวม 11 ท่านกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชการที่ 5 ลงวันที่ 8 มกราคม คริสตศักราช 1885 ( พ.ศ. 2428 ) 
( ดูเรื่องประวัติพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เกี่ยวกับปัญหาการปกครอง ) (และขัดแย้งกลายเป็นผู้ลี้ภัยอยู่นอกประเทศ )

                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ท่านเชื่อมั่นใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ท่านจึงยืนยันที่จะทำการปฏิรูปในระบอบนั้น เพื่อทำให้ระบอบนั้นเหมาะสมยิ่งขึ้น

                จึงปฏิเสธ ปฏิวัติประชาธิปไตย หรือ เปลี่ยนแปลงอย่างอุกฤษฎ์ ตามข้อเสนอแนะของ พระเจ้าน้องยาเธอ

    ทรงมี พระราชหัตถเลขา ตอบว่า  กรุงสยาม นี้ ยังไม่มีเหตุการณ์อันใดซึ่งเป็นการจำเป็นแล้ว จึงไม่เป็นเหมือนประเทศอื่นๆ ( หมายความว่ายังไม่มีการเรียกร้องจากราษฎร...? )   ประเทศอื่นๆ ราษฎรเป็นผู้ขอให้ทำ พระเจ้าแผ่นดิน จำใจทำ ในเมืองเรานี้เป็นแต่พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าควรจะทำเพราะจะเป็นการเจริญแก่บ้านเมือง  เหมือนอย่างถ้าให้มีปาลีเมนต์ จะไม่มีผู้ใดสามารถเป็นสมาชิกได้สักกี่คน และโดยว่าจะมีสมาชิกเหล่านั้นเจรจาการได้ ก็ไม่ได้เข้าใจในราชการทั้งปวงทั่วถึง เพราะไม่มีความรู้ และการฝึกหัดอันใดแต่เดิมมาเลย ..........
( ด้วยประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสทางการศึกษาเหมือนประเทศประชาธิปไตยทั่วๆไป.......? )  
หนังสือกราบบังคมทูลของพระเจ้าน้องยาเธอ ดังกล่าวก็ต้องตกไป

      (  ดังปรากฏในหนังสือพระราชดำรัสของพระองค์ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน หน้า 60 – 63 พิมพ์แจกเนื่องในงานบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2470 )              


จากหนังสือพระองค์เจ้าปฤษฎางค์
  ในฐานะอัครราชทูตประจำประเทศฝรั่งเศส ( ต่อมาต้องหนีไปบวชอยู่ประเทศศรีลังกา..... ? ) ได้ทรงทำรายงานสถานการณ์ถวายเลขานุการ และที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ทั้งได้ทรงแปลบทความหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวพูดถึงประเทศพม่าแนบมาด้วย เพื่อขอให้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อได้ทรงทราบแล้ว มีพระราชดำริว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภัยร้ายแรงต่อพระราชอาณาจักรไทย จึงได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์พระราชทานไปยังพระองค์เจ้าปฤษฎางค์โดย ตรง ให้แสดงความคิดเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขบ้านเมือง เพื่อป้องกันเหตุรัายสำหรับประเทศสยามอย่างไร พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงได้ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลขึ้น เรียกในครั้งนั้นว่า หนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน.................

             ในด้านการปกครอง ให้มีการแต่งตั้งสภาปริวิเคาซิล อันเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ เป็นที่ทำหน้าที่ในการออกกฏหมาย ในด้านการบริหารก็กำลังทดลองจะจัดตั้งหน่วยงานระดับกระทรวง ฯลฯ


                อย่างไรก็ตามควรนับได้ว่า คำกราบบังคมทูลครั้งนั้นมีคุณประโยชน์ ทำให้มีการเร่งรัดปฏิรูปการปกครองแผนใหม่่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ได้ริเริ่มให้ราษฎรลงคะแนน ในการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ เริ่มจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ และเริ่มจัดงานสุขาภิบาลในระยะต่อมา ซึ่งล้วนเป็นการวางรากฐานงานปกครองในพระราชอาณาจักรให้มีความมั่นคง นับเป็นงานเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตย


             ความตอนหนึ่งที่ว่า ไม่ล้างความที่ยุโรปถือว่าเป็นยุติธรรมในการที่เข้าไปเบียดเบียนด้วยเหตุใด ไทยยังจะมีข้อเถึยงตามยุติธรรมให้โลกเห็นจริง และสงสารได้ว่า ไทยได้จัดการบ้านเมืองบริบูรณ์ขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่า จนมีราชทูตสำหรับประเทศยุโรป มีการก่อสร้างประกอบผลประโยชน์ เหมือนมี สายโทรเลขและกรมไปรษณีย์ เป็นต้น และได้เลิกทาส เลิกธรรมเนียมหมอบคลาน เป็นต้น แล้วเอาธรรมเนียมยุโรปเข้ามาเป็นแบบแผนหลายอย่าง...
ทั้งได้มีสัญญาทางพระราชไมตรี และทางค้าขายต่อชาติในยุโรปเป็นอันมาก การที่ชาติมหาอำนาจมากดขี่ข่มเหงโดยทางพาล ดังนี้ไม่ได้ ฯลฯ
  ที่ไทยทำเพียงนี้ก็มีการคุ้มเกรงรักษาพออยู่แล้ว และท่านแต่ก่อนนั้นได้จัดแจงอย่างไรเล่า จึงรักษาบ้านเมืองมาได้จนป่านนี้ ต่อไปก็คงจะพลิกแพลงแก้ไขให้จงได้เหมือนกัน.................

                 เหตุฉะนี้จึงจะต้องจัดการบ้านเมือง เปลี่ยนแปลงพระราชประเพณีของเก่า ให้เป็นประเพณีคอนสติติวชันใหม่ตามทางชาวยุโรป ฯลฯ เหมือนดังเมืองญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศเดียวในตะวันออก ที่ได้เดินในทางยุโรปมาแล้ว ฯลฯ  ทางที่กราบบังคมทูล ฯ ว่าเป็นคอนสติติวชันยุโรปนั้น หาได้ประสงค์จะให้มีปาลีเมนต์ในเวลานี้ไม่
.............................

             เปลี่ยนแปลงยกถอนธรรมเนียมเก่า และกฎหมายเก่า เพิ่มเติมธรรมเนียม และกฎหมายซึ่งเป็นทางบำรุงความเจริญขึ้นใหม่ และจัดการเหล่านี้ให้มีผลประโยชน์ทั่วไปในพระราชอาณาเขตให้ราษฎรมีความคิดรู้สึกตัวว่าการกดขี่และอติธรรมต่าง ๆ ไม่มีอีกต่อไปแล้ว จึงจะมีความรักบ้านเมือง จนเห็นชัดว่ากรุงสยามนั้น เป็นเมืองของราษฎร และจะต้องช่วยกันบำรุงรักษา ฯลฯ  และเมื่อถึงเวลาศัตรู หรือภัยอันตรายจะมาถึงตนเข้าแล้ว ก็จะคิดช่วยป้องกัน ช่วยเจ็บร้อน ฯลฯ
         การบำรุงผลประโยชน์ยุโรปและสยามสิ่งใดเป็นการประเสริฐ  เพื่อรักษาเอกราชของกรุงสยามให้แน่นอนขึ้น สิ่งที่ประเสริฐนั้นมีทางให้ต่างประเทศทำรถไฟ มีกำปนีเดินเรือ ขุดคลอง ทำถนน เป็นต้น เพราะทางเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ได้แก่บ้านเมืองมาก ฯลฯ

             จึงสรุปได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ เช่น การตั้งกระทรวงธรรมการ เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชน แต่ก็ยังเป็นห่วงซึ่งสำเนาพระราชหัตถเลขาของ สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ฉบับที่ 52 เรื่อง “ สอนธรรมแก่เด็กนักเรียน ” ที่พระราชทานแก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร ลงวันที่ 24 กรกฎาคม ร.ศ.117 ความว่า “ เรื่องการศึกษานี้ ขอให้ทรงช่วยดัดให้มากๆ จนถึงรากเหง้าของการศึกษาในเมืองไทย ....... การสอนศาสนาในโรงเรียนทั้งในกรุงและหัวเมืองจะต้องมีขึ้น ให้มีความวิตกว่าเด็กชั้นหลังจะห่างเหินจากศาสนาจนกลายเป็นคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น...... ต่อไปภายหน้าถ้าจะเป็นคนที่ได้เล่าเรียน คงจะประพฤติตัวดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่าเรียนนั้นหาถูกไม่ .......... คนที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินตาม คงจะหันไปทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่ใคร่คล่อง หรือ โกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้นและโกงพิสดารมากขึ้น...... ”  

           มีการเลิกทาส นับเป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” สมัยที่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป 
และนี่ ถือเ ป็นความมั่นคงของประเทศไทย ที่ประชาชนร่วมกันปกป้องไม่ให้ตกเป็นเมืองขึ้นของคนต่างชาติ.......
    

     
       การก่อกบฏในประเทศไทยยังไม่ได้สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิง ต่อมาก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการ อันก่อให้เกิดเหตุการณ์
14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535 มีนักศึกษาและประชาชน บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ......
แต่ความขัดแย้งที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ ยังไม่มีความรุนแรงเท่าความขัดแย้งยืดเยื้ออย่างในขณะนี้   ด้วย สาเหตุจากที่ประชาชนส่วนใหญ่ในอดีต ไม่ได้ให้ความสนใจการปกครองและมองเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ว่าฝ่ายใดจะขึ้นมาเป็นผู้ปกครองประเทศ ก็ด้วยประชาชนถูกปิดกั้นเทคโนโลยีไม่สามารถสื่อสารแรกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ขอเท็จจริงทางการเมือง อันเนื่องจาก
วัฒนธรรมและประเพณีของไทยในอดีต ประชาชนจะถูกปกครองโดยกลุ่มคณะบุคคลและสืบทอดกันอยู่ในกลุ่มที่เรียกกันว่า พ่อค้า, ขุนศึกและศักดินา เพียงไม่กี่กลุ่ม
ผู้ปกครองมักนำหลักทางรัฐศาสตร์ การปกครองเพื่อเอาเปรียบชนส่วนใหญ่ไม่ให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารความเป็นจริงต่างๆ หรือแสดงความคิดเห็น นอกจากสอนแบบนกแก้วนกขุนทอง ให้เป็นคนเชื่อฟังยกย่องนับถือและปฏิบัติตามผู้ที่มีอำนาจปกครองจะชี้นำ ควบคุมการบริหาร โดยใช้อารมณ์ส่วนตัวและความพอใจเข้ามาปกครองประชาชน ลักษณะนายกับทาส ผู้ใดเป็นลูกหลาน พวกพ้อง หรือ จงรักภักดีรับใช้ใกล้ชิดก็จะได้ตอบแทนสนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งและมีความเป็นอยู่สบายกว่าคนอื่นเป็นพิเศษ...................  

          เมื่อปลายปี 2548  หลังจากวันที่ 19 กันยายน 2549 มีการทำรัฐประหารทหารออกมายึดอำนาจการปกครองประเทศ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540  เท่ากับการประกาศล้มพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ ....... มีโทษประหารชีวิต.......แต่กลับไม่มีความผิดใดๆ ตามกฏหมาย ก็ด้วยได้รับพระราชทานอภัยโทษ ...... ได้ร่วมกันเขียนรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ไม่มีหลักนิติรัฐ นิติธรรม ให้ประชาชนลงประชามติ ในขณะที่มีทหารเข้าไปควบคุมอยู่หลายจังหวัด ……

จึงเป็นต้นเหตุ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้พัฒนามาเป็นความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มความคิดเห็นทางการเมืองอยู่จนถึงทุกวันนี้..........  ความขัดแย้งดังกล่าวถูกกระพือให้เป็นความขัดแย้งร้าวลึกระหว่างประชาชนทั่วๆไป  ลุกลามไปทุกที่ ไม่ว่าในครอบครัว ในบรรดาเพื่อนฝูงที่ทำงาน จนแม้ระหว่างคนในภูมิภาคต่างๆ มีการนำธงชาติและสถาบันมาเป็นเครื่องมือปลุกระดม ถึงขั้นที่มีการตั้งคำถามถึงเอกภาพและบูรณภาพของความเป็นชาติไทยเลยทีเดียว
          หลักนิติธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในบ้านเมืองถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง ไม่มีความขัดแย้งครั้งใดที่เกือบทุกสถาบันหลักของประเทศ เช่น ศาลรัฐธรรมมนูญ, ศาลปกครอง,  ศาลแพ่ง, วุฒิสภา ต่างก็มีข่าวออกทางสื่อหลายๆสำนักโดยถูกตั้งฉายาที่แสดงให้เห็นการไม่ยอมรับ องค์กรอิสระก็ถูกท้าทายและไม่ยอมรับ แม้สถาบันองคมนตรีซึ่งควรอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ถูกวิพากษ์อย่างเปิดเผย   ก็ถูกตั้งคำถามถึงความ ชอบธรรม และบทบาทสองมาตรฐาน มากที่สุด อาจนำมาซึ่งความล่มสลายของประเทศชาติ....................


ศักยภาพของสถาบันสงฆ์ในการระงับความขัดแย้ง
ความเป็นกลางทางการเมืองของสถาบันสงฆ์ไทย เป็นเรื่องที่มีมาช้านานกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ในอดีตวัดถูกยกให้เป็นเขตอภัยทานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้เป็นปฏิปักษ์หรือสามารถคุกคามราชบัลลังก์สามารถเข้ามาหลบลี้หนีภัยได้โดยพระราชอาชญาก็ไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปได้ แต่ความขัดแย้งในช่วงรัฐบาลปี 2549 - 2553  มีประชาชนออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน รัฐบาลขณะนั้นกลับนำกำลังทหารออกมาปราบปรามยิงประชาขนล้มตายไป100 กว่าคน และบาดเจ็บมากกว่า 2,000 ราย
และวันที่ 19 พค. 2553 วันสุดทายของการเลิกการชุมนุมมีทหารยิงประชาชนและพยาบาลอาสาเสียชีวิตไป 6 คน ในวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปทุมวัน ได้แก่ นายสุวัน ศรีรักษา นายอัฐชัย ชุมจันทร์ นายมงคล เข็มทอง นายรพ สุขสถิต นางสาวกมนเกตุ อัคฮาด นายอัครเดช ขันแก้ว
...........

ซึ่งได้ประกาศเป็นเขตอภัยทานให้กับประชาชนที่ได้เลิกการชุมนุม เข้ามาพักอาศัยเพื่อรอกลับภูมิลำเนา โดยทหารอ้างว่ามีอาวุธสงครามจำนวนมาก...
ซึ่งต่อมาศาลอาญากรุงเทพก็ได้อ่านคำสังไต่สวนชันสูตรพลิกศพคดีหมาเลขดำที่ ช.5/2555 มีคำพิพากษาว่า ผู้อาศัยอยู่ในวัดไม่ มีอาวุธ และคนตายถูกอาวุธทางทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าบนถนนพระรามที่ 1 ทำให้เสียชีวิต........( ดูที่มาข้อมูล https://www.posttoday.com/social/general/238752 )
จึงเป็นเหตุว่าทำไม่ต้องทำร้ายคนในเขตอภัยทานในวัดปทุมวนาราม ด้วยไม่สามารถนำคนเจ็บข้ามถนนเพื่อส่งโรงพยาบาลตำรวจซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม
จึงขอให้รถกู้ชีพเข้ามาช่วยแต่ทหารก็ยิงนางสาวกมนเกต อัคฮาด พยาบาลอาสา.... จึงเป็นข้อเสื่อมเสียระดับนาๆประเทศ ว่าแม้สงครามระหว่างประเทศ เขาจะไม่ทำร้าย.... มาจนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบผู้สังการมีความชอบตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่...เรื่องก็คือดึงเวลาจนหมดอายุความไป.......

ตาสว่าง...คดี ผู้ถูกทหารยิงคายในวัดปทุมวนาราม........
วันที่ 
8  กรกฎาคม 2566 อดีตอธิบดี ดีเอสไอ นายธาริต เพ็งดิษฐ็ และญาติผู้ตายออกมาเล่าเรื่องความไม่ยุติธรรมในประเทศไทยที่ไม่เคยพบเห็นมาในอดีต..........

https://www.youtube.com/live/DaGNhu-BZVo?feature=share
จัดได้ว่าเป็นเรื่อง เหตุการณ์มหัศจรรย์ในประเทศไทย  Unseen Thailand..

อีกเรื่องก็คือ ภายหลังไม่กี่เดือนต่อๆมา มีพระอาวุโสระดับผู้ช่วยเจ้าวาสทั้ง 2 องค์ พระครูสุเมธีธรรมคุณและพระราชพิพัฒนาทร(พระถาวร จิตตถาโร รวมกับพระลอยอื่นๆ ได้มรณะภาพติดต่อกันในปีนั้นด้วยโรคประจำตัว............????

หรือตามเสียงวิจารณ์กันว่าอาจด้วยไม่ต้องการให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงในวัด เข้าไปรู้เห็นการเผาสยามสแควร์ตามแผนที่อาศัยความขัดแย้งของผู้เรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อเลิกสัญญาเช่าที่มีหลายร้อยสัญญาบริเวณสยามสแควร์ ตามโครงการทำศูนย์การค้าใหญ่ที่ชื่อว่า "Siam Square One" บนพื้นที่ 8 ไร่ ..........

ซึ่งหลังจากถูกเผาเพียงไม่กี่เดือนก็เริ่มก่อสร้างได้ทันใจและเปิดทำการอยู่ในปัจจุบัน ...............

 

           มีหลายครั้งที่บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ได้อาศัยผ้ากาสาวพัสตร์คุ้มภัยในยามที่มีการผลัดแผ่นดิน เพื่อหลีกความขัดแย้งการแย่งชิงอำนาจ อาทิ พระเทียรราชาได้ลาผนวชเมื่อสิ้นแผ่นดินพระไชยราชา และเมื่อพระเทียรราชาขึ้นครองราชย์เป็นพระมหาจักรพรรดิได้ไม่กี่ปี พระศรีศิลปะ พระอนุชาของพระยอดฟ้ากษัตริย์องค์ก่อน ก็ลาผนวชเพื่อหนีภัยจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ยังพระเจ้าอุทุมพร ก็ลาผนวชเพื่อเปิดทางให้พระเชษฐา คือเจ้าฟ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์  

           พระเจ้าตากสินมหาราช แม้จะมีคำบอกเล่าเชิงตำนานไว้บางสำนวนว่า พระองค์ได้หลีกทางไปผนวช หลังจากพระยาสรรค์เข้ายึดอำนาจ เพื่อให้พระยาจักรีสมถาปนาราชวงศ์ใหม่ด้วยเหตุผลบางประการ และพระองค์ได้ดำรงพระชนม์ชีพในสมณเพศจนดับขันธ์   เช่นเดียวกับพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครององค์ในเพศบรรพชิตลี้ภัยอยู่ถึง 27 พรรษา ตลอดรัชสมัยของพระนั่งเกล้า 

            ในอดีตเป็นที่รู้กันว่าเมื่อมาอยู่วัด ก็ปลอดพ้นจากภยันตรายจากบ้านเมือง มีหนทางเดียวเท่านั้นที่ฝ่ายตรงข้ามจะทำร้ายได้คือ การล่อให้ลาสิกขาดังพระเจ้าปราสาททองใช้อุบายลวงจนพระศรีศิลปะ( พระอนุชาพระเจ้าทรงธรรม ) ลาสิกขามายังราชสำนักและถูกสำเร็จโทษในที่สุด

มองในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สถาบันสงฆ์ไทยมีความเป็นกลางทางการเมืองนานกว่าสถาบันใดๆ สถาบันพระมหากษัตริย์เพิ่งมามีสถานะที่เป็นกลางภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ ขณะที่ความเป็นกลางและบทบาทในทางสมานไมตรีของสถาบันสงฆ์สามารถสืบย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล โดยมีพระพุทธองค์เป็นแบบอย่างโดยเฉพาะในคราวที่ทรงห้ามพระญาติไม่ให้ทำสงครามกันด้วยเหตุเพียงเพราะการแย่งชิงน้ำและการถือวรรณะ

 

เหตุการณ์ในครั้งพระพุทธองค์  ทรงห้ามพระญาติมิให้วิวาทกัน

ที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับเมืองพระญาติ แต่คราว นี้เสด็จมาลำพังพระองค์เดียวก็เพื่อทรงระงับสงครามระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย พระญาติฝ่าย หนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธบิดา ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธมารดา ปกครอง โกลิยนคร หรือเทวทหนครก็เรียก

ทั้งสองฝ่ายตั้งบ้านเมืองอยู่คนละริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี แล้วเกิดพิพาทกันใน ปัญหาเรื่องน้ำที่ทดขึ้น ทำนา   เมื่อฝ่ายอยู่ทางเหนือน้ำทดน้ำจากแม่น้ำเข้านา ฝ่ายทางใต้ก็ขาดน้ำ   ทั้งสองฝ่ายเปิดประชุมเพื่อตกลงกันก่อน แต่         ตกลงกันไม่ได้จึงเกิดปะทะคารมกันอย่างรุนแรงถึงกับขุดบรรพบุรุษ ขึ้นมาประณามกัน        

"ไอ้พวกสุนัขจิ้งจอกสมสู่กันเอง" ฝ่ายที่ถูกด่าว่าอย่างนี้ เพราะต้นสกุลหลายชั่วคนมาแล้วได้ อภิเษกสมรสกันเองระหว่างพี่ชายกับน้องสาว

"ไอ้พวกขี้เรื้อน" ฝ่ายตรงกันข้ามที่ถูกด่าตอบอย่างนี้ ก็เพราะต้นสกุลเป็นโรคเรื้อนถูกเนรเทศ ออกนอกเมืองไปอยู่ป่า           ทั้งสองฝ่ายเตรียมกำลังคนคือทหารและอาวุธจะเข้าห้ำหั่นกัน

พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า จึง เสด็จมาทรงระงับสงคราม ทรงประชุมพระญาติทั้งสองฝ่ายแล้วทรงซักถามถึงต้นตอของตัวปัญหา       
พระพุทธเจ้า  "ทะเลาะกันเรื่องอะไร"

พระญาติ"เรื่องน้ำพระพุทธเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้า "ระหว่างน้ำกับชีวิตคนนี่อย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน"   
พระญาติ  "ชีวิตคนมากกว่า พระพุทธเจ้าข้า"              
พระพุทธเจ้า  " ควรแล้วหรือที่ทำอย่างนี้"    

พระญาติดุษณีภาพทุกคน  ไม่มีใครกราบทูลเลย         
พระพุทธเจ้า  "ถ้าเราตถาคตไม่มาที่นี่วันนี้ ทะเลเลือดจะไหลนอง" (โลหิตนที ปวัตติสสติ)            

พระญาติทั้งสองฝ่ายเลยเลิกเตรียมทำสงครามกัน เหตุการณ์ตอนนี้เป็นบทบาทสำคัญตอน หนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะเห็นความสำคัญนี้  พระพุทธองค์ทรงยกย่องความสมมัคคีในหมู่คณะ เป็นยอดแห่งการพัฒนาทั้งหลายและการสร้างความเจริญในหมู่ชน  ด้งพระพุทธวจนะที่ว่า ความสามัคคีก่อให้เกิดสุข

โดยสรุปแล้ว การแก้ไขความขัดแย้งในสังคมไทย จะต้องอาศัยวิธีการหรือแนวทางที่หลากหลายมาเป็นเครื่องมือผสมผสาน ต้องใช้วิธีการผ่อนปรนเข้าหากันหรือการประนีประนอมค่อยเป็นค่อยไป หรือการเกลื่อนกลืนแนวความคิดของกลุ่มชนชั้นแต่ละกลุ่ม รวมทั้งการขอความร่วมมือ ความเห็นพ้องต้องกัน ในการขจัดปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะรัฐ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญ  ที่มีอำนาจการปกครอง ต้องมีความละมุนในการแก้ไขปัญหา และควรหลีกเลี่ยงที่จะเข้าเป็นผู้ปราบปราม จึงจะทำให้ความขัดแย้งในสังคมปรากฏน้อยที่สุด

พระราชดำรัสพรเจ้าอยู่หัว  เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ยังจำได้ไหม

"..เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมติว่า เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง.."  

สาเหตุแห่งความขัดแย้ง

ถ้าหากวิเคราะห์ตามหลักรัฐศาสตร์และหลักการปกครองโดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของปัญหาสามารถแบ่งย่อยๆได้ดังนี้
1. ความไม่ลงตัวกันทางความเห็นทางอำนาจ  ตั้งแต่ในอดีตแล้วที่คนสยาม, คนไทย หรือจะเรียกด้วยศัพท์อะไรก็ตามมีการสร้างระบอบการปกครองจากสังคมการอุปถัมภ์  เมื่อใดก็ตามที่มีความเห็นไม่ลงตัวกัน สมาชิกในสังคมก็จะเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีการแสดงความคิดเห็นของตนให้ผู้อื่นได้รับรู้ ผู้ที่มีความคิดเห็นเช่นเดียวกันก็จะถูกมองว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน ผู้ที่มีความเห็นต่างออกไปก็จะถูกมองว่าเป็นศัตรู มีการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ เป็น วัฏจักรอย่างนี้เรื่อยมา

2. การไม่ยอมรับในความเป็นของฝ่ายอื่น เมื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก้าวขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ตนเองก็ย่อมต้องการที่จะมีสิทธิ์เด็ดขาดในสังคม จึงมิได้รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป ด้วยเห็นว่าเป็นผู้ที่คิดต่อต้าน แต่เมื่อขาดการรับฟังก็ทำให้เกิดความหลงระเริงในอำนาจ และทำสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสังคมอีกมากมาย

3. การไม่ยอมรับในอำนาจที่อีกฝ่ายได้รับ กล่าวคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจไม่ว่าจะสมัยใดก็ตาม ฝ่ายอำนาจเก่ามักจะไม่ยอมรับในอำนาจของอีกฝ่ายเพราะทำให้ตนสูญเสียอำนาจ เกิดการต่อต้านเพื่อเรียกร้อง, ร้องขอ อำนาจ ทำให้อำนาจกลายเป็นเครื่องมือในการต่อรองทางการเมืองอีกอย่างหนึ่งไปโดยปริยาย มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อดำเนินการต่อต้าน ทั้งที่เปิดเผิยและเป็นกลุ่มลับ ใช้ทั้งวิธีสะอาดและสกปรก
4. ผลประโยชน์ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า อำนาจกลายเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมือง เพราะอำนาจนั้นสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ได้ แต่เมื่อผลประโยชน์ที่ได้ถูกจัดแบ่งไม่เท่ากัน ก็ก่อให้เกิดเป็นความขัดแย้งขึ้นมาได้อีกเช่นกัน เช่น การขัดแย่งผลประโยชน์ตำแหน่งทางการเมือง, การขัดแย้งผลประโยชน์ทางการค้า และการทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนยังคงไว้ซึ้งอำนาจและผลประโยชน์ ซึ่งก่อให้เกิดผลสำคัญในระบอบการเมืองไทย คือ ในระยะเวลา 78 ปีของระบบรัฐสภา ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี 27 คน มีคณะรัฐมนตรี 59 ชุด มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ มีกบฏ 11 ครั้ง มีการปฏิวัติรัฐประหาร 12ครั้ง 

  ปัญหาทั้งหมดนี้เกิดจากหลังจาก ปี 2475  ประเทศไทยมองว่าจะได้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว แต่มิได้เป็นเช่นนั้น ด้วยยังมีกลุ่มพ่อค้า ขุนศึกและศักดินา พยายามให้ผลประโยชน์จากอำนาจแบบเก่าๆ ยังคงอยู่  

ท่านพุทธทาสภิกขุ

คำว่า ขัดแย้ง ถ้าเป็นภาษาบาลี คือคำว่า  อุปัทวะ ภาษาไทย ก็คือ  อุบาทว์ 
มีการขัดแย้งที่ไหน มีอุบาทว์ที่นั่น
 ฉะนั้นต้องไม่มีการขัดแย้ง ต้องมีการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน  ต้องบรรเทาความเห็นแก่ตัว จึงจะทำความเข้าใจแก่กันและกันได้  

สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ  ประการสำคัญที่สุดในการพิจารณาประเด็นธรรมะกับการเมือง คือสิ่งที่ท่านเรียกว่า “อิสรภาพในการใช้สติปัญญา” 

                การที่เราไม่มีอิสรภาพหรือเสรีภาพในการใช้สติปัญญานั้น เกิดขึ้นเพราะ “เราถูกกระทำให้เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ หรือไม่มีเสรีภาพ”   และโดยพื้นฐานแล้ว อิสรภาพทางสติปัญญานี้ “มีความสำคัญทั้งทางฝ่ายโลกและฝ่ายศาสนา”

                การที่พุทธบริษัทไม่สามารถหรือไม่กล้าพอที่จะใช้วิจารณญาณของตน  เมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจ ปฏิบัติ หรือได้รับผลนั้น ขัดกับแนวทางที่ยอมรับกันอย่างงมงาย  ส่วนในทางโลกนั้น  คือการตกอยู่ในสภาพ “เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ”  เพราะเห็นว่าเขาว่ามาอย่างนั้น หรือนิยมกันมาอย่างนั้น 

ในเรื่องนี้ สำหรับพุทธบริษัท หากยอมตกเป็นทาสทางสติปัญญาเสียแล้ว ย่อมถูกตีกรอบ จำกัดประเด็น จนไม่กล้าแสวงหาแนวทางของตน เป็นการยอมจำนนอย่างขัดกับหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวพุทธ ได้แก่ หลักโพชฌงค์เจ็ดประการ  ซึ่งประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ “ธัมมวิจัย” 

“เรื่องใหญ่หลวงของพุทธบริษัท คือ ความไม่มีอิสรภาพในการใช้ความคิดนึก เลือกเฟ้น อย่างที่เรียกโดยชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์… (ซึ่งหมายถึง) การเลือกเฟ้นธรรมซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้”

 

“ดังนั้น ต้องทำตนให้เป็นคนกล้า กล้าหาญ แล้วก็มีอิสรภาพในการที่จะพินิจพิจารณา โดยไม่ต้องกลัวขนบธรรมเนียมประเพณี ที่จะมามองดูกันเดี๋ยวนี้ว่า การเมืองนั้นมันคือธรรมะ”

ใน ธรรมะกับการเมือง  พุทธทาสภิกขุ หยิบยก “กาลามสูตร” มาอธิบายเสริมประเด็นเรื่องนี้อย่างน่าสนใจ  ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้  ดังนี้

หมวดที่หนึ่ง  เป็นหมวดว่าด้วย “ความรู้ ความคิด ความเห็นเก่าๆ” หรือที่นำเสนอตามๆ กันมา ได้แก่

ข้อที่ 1  อย่าเชื่อเพราะฟังตามๆ กันมา

ข้อที่ 2  อย่าเชื่อเพราะปฏิบัติตามๆ กันมา

ข้อที่ 3  อย่าเชื่อเพราะกำลังเล่าลือกระฉ่อน

ข้อที่ 4  อย่าเชื่อเพราะการอ้างตำรา

หมวดที่สอง เป็นหมวดว่าด้วย “ความรู้สึกนึกคิดปัจจุบันของตน”  ได้แก่

ข้อที่ 5  อย่าเชื่อเพราะเหตุแห่งตรรก (วิธีของตรรกวิทยา)

ข้อที่ 6  อย่าเชื่อเพราะเหตุแห่งนัยะ (การอนุมานตามวิธีของปรัชญา)

ข้อที่ 7  อย่าเชื่อเพราะการตรึกตามอาการ (สามัญสำนึก หรือ common sense)

ข้อที่ 8  อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทิฏฐิหรือความเห็นของเรา

ส่วนหมวดที่สาม เป็นหมวดว่าด้วย “บุคคลที่มาเกี่ยวข้องด้วย”  ได้แก่

ข้อที่ 9  อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นคนน่าเชื่อ

ข้อที่ 10  อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูของเรา

ที่ท่านพุทธทาสอ้างถึงกาลามสูตร 10 ข้อนี้  ท่านให้เหตุผลประกอบว่า “เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยการเมือง....อย่าหลับหูหลับตาไปตะครุบเอาลัทธิการเมืองนั่นนี่ แบบนั้น แบบนี้ มาอย่างน่าสังเวช  ลองใช้กาลามสูตรดูบ้าง”

กาลามสูตรเป็นหลักวินิจฉัยเพื่อเตือนให้เห็นอาการของการเชื่ออย่างรวบรัด หรือสรุปโดยปราศจากวิจารญาณ  ขาดการศึกษา ทำความเข้าใจ ทดลองให้ประจักษ์  และวินิจฉัยประโยชน์ด้วยตนเองให้ถ่องแท้เสียก่อน

แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับ “ธรรมะกับการเมือง”  ท่านพุทธทาสยังนำเสนอหลักการที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมสำหรับเรื่องนี้อีกชุดหนึ่ง  อาจเรียกได้ว่าเป็น “อิสรภาพในการใช้สติปัญญาทางการเมือง” หรือ “อิสรภาพตามความเหมาะสม” 4 ขั้นตอน

 

อิสรภาพ 4 ขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย

หนึ่ง อิสรภาพในการรวบรวมมาวินิจฉัย  ข้อนี้หมายถึง การไม่ด่วนผูกมัดตนเองกับลัทธิการเมือง แต่จะต้องพยายามศึกษาอย่างรอบด้าน  ประมวลแนวทางทั้งหลายมาเท่าที่จะกระทำได้  เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบ  ไม่ว่าจะเป็นจากประสบการณ์ในอดีต แนวทางร่วมสมัย รวมทั้งจากแหล่งที่ท่านให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ “ข้อเท็จจริงของธรรมชาติทั้งหลาย.... เป็นการเมืองที่ธรรมชาติจัดให้ ตามระบบของธรรมชาติ”

สอง  อิสรภาพในการวินิจฉัย  ในข้อนี้ “เราจะมีความเป็นอิสระแก่ตัวเอง ของตัวเอง ทำการวินิจฉัย”  ไม่สยบต่อความน่ายำเกรง ที่ติดมากับแนวคิดและวิถีต่างๆ  ไม่ว่าจะมาจากขนบประเพณี  ความนิยม หรือการตัดสินของอำนาจใดๆ  นอกจากนี้ อิสรภาพในข้อนี้ ยังรวมถึง อิสรภาพในการตั้งประเด็นและแง่มุมเพื่อพิจารณา ชนิดที่หลุดจากกรอบหรือแง่มุมอันจำกัด  ตามที่มักร่ำเรียนยึดถือกันมาด้วย  กล่าวคือ “ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาตามที่เขาเขียนให้เราเรียน”

สาม  อิสรภาพในการเลือก  ในข้อนี้  ท่านอธิบายว่า “เมื่อเราวินิจฉัยมันไปทุกอย่างทุกแง่ทุกมุมแล้ว  เราจะเลือกอันไหน แง่มุมไหน เราก็จะต้องเป็นอิสระด้วยเหมือนกัน”  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  การเลือกแนวทางทางการเมืองนั้น  ไม่จำเป็นต้องติดอยู่ในกรอบของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง  แต่ควรจะมีเสรีภาพในการ “เลือก” มาผสมผสาน หรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ตามที่ “มันเหมาะแก่ปัญหาของเรา หรือมันเหมาะแก่เรา”

สี่  อิสรภาพในการปฏิบัติ  ท่านหมายถึง การตระหนักถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ  ไม่ต้องยึดติดว่า เมื่อสมาทานลัทธิหรือแนวทางหนึ่งใดแล้ว  จะต้องทำตามอย่างที่เขานิยมยึดถือกันมา  ดังนั้น “เราต้องมีอิสระในการปฏิบัติเท่ากับที่เราได้เลือก... อยู่ที่ความสามารถของเรา  แล้วเราต้องรู้จักตัวเราให้ดี ว่าเรามันอยู่ในสภาพอย่างไร มีความสามารถเท่าไร แล้วจะได้ปฏิบัติพอดีกับความสามารถ”

สำหรับท่านพุทธทาส  ความหมายของการเมืองจึงขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่ของมัน  และหน้าที่นี้ก็คือ

โดยท่านได้ขยายความในแต่ละประเด็นว่า  “ความสำคัญมันก็อยู่ที่ว่า มันเป็นระบบ ที่ต้องจัดต้องทำขึ้น นี้อย่างหนึ่ง แล้วก็เพื่อคนจำนวนมาก หรือคนทั้งหมดจะอยู่กันโดยปราศจากปัญหา... ไม่ว่าปัญหาใดๆ  เพราะขึ้นชื่อว่าปัญหาแล้ว ก็ย่อมเป็นความทุกข์ทั้งนั้น ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง แล้ววลีสุดท้ายว่า โดยไม่ต้องใช้อาชญา คือไม่ต้องใช้อาวุธ ไม่ต้องใช้การกระทำที่เรียกว่า หิงสา การฆ่ากัน เป็นต้น”

ย่อมหมายถึงสิ่งที่นักรัฐศาสตร์และนักกิจกรรมทางการเมืองจำนวนมาก เรียกว่า “การไม่ใช้ความรุนแรง” หรือ “สันติวิธี” หรือ “non-violence” นั่นเอง 

พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบชีวิต
หมู่สัตว์มีสี่ชนิดจิตแผกผัน ดุจดอกบัวทั่วสระคละปนกัน
สี่เหล่าชั้นสูงต่ำธรรมดา

หนึ่งนั้นหรือคือดอกเพิ่งออกใหม่ ( ปทปรมะ ) ยังอ่อนไหวลาภปากหลากมัจฉา เฉกเช่นคนโง่โมหะพา ก่อปัญหาแก่ตนคนทั่วไป  ( ไม่สามารถสอนได้ )  
สองคือดอกออกมาสูงกว่าหนึ่ง ( เนยยะ ) อยู่ก่ำกึ่งกลางชลพ้นอ่อนไหว ดุจดังชนคนดีมีวินัย พอนำไปสูงได้ให้เบิกบาน
สามเหล่าที่มีขนาดพลาดพ้นเหยื่อ ( วิปจิตัญญ ) ชูดอกเรื่อปริ่มน้ำตามกล่าวขาน เปรียบผู้มีปัญญาญาณชอบฟังอ่านธรรมะละบาปจริง
สี่เหล่าดอกออกตระการบานสะพรั่ง ( อุดมฏิตัญญู ) รู้ความจริงพิสุทธิ์พ้นด้วยตนแล

 

           -------------------------------------------------------------------------- 

แหล่งที่มา   ปฏิวัติประชาธิปไตยสยาม  โดยสุพจน์ ด่านตระกูล
ไทย-การเมืองการปกครอง, การบริหารราชการแผ่นดิน  สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน  พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงไผ่ เกษมศุขการี ต.จ.

การแก้ไขความวิปริตของโลก
ธรรมะบรรยายของท่านพุทธทาส เรื่องการต่อต้านแก้ไขความวิปริตของโลก ซึ่งเปิดวันล้ออายุ 99 ปีพุทธทาส

รัฐธรรมนูญเป็นตัวจุดชนวนความขัดแย้งที่กำลังจะปะทุขึ้น.  ไทยรัฐออนไลน์ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553   
 เรื่อง “ทางออกของความแตกแยกของสังคมและการเมืองไทย”
สภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทรเสวนาสภาอาจารย์ ครั้งที่ 8/2553

คลิกกลับไปหน้าหลักเว็ปไซตสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ `