photo

เบญจศีล-เบญจธรรม

อาจารย์ไกรวิท วงศ์อามาตย์ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

http://sassanapor4.com/th/

1.      เบญจศึลและเบญจธรรมมีความสำคัญอย่างไร

เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ จะทำให้อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข?

2. เบญจศีล หมายถึง ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย และวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุรา

เบญจศีล เป็นเครื่องรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย และวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ
1.
ปาณาติบาต คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ และการเบียดเบียนสัตว์
2.
อทินนาทาน คือ ละเว้นจากการลักขโมย ปล้นจี้ ฉกชิง วิ่งราว เป็นต้น
3.
กาเมสุมิจฉาจาร คือ ละเว้นจากการประพฤติผิด ล่วงละเมิดลูกเมียผู้อื่น
4.
มุสาวาท คือ ละเว้นจากการพูดปด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด
5.
สุราเมระยะ คือ ละเว้นจากการเสพสุรา เพราะเป็นสาเหตุให้ทำผิดศีลข้ออื่น
อานิสงส์ของการรักษาศีล
1.
ทำให้มีความสุขกายสุขใจ ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
2.
ทำให้เกิดทรัพย์สมบัติมากขึ้นได้
3.
ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มที่ โดยไม่ต้องหวาดระแวงภัย
4.
ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
5.
ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรขจายไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเคารพเชื่อถือ
6.
ตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ
เบญจศีลทั้ง 5 ข้อจะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะบุคคลผู้นั้นมีเบญจธรรมประจำตัว

3.
เบญจธรรม

เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่
1.
เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ ด้วยรู้ดีว่าทุกชีวิตย่อมมี ความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับเรา ทำให้ไม่ผิดศีลในข้อที่ 1
2.
สัมมาอาชีพ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 2
3.
ความสำรวมอินทรีย์ คือ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 3
4.
ความซื่อสัตย์ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท ทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 4
5.
สติ  คือ การรู้สึกตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกุศล ทำให้ชีวิตไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราเมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ การมีสติจึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 5

 

อาราธนาศีล 5
( ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ ")
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/siil5.html

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยันปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ

 

การที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจดเรียบร้อย ต้องประกอบด้วยวิรัติ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
   สมาทานวิรัติ ได้แก่การเปล่งวาจาขอสมาทานศีลจากพระภิกษุ สาม เณร หรือ จากบุคคลผู้มีศีลโดยการเปล่งวาจาขอสมาทานเป็นข้อ ๆ ไปดังนี้

http://www.sil5.net/index.asp?

๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขา บท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และการใช้ให้คนอื่นฆ่าในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติก ประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า
๒.อะทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลักในสิกขาบทนี้ คำว่า "ทรัพย์" หมายเอาทั้งสวิญญาณกทรัพย์ ทรัพยที่มีวิญญาณครอง เช่น คน สัตว์ และ วิญญาณฏทรัพย์ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ และหมายความรวมไปถึงสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้และอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลักด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นลัก
๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ในสิกขาบทนี้ คำว่า
"การประพฤติผิดในกาม" หมายถึงการร่วมประ เวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น
สิกขาบทนี้ เป็น สาหัตถิกประโยค เพราะผิดประเวณีด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นผิดประเวณี
๔.มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "มุสาวาท" หมายความรวมไปถึง วจีทุจริต ๔ ประการ คือ การปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
การพูดปด ได้แก่ การพูดเท็จ หรือพูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเรียกว่า มุสาวาท
การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าว่าคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เรีบกว่า ผรุสวาจา
การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดให้ไขว้เขว เหลวไหลไร้สาระ ทำให้เสียประโยชน์ของผู้อื่น เรียกว่า สัมผัปปลาปะสิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยค เพราะพูดด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะให้ใช้คนอื่นพูด
๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในสิกขาบทนี้ คำว่า
"สุราและเมรัย" หมายถึง สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่

 

****************