สารบัญ

หมวดที่ ๑

หมวดที่ ๒
วัตถุประสงค

หมวดที่ ๓
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน

หมวดที่ ๔
องค์อุปถัมภ์มูลนิธิฯ

หมวดที่ ๕

คุณสมบัติกรรมการ

หมวดที่ ๖
การดำเนินการ

หมวดที่ ๗

อำนาจหน้าที่กรรมการ

หมวดที่ ๘

อนุกรรมการ

หมวดที่ ๙

การประชุมกรรมการ

หมวดที่ ๑๐

การเงิน

หมวดที่ ๑๑

การแก้ไขตราสาร

 

หมวดที่  ๑๒

การเปลี่ยนสภาพสินทรัพย์

หมวดที่ ๑๓

การเลิกมูลนิธิ

หมวดที่ ๑๔

บทเบ็ดเตล็ด

กลับไปข้อมูลสัมมาฯ

ตราสาร
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ในพระสังฆราชูปถัมภ์

.................. . สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เป็นองค์การการกุศล จดทะเบียน ( เลขที่ ๖๘ ) เป็นนิติบุคคล เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๑๖๑๘ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๒ และตราสารในเล่ม ๗๙ ตอน ๒๒ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ กับเล่ม ๘๙ ตอน ๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ๗๔๒ ซอยพญานาค ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร.

หมวดที่ ๑

ชื่อ เครื่องหมาย และสำนักงานที่ตั้ง

ข้อ ๑   มูลนิธินี้ชื่อว่า “ สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ” ย่อว่า ส.ช.ศ. เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “The Foundation for Education in the Art of Right Living”

ข้อ ๒   เครื่องหมายของมูลนิธินี้คือ รูปบัวสี่เหล่ากลางน้ำ มีพระอาทิตย์ ส่งรัศมีอยู่ในวงกลมสองชั้นมีกลีบบัวอยู่โดยรอบ
ข้อ สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๗๔๒ ซอยพญานาค แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐

[ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๒

วัตถุประสงค์

ข้อ ๔   วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ
              ๔.๑  เพื่อบำรุงและส่งเสริมการศึกษา โดยจัดตั้งโรงเรียน อุปการะโรงเรียนและอุปการะบุคคลให้ได้รับการศึกษาและประกอบสัมมาอาชีพ ตามคติของพระพุทธศาสนา

   ก.   ดำเนินการสอนนักเรียนตามหลักสูตรระดับต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ระดับอนุบาล ระดับประถมและระดับมัธยมศึกษา กับประเภทอาชีวศึกษา

ข.  ให้การศึกษาอบรมหนักไปในทางธรรมะ ตามหลักพระพุทธศาสนา อบรมให้รักวัฒนธรรมไทย และส่งเสริมสมรรถภาพของศิลปหัตถกรรม

ค  ให้การศึกษาอบรมหลักการและวิธีสหกรณ์รูปแบบต่างๆเพื่อให้ช่วยเหลือตนเองและชุมชนในทาง          เศรษฐกิจและสังคม จนถึงรวมกันเป็นพุทธนิคมในท้ายที่สุด

๔.๒   อุปการะโรงเรียนในสังกัดของมูลนิธิในด้านต่างๆเพื่อให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มั่นคง ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน

๔.๓อุปการะนักเรียนที่ยากจนขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ได้โอกาสรับการศึกษาจากโรงเรียนในสังกัดของมูลนิธิเอง หรือส่งเสริมให้ทุนเพื่อรับการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาแขนงวิชาชีพต่างๆให้มั่นคง

๔.๔    ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ครูนักเรียนและพนักงานของมูลนิธิเพื่อให้เกิดความสำนึกในการประกอบสัมมาอาชีพ อบรมกุล บุตรกุลธิดา ให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานับเป็นองค์หนึ่งของมรรคสัจจ์อันเป็นหลักสำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา

๔.๕     พิจารณาอุปการะภิกษุ สามเณร ตลอดจนแม่ชีให้ได้ศึกษาธรรมะ วิชาชีพบางแขนง เช่น วิชาครู วิชาพยาบาลเบื้องต้น และวิชาอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยเหลือฝึกอบรมนักเรียน กุลบุตร ตามโอกาสอันควร

๔.๖     ดำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์การกุศลอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสาธารณะประโยชน์

          ๔.๗     ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องการเมืองแต่ประการใด 
 [ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๓

ทุนทรัพย์ ทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

ข้อ ๕   ทรัพย์สินของมูลนิธิทุนเริ่มแรก คือ

          ๕.๑     เงินสด จำนวน ๑๔,๐๐๐ บาท ( หนึ่งหมื่นพันบาท ) จดทะเบียนก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๒

ข้อ ๖   มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้

          ๖.๑      เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมใดๆโดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดชอบในหนี้

สินหรือภาวะติดพันอื่นใด

          ๖.๒     เงินหรือทรัพย์สินที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้

          ๖.๓     ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ

          ๖.๔     รายได้ที่เกิดจากกิจกรรมตามหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งอยู่ในสังกัด หรือรายได้จากกิจกรรมพิเศษอื่นใดนำเพิ่มทุนสะสมหาดอกผล

[ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๔
องค์อุปถัมภ์มูลนิธ

ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการมูลนิธิ ทูลอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบัน และทุกพระองค์ในอนาคต ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมูลนิธิ และอาราธนาพระมหาเถระอื่นๆ ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศานิกชน เป็นผู้อุปการะมูลนิธินี้อีกด้วย

 

หมวดที่ ๕

คุณสมบัติและการพ้นตำแหน่งของกรรมการ

ข้อ ๘    กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้

          ๘.๑     มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์

          ๘.๒    ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

          ๘.๓     ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

          ๘.๔     มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม เป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

ข้อ ๙    กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

          ๙.๑      ถึงคราวออกตามวาระ

          ๙.๒     ตายหรือลาออก

        ๙.๓     ขาดคุณสมบัติตามตราสาร ข้อ ๘

          ๙.๔     เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ให้ออกโดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการมูลนิธิ

[ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๖

การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ

ข้อ ๑๐ มูลนิธินี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน แต่ไม่เกิน ๑๑ คน ประกอบด้วยประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิ เลขาธิการมูลนิธิ เหรัญญิก และตำแหน่งอื่นๆ ตามแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ ๑๑ ในวาระแรกให้คณะกรรมการมูลนิธิ ชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่ เชิญผู้มีคุณสมบัติเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการให้ครบจำนวน
ข้อ๑๒ วิธีการเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิให้ปฏิบัติดังนี้
คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่เลือกประกรรมการมูลนิธิ และกรรมการอื่นๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามตราสาร
ข้อ ๑๓ กรรมการดำเนินงานมูลนิธิอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี 
ข้อ ๑๔ เพื่อให้การดำเนินงานของมูลนิธิได้เป็นไปโดยติดต่อกัน เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิได้ปฏิบัติหน้าที่มาครบ ๒ ปี ( ครึ่งหนึ่งของวาระการดำรงตำแหน่ง ) ให้มีการจับสลากออกไปหนึ่งในสองของจำนวนกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินงานมูลนิธิครั้งแรก
ข้อ ๑๕ การเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิ ให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม
ข้อ ๑๖ กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือการจับสลากในวาระแรกอาจได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการได้อีก
ข้อ๑๗ ถ้าตำแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง กรรมการมูลนิธิผู้ได้รับการตั้งซ่อมอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
[ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๗

อำนาจหน้าที่ของกรรมการมูลนิธิ

 

ข้อ ๑๘ คณะกรรมมูลนิธมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ และภายใต้ข้อบังคับตราสารนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

๑๘.๑  กำหนดนโยบายของมูลนิธิ และดำเนินงานตามนโยบายนั้น

๑๘.๒  บริหารกิจการ ควบคุมการเงิน และทรัพย์สินต่างๆของมูลนิธิ

๑๘.๓  เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงินและบัญชีงบดุลรายได้-รายจ่าย ต่อกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร) ตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดไว้

๑๘.๔  ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิและวัตถุประสงค์ของตราสารนี้

๑๘.๕ ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ

๑๘.๖  แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อดำเนินการ เฉพาะอย่างของมูลนิธิ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ

๑๘.๗  เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นพิเศษเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์

๑๘.๘  เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์

๑๘.๙  เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ

๑๘.๑๐ แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจำของมูลนิธิ
มติให้ดำเนินการตามข้อ ๑๘.๗, ๑๘.๘, ๑๘.๙ ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุมและที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ ที่เชิญเท่านั้น

ข้อ ๑๙ ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

        ๑๙.๑  เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

        ๑๙.๒  สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

        ๑๙.๓  เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและในการทำนิติกรรมใดๆของมูลนิธิ หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ตราสาร และสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิและในอรรถคดีนั้น เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทน หรือกรรมการมูลนิธิ ๒ คน ได้ลงลายมือชื่อแล้วจึงเป็นอันใช้ได้

๑๙.๔  ปฏิบัติการอื่นๆตามตราสาร และมติของคณะกรรมการมูลนิธิหรือภาระกิจอื่นใดของมูลนิธิ ประธานกรรมการมูลนิธิอาจตั้งเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ ไปดำเนินการในกิจการแทน เท่าที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อมูลนิธิตามควรแก่ภาระกิจนั้น

ข้อ ๒๐ ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณีที่ประธานกรรมการมูลนิธิมอบหมายให้ทำการแทน

 

ข้อ ๒๑ ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิ และรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น

ข้อ ๒๒        เลขาธิการมูลนิธิ มีหน้าที่ควบคุมกิจการ และดำเนินการประจำมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิและทำรายงานการประชุม ตลอดจนรายงานกิจการมูลนิธิ

ข้อ ๒๓        เหรัญญิก มีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนบัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด

ข้อ ๒๔        สำหรับกรรมการตำแหน่งอื่น ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด โดยเป็นคำสั่ง ระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน

ข้อ ๒๕        คณะกรรมการมูลนิธิมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการอื่นๆของมูลนิธิได้

[ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๘

อนุกรรมการ

ข้อ ๒๖ คณะกรรมการมูลนิธิ อาจแต่งตั้งหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม โดยแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการประจำ หรือเพื่อการใดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะคราวก็ได้ และในกรณีที่คณะกรรมการมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้งประธานอนุกรรมการ เลขานุการ หรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นไว้ ก็ให้อนุกรรมการแต่ละคณะแต่งตั้งกันเอง ดำรงค์ตำแหน่งดังกล่าวได้

ข้อ ๒๗        อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะเสร็จงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ ส่วนคณะอนุกรรมการประจำอยู่ในตำแหน่งตามเวลาที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งและอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้

        ๒๗.๑ อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย

        ๒๗.๒ อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการมูลนิธิ เกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
[ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๙

การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

ข้อ     ๒๘    คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีทุกๆปี ภายในเดือน มิถุนายนและต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อ ๒๙ การประชุมวิสามัญอาจมีได้เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิตั้งแต่ ๒ คน ขึ้นไปแสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทนขอให้มีการประชุมก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้

ข้อ     ๓๐    กำหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กำหนดการประชุมให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเอง และในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประชุมให้ใช้ข้อ ๒๘ บังคับโดยอนุโลม

ข้อ     ๓๑    ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อย ประธานกรรมการมูลนิธิ มีอำนาจสั่งให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่ประธานกรรมการมูลนิธิจะต้องรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในคราวต่อไปถึงมติและกิจการที่ได้ดำเนินการไปตามมตินั้น

ข้อ     ๓๒    ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการมูลนิธิหรือประธานที่ประชุมมีอำนาจเชิญ หรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุม ในฐานะแขกผู้มีเกียรติ หรือผู้สังเกตการณ์ หรือเพื่อชี้แจง หรือเพื่อให้คำปรึกษาแก่ที่ประชุมได[ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๑๐

การเงิน

ข้อ     ๓๓    ประธานกรรมการมูลนิธิหรือรองประธานกรรมการมูลนิธิในกรณีที่ทำหน้าที่แทน มีอำนาจสั่งจ่ายคราวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่ในกรณีจำเป็น และเร่งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิที่อนุมัติให้จ่ายได้แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมคราวต่อไป

ข้อ     ๓๔    เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท

ข้อ     ๓๕    เงินสดของมูลนิธิและเอกสารสิทธิต้องนำมาเข้าฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นใดที่รัฐบาลให้การค้ำประกัน แล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร

ข้อ     ๓๖    การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คหรือตั๋วสั่งจ่ายเงิน จะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทน กับเลขาธิการหรือเหรัญญิกลงนามทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้

ข้อ     ๓๗    บรรดาเงินและทรัพย์สินเป็นทุนของมูลนิธิ ตามข้อ ๕ และข้อ ๖ ในหมวดที่ ๓ จำต้องรักษาไว้เป็นทุนสะสม เพื่อเป็นอนุสรณ์ของผู้บริจาค และเป็นทุนเพื่อหาดอกผลมาใช้จ่ายในการดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์

        ๓๗.๑  ในการจ่ายของมูลนิธิให้จ่ายเพียงดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สินอันเป็นของมูลนิธิ และจากดอกผลอันเกิดจากทุนทรัพย์สะสมของหน่วยงานในสังกัดหรือเกิดจากเงินที่ผู้บริจาคได้แสดงเจตนาให้เป็นทุนสะสมโดยเฉพาะ

        ๓๗.๒ ใช้จ่ายจากเงินทดรองจ่าย ซึ่งเป็นเงินดอกผล จัดกิจกรรมเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิในรูปทุนหมุนเวียนแล้วเบิกจ่ายตามระเบียบที่กำหนดทางบัญชี หากมีรายรับสูงกว่ารายจ่ายก็นำเข้าสมทบทุนสะสม

        ๓๗.๓ จ่ายจากวงเงินที่ผู้บริจาคให้เจาะจงเพื่อใช้ในกิจการใดเป็นเฉพาะกรณีตามประสงค์ของผู้บริจาค

        ๓๗.๔ กิจการจรที่อาจเกิดขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเรื่องเป็นครั้งคราว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงเกินวงเงินรายรับจากดอกผลจำเป็นต้องเบิกจ่ายจากทุนสะสม อาจกระทำได้โดยเสนอเรื่องขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ หากที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบแล้วอนุมัติให้ดำเนินการได้โดยมีคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ในองค์ประชุมนั้น

ข้อ     ๓๘    ให้คณะกรรมการมูลนิธิวางระเบียบเกี่ยวกับเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนกำหนดหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

ข้อ     ๓๙    ให้มีผู้สอบบัญชีของมูลนิธิ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิเห็นชอบ และแต่งตั้งจากบุคคลที่มิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของมูลนิธิ โดยจะให้ดำรงตำแหน่งกิตติมศักดิ์ หรือได้รับค่าตอบแทนอย่างไรสุดแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนด

ข้อ     ๔๐    ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของมูลนิธิ และรับรองงบดุลประจำปีที่คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องมูลนิธิจะต้องรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง( กรมสรรพกร ) ผู้สอบบัญชีมีสิทธิตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิ และเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิในเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและเอกสารดังกล่าวได้ [ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๑๑

การแก้ไขเพิ่มเติมตราสาร

 

ข้อ         ๔๑    การแก้ไขเพิ่มเติมตราสาร จะกระทำได้โดยเฉพาะที่ประชุมกรรมการมูลนิธิ ซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมติให้แก่ไขหรือเพิ่มเติมตราสารต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าร่วมประชุม

หมวดที่  ๑๒

การเปลี่ยนสภาพอสังหาริมทรัพย์

ข้อ     ๔๒    ในกรณีมูลนิธิพึงประสงค์เปลี่ยนสภาพอสังหาริมทรัพย์ พึงกระทำได้ดังนี้

        ๔๒.๑  ทรัพย์สินของมูลนิธิที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับมาจากผู้ศรัทธาบริจาคให้ จะดำเนินได้โดยขอความเห็นชอบจากผู้อุทิศให้ หากไม่มีชีวิตอยู่แล้ว คณะกรรมการมูลนิธิได้ร่วมประชุมพิจารณาเห็นเป็นการสมควรและอนุมัติให้ดำเนินการตามมตินั้น

        ๔๒.๒ ทรัพย์สินของมูลนิธิ ซึ่งได้มาจากทุนทรัพย์ของมูลนิธิเอง หากที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิพิจารณาเห็นเป็นการเหมาะสมและอนุมัติให้ดำเนินการ โดยมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการทั้งหมด ให้ดำเนินการตามมตินั้น [ กลับสารบัญ ]

 

หมวดที่ ๑๓

การเลิกมูลนิธิ

ข้อ     ๔๓    ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการ หรือโดยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินของมูลนิธิที่เหลืออยู่ให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่กระทรวงศึกษาธิการ

ข้อ     ๔๔    การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากกฎหมายบัญญัติไว้แล้วให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุดังต่อไปนี้

        ๔๔.๑  เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียน จัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วไม่ได้รับทรัพย์สินตามคำมั่นเต็มจำนวน

        ๔๔.๒ เมื่อกรรมการมูลนิธิจำนวนสองในสามมีมติให้ยกเลิก

        ๔๔.๓ เมื่อมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ในตราสาร

        ๔๔.๔ เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆ

 

หมวดที่ ๑๔

บทเบ็ดเตล็ด

ข้อ      ๔๕     การตีความในตราสารมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัยให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ      ๔๖      ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับในเมื่อตราสารของมูลนิธิไม่ได้กำหนดไว้

ข้อ      ๔๗     มูลนิธิจะต้องไม่กระทำการค้ากำไร และจะต้องไม่ดำเนินการนอกเหนือไปจากตราสารที่กำหนดไว้

 

[ กลับสารบัญ ]