พระพุทธรูป ศิลปวัตถุสำคัญของชาติ ณ โรงเรียนวัดราชาธิวาส

พระพุทธไสยาสน์ ณ ห้องประชุมตึกไชยันต์ ๒๔๖๒
หลังเก่าก่อนรื้อถอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖

 

พระพุทธไสยาสน์ ณ ห้องพระชั้น ๖ ตึกไชยันต์หลังใหม่

“ พระพุทธไสยาสน์ที่งดงามและคล้ายคนจริง”

( สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “ พระไสยา ” )

    พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะประยุกต์แบบกรีก  มีลักษณะเหมือนสามัญมนุษย์ที่งามที่สุด  ถ้ามองดูไกล ๆ  จะเหมือนคนนอนจริง ๆ ห่มจีวรที่พลิ้วไหวเป็นริ้วบางเบาคล้ายผ้าจริง พระเนตรหลับพริ้มแม้กระทั่งลักษณะการวางพระบาท ก็เป็นไปในลักษณะสมจริงเช่นคนหลับทั่วไป มีขนาดองค์พระยาว ๑๙๕ เซนติเมตร ฐานยาว ๒๐๕ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๕๖ เซนติเมตร   แต่ทว่าเป็นอิริยาบถการนอนที่งดงามยิ่ง  โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงออกแบบ ประทานให้ช่างปั้นและหล่อ คือ พระเทพรจนา ( สิน ) หล่อด้วยโลหะสำริดลงรักปิดทอง ในปี พ.ศ.2462  สร้างอุทิศถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ( พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล ) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   
        
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ( พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล ) ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ ๗๙ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเจ้าจอมมารดาห่วง ทรงอภิเษก กับ หม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ พระธิดาองค์ใหญ่ของกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และหม่อมเจ้าหญิงโถมนา  

         หม่อมเจ้าหญิงสุภางค์พักตร์ ไชยันต์ ทรงสนพระทัยในด้านการศึกษามาก และทรงปฏิบัติตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  ที่ได้อุทิศทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งไว้ให้สร้างโรงเรียนวัดราชาธิวาส แต่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อน
             สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ จึงใช้ทุนทรัพย์มรดกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  สร้างตึกไชยันต์ โรงเรียนวัดราชาธิวาส ในปี พ.ศ.๒๔๖๒ และสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นวันประสูติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  และบรรจุพระสรีรางคารพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  ที่ฐานพระพระพุทธไสยาสนเพื่อให้อยู่คู่กับโรงเรียนวัดราชาธิวาส จนถึงปัจจุบัน

   ซึ่งพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์นี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสำคัญของชาติ
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอน ๑๒๑ ง. ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐

( เปิดดูข้อมูลประกาศราชกิจจานุเบกษา )

 

 

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ครบ ๑๐๘ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส

สมาคมนักเรียนเก่าฯ และโรงเรียนวัดราชาธิวาส
จัดสร้างพระพุทธไสยาสน์จำลอง รุ่น ๑๐๘ ปี เนื้อทองเหลืองโลมสีมันปู ขนาดฐาน ๑๓ นิ้ว

พิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ ณ พระอุโปสถวัดราชาธิวาส

พระธรรมกวีเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร เป็นประธานพิธีเททอง

เพื่อเผยแผ่ไปยังนักเรียนเก่าและพุทธศาสนิกชนได้มีไว้บูชา ติดต่อขอรายละเอียดและสั่งจองได้ที่โรงเรียนฯ


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ จำลอง

ในโอกาสที่โรงเรียนวัดราชาธิวาสมีอายุครบ ๘๔ ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๐ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้จัดสร้างพระพุทธไสยาสน์จำลอง

เป็นเนื้อนวโลหะ และนวโลหะรมดำ ปั้นต้นแบบโดยอาจารย์เข็มรัตน์ อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขนาดฐาน ๑๑ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว สร้างเพียง ๙๙๙ องค์ และชนิดเหรียญเนื้อทองแดง ออกแบบโดยอาจารย์พูนศักดิ์ กมลโชติ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ

การสร้างครั้งนั้น ท่านเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กำหนดฤกษ์เททอง และสมเด็จพระญาณสังวร เป็นองค์ประธานในการเททอง เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ส่วนพิธีพุทธาภิเศกเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๙

 

 

 

 

 

 

 

สมเด็จพระญาณสังวรเป็นองค์ประธานในพิธีเททอง
ในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เวลา ๑๗.๑๙ ณ พระอุโบสถวัดราชาธิวาส

 

 

 

 

 

 

 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ( วาสนมหาเถร ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีพุทธาภิเศก
ณ พระอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร วันศุกร์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๙ เวลา ๑๗.๐๙ น. ทรงเจิมและจุดเทียนชัย
พิธีพุทธาภิเศกวันดังกล่าวมีพระเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวิทยาได้ประกอบพิธี จนถึงวันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๙

 

เหรียญครบรอบ ๘๔ ปีโรงเรียนวัดราชาธิวาส พ.ศ. ๒๕๓๐

ต่อมาเมื่อครบรอบ ๙๐ ปี ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖  
ได้จัดหล่อพระพุทธไสยาสน์จำลอง เป็นครั้งที่สอง ขนาดองค์พระ ๑๑ นิ้ว(ขนาดฐาน ๑๓ นิ้ว) อีกจำนวน ๙๙๙ องค์ เป็นชนิดกาไหล่ทอง เปิดให้เช่าบูชาองค์ละ ๑,๙๐๐ บาท ชนิดรมดำ องค์ละ ๑,๔๙๐ บาท

เหรียญพระนิพพานทรงญาณชนิดรูปไข่รุ่น ๙๐ ปี เป็นทองคำหนัก ๑๕.๒ กรัม ให้เช่าบูชาเหรียญละ ๑๐,๐๐๐ บาท เงิน หนัก ๒๕.๒ กรัม เหรียญละ ๕๐๐ บาท และบรอนซ์ ๕๐ บาท ออกแบบและสร้างโดยคณะช่างกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ดำเนินการจัดสร้าง และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้ลงอักขระส่วนแผ่นทอง นาค เงิน เพื่อนำไปหล่อเททอง และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวรวิหาร ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ เวลา ๑๔.๒๙ น. โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวิทยาคม

พระพุทธไสยาสน์ (จำลอง) รุ่นครบรอบ ๙๐ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส

 

พระพุทธไสยาสน์จำลอง รุ่นครบรอบ ๙๐ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส จะมีอักษร ๙๐ จารึกไว้ฐานด้านหน้า

     ในสมัยวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ สมาคมนักเรียนเก่าราชาธิวาส สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนวัดราชาธิวาส ได้ร่วมกันจัดสร้างพระพุทธไสยาสน์จำลอง รุ่น ๑๐๐ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส  พ.ศ.  ๒๕๔๖ ”  เนื้อโลหะรมดำ  ขนาด ๑๓ นิ้ว (ยาว)   สร้าง ๓­๙๙ องค์   มีหมายเลขกำกับ แบ่งเป็นปิดทองคำเปลว (เฉพาะองค์พระ) ๙๙ องค์  รมดำ ๓๐๐ องค์ ทั้ง ๒ แบบคละหมายเลขกัน  ใต้ฐานบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์จากใต้องค์พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่  ที่ได้จากครั้งกรมศิลปากรมาบูรณะองค์พระ (ปิดทอง)  ซึ่งกรมศิลปากรได้ลงความเห็นว่า  ดินที่บรรจุภายในองค์พระมีความชื้นมาก  ทำให้ปิดทองไม่เงางาม  จึงได้นำดินที่อยู่ในองค์พระออกมา  ปรากฏว่ามีน้ำหนักคล้ายแร่  สีดำเป็นอัศจรรย์  ทั้งที่แบบที่ปั้นพระโดยทั่วไปนิยมใช้ดินเหนียว  จึ่งได้นำดินส่วนนี้บรรจุภายใต้ฐานองค์พระพุทธไสยาสน์ (จำลอง) นี้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ  สมเด็จพระสังฆราชสกมหาสังฆปรินายก พร้อมด้วยพระเถระทรงวิทยาคมมากมาย เช่น  สมเด็จพระพุฒาจารย์  วัดสระเกศ  หลวงพ่อคูณ  ปริสุทโธ  วัดบ้านไร่  เป็นต้น    ได้ลงอักขระแผ่เมตตาในแผ่นทอง  นาก เงิน เพื่อนำไปเททองหล่อ ให้ได้สัดส่วนพระพุทธลักษณะที่งดงาม    และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๖  ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ปีมะเมีย เวลา ๑๕.๐๙ น. มีสมเด็จพระพุฒจารย์  วัดสระเกศ  เป็นประธานจุดเทียนชัย  สมเด็จพระราชาคณะ  พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๑ รูป  เจริญพระพุทธมนต์  พระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตภาวนา เจ้าหน้าที่โหรพราหมณ์ จากกองพระราชพิธีสำนักพระราชวังอ่านโองการชุมนุมเทวดา จนเสร็จพิธี และมอบให้แก่ผู้มีอุปการคุณบริจาคเงินเป็นกองทุนเพื่อการศึกษา โรงเรียนวัดราชาธิวาส ตั้งแต่ ๑,๕๙๙ บาทขึ้นไป จะได้รับพระพุทธไสยาสน์ จำลอง ๑ องค์ไว้บูชา.  

 

พระพุทธไสยาสน์จำลอง หน้าโรงเรียนวัดราชาธิวาส

 

 

 

พระพุทธไสยาสน์ ( จำลอง ) รุ่นครบรอบ ๑๐๐ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส

 

พระพุทธไสยาสน์ (จำลอง) รุ่นครบรอบ ๑๐๘ ปี โรงเรียนวัดราชาธิวาส

 

นิพพานทรงญาณ

พระพุทธรูปเชียงแสนองค์นี้น่าเป็นต้นแบบพระพุทธไสยาสน?

นิพพานทรงญาณ

จากหลักฐานอักษรที่จารึกว่าสร้าง วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓ หรือ ๒๔๖๗ ?
ใกล้กับหลักฐานการสร้างพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ พ.ศ.๒๔๖๒ หรือ ๒๔๖๔
? 

หากท่านผู้รู้ใดมีหลักฐานข้อมูลที่กล่าวกรุณาแจ้งไปยังสมาคมนักเรียนเก่าราชาธิวาสด้วย

 แหล่งที่มา : พันเอกถนอม เกิดสุข ภาพและข้อมูลการสร้างพระพุทธไสยาสน์ จำลอง ๘๔ ปี
หนังสือวารสารโรงเรียนวัดราชาธิวาส ๙๐  ปี พ.ศ. ๒๕๓๐  และ ๑๐๐ ปีราชาธิวาส พ.ศ.๒๕๔๖ 
เขียนโดย อาจารย์ตุ๊ ทำทานุก และอาจารย์ชวลิต ธีระกุล

****************************************************

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระพุทธรูป อยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับ ปางโปรดอสุรินทราหู และ ปางทรงพระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่า พระปางไสยาสน์

พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน

ประวัติ
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางแห่งพระโพธิญาณ จึงทรงเปลี่ยนมาดำเนินปฏิบัติทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) โดยเสด็จออกบิณฑบาตและเสวยพระกระยาหารดังเดิม ทำให้ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 เข้าใจว่าพระบรมโพธิสัตว์ได้ละความเพียรแล้วหันมาบริโภคอาหารดังเดิม ไหนเลยจะสามารถพบธรรมวิเศษได้ จึงพากันเดินทางจากไป พระบรมโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตมา จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ขณะบรรทมทรงปัญจมหาสุบิน ( ฝัน ) เป็นบุพนิมิตรมหามงคล 5 ประการ เมื่อตื่นบรรทมพระบรมโพธิสัตว์ทรงทำนายมหาสุบินนิมิตรด้วยพระองค์เอง ทรงทราบว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธรูป ปางโปรดอสุรินทราหู

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ในพระนครสาวัตถีอสุรินทราหู อุปราชของท้าวเวปจิตติอสูร ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับพระเกียรติคุณของพระพุทธองค์จากสำนักเทพยดาทั้งหลายว่า ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม ......... จึงมีความปรารถนาจะไปเฝ้า แต่คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์ มีพระวรกายเล็กถ้าเข้าไปเฝ้าก็คงต้องก้มลงมอง ซึ่งจะทำให้ตนเองลำบากทั้งไม่เคยคิดจะก้มหัวให้ใครอีกด้วย ดั้งนั้นจึงไม่ยอมเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แต่เมื่อเห็นเหล่าทวยเทพจำนวนมากไปเฝ้าพระพุทธองค์เนื่อง ๆ จึงไม่อาจทนอยู่ได้ ในราตรีวันหนึ่งจึงตัดสินใจเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์
      ฝ่ายพระพุทธเจ้าทรงทราบว่าอสุรินทราหูจะมาเฝ้า ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ ปูลาดบรรจถรณ์แล้วก็สำเร็จสีหไสยาสน์รออสุรินทราหูบนพระแท่นที่ประทับ ทรงทำปาฏิหาริย์เนรมิตพระวรกาย ให้ใหญ่กว่าพระอสุรินทราหูหลายเท่า ซึ่งปรากฏเห็นได้เฉพาะอสุรินทราหูเท่านั้น
      เมื่ออสุรินทราหูได้เข้าเฝ้าก็รู้สึกอัศจรรย์ใจมาก เพราะแม้แต่เพียงพระบาททั้งสองข้างที่ซ้อนกันอยู่ ก็ยังสูงและใหญ่กว่าอสุรินทราหูเสียอีก แทนที่ตนจะต้องก้มหน้ามองดูพระพุทธองค์ แต่กลายเป็นว่าต้องแหงนหน้ามองดูพระพุทธลักษณะ จนเป็นที่พอใจ

พระพุทธองค์ได้ประธานโอวาทแก่อสุรินทราหูหลายข้อ เช่น “ บุคคลทั้งหลาย เมื่อได้ทราบข่าวเล่าลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ หากยังไม่เห็น ยังไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้แก่ใจตนแล้ว ไม่พึงติชมก่อน ” และอีกตอนหนึ่งว่า “ จริงอยู่บรรดาอสูรทั้งหลายในอสูรพิภพนั้นมีร่างกายเล็กกว่าอสุรินทราหู แต่ในที่อื่นอาจมีผู้ที่มีร่างกายใหญ่กว่า เหมือนปลาในหนองคลองบึงที่อาจคิดว่าตัวโตกว่าปลาอื่น เพราะยังไม่ได้ไปเห็นปลาในมหาสมุทร ”

จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้พาเอาอสุรินทราหูไปปรากฎยังพรหมโลก ซึ่งก็มีพระพรหมจำนวนมาก พากันมาเข้าเฝ้า และล้วนแต่มีอัตตภาพใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูหลายร้อยหลายพันเท่า แต่ทั้งหมดก็ยังมีกายเล็กกว่าพระพุทธองค์ทั้งสิ้น และต่างมองอสุรินทราหูเหมือนประหนึ่งมนุษย์ดูมดปลวกตัวเล็กๆ ส่วนอสุรินทราหูนั้นต้องคอยหลบอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ตลอดเวลา เพราะความหวาดกลัว
      ในที่สุดอสุรินทราหูก็หมดมานะทิฏฐิอันแข็งกระด้าง กลับมีใจเลื่อมใส อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนา จึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และพระพุทธองค์ได้พากลับมายังมนุษย์โลก

     พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหูนี้มีอยู่มากมายในเมืองไทย ตัวอย่างเช่น พระพุทธไสยาสน์วัด พระเชตุพน วิมลมัง คลาราม, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร, พระไสยาวัดบวรนิเวศวิหาร, วัดมหาพฤฒาราม, วัดราชคฤห์ , วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี เป็นต้น ซึ่งมีพระอิริยาบถถูกต้องตามแบบ แต่มีพระพุทธไสยาสน์เก่าแต่สมัยอยุธยาองค์หนึ่ง ที่วัดป่าประดู่ จังหวัด ระยอง มีพระพุทธลักษณะพิเศษแตกต่างจากพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ คือ ประทับตะแคงซ้าย มีขนาดความยาว ๑๒ เมตร สูง ๓.๖๐ เมตร หันพระพักตร์สู่ทิศใต้ พระเศียรหันไปทางทิศบูรพา เดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมามีการสร้างวิหารครอบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ นับเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญองค์หนึ่งของจังหวัด [ ดูภาพพระนอนตะแคงซ้ายวัดประดู่ ]

ด้วยเหตุนี้ ต่อมาจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู หรือปางไสยาสน์ขึ้น

ความเชื่อและคตินิยมสำหรับพระพุทธรูปทั้งสองปาง
เป็นพระประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร
พระคาถา นิยมสวดบท
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห
สวด 8 จบ

พระพุทธรูปปางปรินิพพาน

ประวัติ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดิอน 6) ก่อนพุทธศักราช 1 ปี ที่เมืองกุสินารา การถวายพระเพลิงได้จัดขึ้น ณ มกุฎพันธเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 (วันอฏฐมี)

ดูหลายตำราบอกว่าปางปรินิพพาน ต่างจากปางไสยาสน์ตรงที่พระหัตถ์ของพระองค์จะไม่ทรงชันพระเศียรตั้งขึ้น แต่จะแผ่ราบลงกับพื้น ซึ่งเป็นลักษณะทอดร่างวางขันธ์ดับ มุ่งสู่มหาปรินิพพาน

ความเชื่อและคตินิยม

สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และเป็นสรรพมงคลสำหรับผู้สักการะบูชา

ปรินิพพานญาณ

 ปรินิพพานญาณ
จาก พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฎฯ อรรถกถาแปลเล่มที่  68  หน้า 895-898  
พระสูตรขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค   เล่มที่  
7  ภาคที่  1  กล่าวถึงคำว่า  “ปรินิพพานญาณ”  ไว้ว่า
“ความเป็นไปแห่งตานี้แลของสัมปชาน บุคคล(ผู้รู้ตัว) ผู้นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  (ดับกิเลสและดับขันธ์)   ย่อม สิ้นไป  และความเป็นไปแห่งตาอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น   ความเป็นไปแห่งหู  ฯลฯ  ความเป็นไปแห่งจมูก  ฯลฯ  ความเป็นไปแห่งลิ้น  ฯลฯ   ความเป็นไปแห่งกาย  ฯลฯ  ความเป็นไปแห่งใจนี้แล  ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุย่อมสิ้นไป   และความเป็นไปแห่งใจอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น  ปัญญาแห่งความสิ้นไป แห่งความเป็นไป แห่งกิเลสและขันธ์ของสัมปชานบุคคลนี้ เป็น  “ปรินิพพานญาณ”  

ชื่อว่าญาณเพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถรู้ว่าชัด   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

 

" ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัวเป็นปรินิพพาน "


อรรถกถาปรินิพพานญาณ
พึงทราบวินิจฉัยในปรินิพพานญาณนิทเทส  (คำอธิบาย)    ดังต่อไปนี้

.... สัมปชาโน   คือผู้รู้สึกตัว เป็นการรู้สึกตัวด้วยสัมปชัญญะ 4  เหล่านี้ คือ
สาตถกสัมปรัญญะ ความรู้ตัวในกิจที่เป็นประโยชน์แก่ตัว  1
สัปปายสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในปัจจัยที่สบาย  1
โคจรสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในธรรมอันเป็นโคจร 1
อสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย  1

     ดัง กล่าวข้างต้นคำว่า   ปรินิพพานนั้นเป็นคำกล่าวของท่านพระสารีบุตรเถระ
 แสดงถึงปัจจเวกขณญาณ ในการดับกิเลส   (ในการดับขันธ์ด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ) ญาณพิจารณาด้วยความรู้สึกตัวอยู่ทุกขั้นตอนใน  4  ประการดังกล่าว  ขณะที่ทำปรินิพพานบริกรรมเพื่อดับขันธ์  5   อันรัดดึงอยู่เป็นครั้งสุดท้าย )   เป็นการรู้ตัวที่มีจุดหมายแน่นอนเพื่อหลุดพ้นความเกษม  ไม่มีความทุกข์  ไม่มีความหลงเหลือเจือปนอยู่เลย


    จึงไม่มีลักษณะเหมือนอาการตาย หรือตายแต่ประการใด

 กลับตรงกันข้ามกับอาการตายหรือตายของสัตว์โลกทั้งหลายจากหน้ามือเป็นหลัง มือทีเดียว....

 

  เมื่อได้พิจารณาเปรียบเทียบลักษณะของอาการตายหรือตายดังต่อไปนี้

 มรณะ  หรือ ตาย
สมัย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ  ประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราที่ตำบลอุรุเวลา   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด  7  วัน  พอสัปดาห์นั้นล่วงไปพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธิได้ทรงมนสิการปฏิ จจสมุปบาท อันเป็นอนุโลมด้วยดีตลอดปฐมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า   เมื่อสิ่งนี้มี  สิ่งนี้ก็มี   เพราะสิ่งนี้เกิด  สิ่งนี้จึงเกิด  คือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร  เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ  เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป  เพราะนามรูปเป็นปัจจัย มีสฬายตนะ  เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย มีเวทนา  เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา  เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน  เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีมีภพ  เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ   เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์   โทมนัส  และอุปายาส  ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น นี้ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้...


เป็น การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลก  ในลักษณะปฏิจจสมุปบาท  คือเมื่อมรณะคือตาย จะต้องมีความโศกเศร้า  เป็นทุกข์   เป็นความหลง  เป็นบ่อเกิดแห่งอวิชชาให้ไปเกิดสังขารใหม่อีก  

ตามพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏ ฯ  อรรถกถาแปลเล่มที่  44  หน้า   67  พระสูตร  ขุททกนิกายอุทาน  ภาคที่  3  อรรถกถาปฐมโพธิสูตรไว้ว่า

มรณะ  (ตาย)  มีจุติ   ( การเคลื่อนไปเกิดใหม ่)  เป็นลักษณะ  มีการพลัดพรากเป็นกิจ  มีการอยู่ปราศจากคติ  (ทางไป)  เป็นอาการปรากฏ

โสกะ  มีความหม่นไหม้ในภายในเป็นลักษณะ  มีความตรมตรอมใจเป็นกิจ  มีความเศร้าโศกเป็นอาการปรากฏ

ปริเทวะ   มีความบ่นเพ้อเป็นลักษณะ  มีระบุถึงคุณและโทษเป็นกิจ  มีความสลดใจเป็นอาการปรากฏ

ทุกข์   มีการบีบคั้นกายเป็นลักษณะ มีความทุรพลทางกายและรั้งเอาโทมนัสทุกข์ทางใจมาเป็นกิจ  มีอาพาธทางกายเป็นอาการปรากฏ

โทมนัส  มีการบีบคั้นจิตเป็นลักษณะ  มีความคับแค้นใจเป็นกิจ  มีพยาธิทางใจเป็นอาการปรากฏ

อุปายาส  มีความตรมตรอมใจเป็นลักษณะ  มีความทอดถอนถึงเป็นกิจ  ปราศจากความแช่มชื่นใจเป็นอาการปรากฏ

ปัจจัยธรรมมี อวิชชาเป็นต้นเหล่านี้

 จะ เห็นได้ชัดว่า  มรณะ  หรือการตายของสัตว์โลก   เป็นสัมโมหะเป็นความหลง  เป็นความทุกข์เทวษทวี  เป็นอวิชชา  เป็นปัจจัยที่จะนำไปเกิดเป็นสังขารใหม่ต่อไปตามกรรมดีกรรมชั่วอีก

  

จึงกล่าวได้ว่า  “ปรินิพพาน”  หรือ  “นิพพาน”  ไม่ใช่เป็นอาการตายหรือตาย  แต่กลับมีธรรมลักษณะตรงข้ามกันเหมือนหน้ามือกับหลังมือฉะนั้น


จิตสุดท้ายของปรินิพพานกับการตาย


จริมกจิต
เป็นจิตดวงสุดท้ายซึ่งจะดับไป เมื่อพระอรหันต์ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตู

 

ุติจิต เป็นจิตดวงสุดท้ายแห่งการตายของสัตว์โลก ซึ่งจะต้องเคลื่อนจากภพปัจจุบันไปเกิดใหม่ ( เป็นปฏิสนธิจิตลึก )

จิตดวงสุดท้ายที่จะดับขันธปรินิพพานกับการตายก็เป็นคนละดวงกัน   พระอรหันต์ผู้รู้สึกตัวด้วยสัมปชัญญะ  4   เพื่อทำปรินิพพานบริกรรมด้วยปรินิพพานดังกล่าว   จิตดวง สุดท้ายเป็นจริมกจิตซึ่งเมื่อดับไปแล้วไม่มีเชื้อแห่งกรรมแพร่ออกไป   ไม่เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณธาตุธรรมชาติที่จะเข้าเกาะเกี่ยวได้จึงไม่มีสิ่งใด จะปรุงแต่งนำไปปฏิสนธิในเกิดในภพใหม่ต่อไป

      ส่วนจิตดวงสุดท้ายของการตายแห่งสัตว์โลกเป็นจุติจิต ซึ่งเมื่อดับไปยังมีกรรมแพร่ออกไปให้เป็นที่ตั้งของวิญญาณธาตุที่มีอยู่ ทั่วไปเข้าเกาะเกี่ยวปรุงแต่งตามผลของกรรมดี กรรมชั่วนั้นแล้วนำไปปฏิสนธิ เกิดในภพใหม่เป็นสัตว์ใหม่ต่อไปอีก

 

การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้าและการดับขัธปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงมิใช่เป็นอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์แต่อย่างใด

พระอานนท์เมื่อยังไม่บรรลุอรหันต์  ก็เข้าใจว่านิพพานคือตายคราว เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระดับขันธปรินิพพาน  หรือ  นิพพาน  (สมัยพุทธกาลเรียกการนิพพานของพระอรหันต์ว่าปรินิพพาน  บ้าง  นิพพานบ้าง)
สมัยนั้นพระอานนท์ทราบข่าวการปรินิพพานของพระสารีบุตรก็โศกเศร้า  ได้เข้าและกราบทูลพระพุทธองค์ว่า

“ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ  สามเณรจุนทะรูปนี้ได้บอกอย่างนี้ว่าท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว  นี้บาตรและจีวรของท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป  แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์  แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์เพราะได้ฟังว่าท่านพระสารีบุตรปรินิพพาน แล้ว


พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
-->>  “ดูก่อนอานนท์   สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์   สมาธิขันธ์   ปัญญาขันธ์  วิมุตตติขันธ์  หรือวิมุตญาณทัสสนขันธ์  ปรินิพพานไปด้วยหรือ”

พระอานนท์กราบทูลว่า
“หามิได้พระเจ้าข้า”

เพราะ พระอานนท์ยังมีความรู้สึกอยู่ว่าปรินิพพานก็เหมือนการตายนั่นเองจึงเศร้าโศก เสียใจ

 พระพุทธองค์จึงทรงกล่าวเตือนสติให้รำลึกได้ว่า  การปรินิพพานมิใช่การตายที่จะต้องโศกเศร้าเสียใจดังที่พระอานนท์เป็นอยู่  จึง ทรงยกสภาวะของความเป็นพระอรหันต์ของพระสารีบุตรซึ่งทรงเป็นด้วย  ศีลขันธ์  สมาธิขันธ์  ปัญญาขันธ์   วิมุตติขันธ์   และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์   ขึ้นมาแสดงให้เห็นว่า   สภาวะของอรหันตสารีบุตรนั้นยังอยู่ครบถ้วน  มิใช่ตายไปดังที่พระอานนท์เข้าใจว่าปรินิพพานก็คือการตายนั่นเอง

เป็นการทรงให้สติพระอานนท์ว่า  ปรินิพพานมิใช่ตายดังกล่าวที่จะต้องเศร้าโศกเสียใจ

อริยวาสธรรม
ธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า  10  ประการ

 
จากหนังสือ  “ปุจฉาวิสัชนา”   ว่าด้วยการปฏิบัติธรรมซึ่งชมรมพุทธศาสตร์เอสโซ่พิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสครบ รอบ  5  ปี  ของชมรม     2521-2526  มีตอนหนึ่งซึ่งผู้ปุจฉา  (ผู้ถาม)  ใช้อักษรย่อว่า  ผ.  ผู้วิสัชนา  (ผู้ตอบ)   ใช้อักษรย่อว่า  ฝ.  ได้ถามตอบกันดังต่อไปนี้
   (ผ)   พูดว่า  นึก ๆ  ก็น่าอัศจรรย์ใจเรื่องพระนิพพาน   สังขารทั้งหลายดับไปหมดแล้วจะไม่มีอะไรที่ไม่ใช่สังขาร   คือสิ่งที่เหลืออยู่เพราะพระนิพพานนั้นเป็นวิสังขาร  ข้าพเจ้าไม่ใส่ใจในเรื่องพระนิพพานเพราะนึกถึงแล้วทำใจให้ฉงนสนเท่ห์   ตกลงประพฤติปฏิบัติเรื่อย ๆ  ไปถึงพระนิพพาน เมื่อไหร่ก็รู้ได้เอง
   (ฝ)  พูดว่าพระนิพพานไม่ใช่สูญ  คือการเก่าดับไปของใหม่เกิดแทน  เช่นพระโสดาบันละสังโยชน์  3  ได้หมด   ทุกข์มีชาติเป็นต้นก็ดับไปได้มาก  และมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา  เป็นผู้มีอริยมรรคกำหนดแน่แล้ว  มีอันจะตรัสรู้ได้เองในเบื้องหน้าเพราะละสักกายทิฏฐิหมดไปจึงมีสัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นแทนและละวิจิกิจฉาหรือสีลัพพตปรามาสหมดไปจึงมีอจลสัทธามาแทน  เช่นพระสกทาคามีทำราคะ   โทสะ  โมหะ  ให้เบาบางจะมาเกิดในโลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น  ก็จะถึงที่สุดแห่งทุกข์นี่เรียกว่าทำของเก่าให้หมดไปจึงมีของใหม่เกิดขึ้น แทน   คือคุณธรรมที่ยิ่งกว่าพระโสดาบันขึ้นไป  
    ส่วนพระ อนาคามีละสังโยชน์  5  เบื้องต่ำได้แล้วเกิดในสุทธาวาสพรหมโลกและจักปรินิพพานในที่นั่นเรียกว่าทำ กิเลสและชาติภพซึ่งเป็นของเก่าให้หมดไปของใหม่เกิดขึ้นแทน  คือ ท่านสิ้นไปจากกามราคะสังโยชน์ จึงถึงพร้อมด้วยองค์คุณกล่าวคือใจที่สงัดจาก กามมาแทนและท่านสิ้นไปจากปฏิฆะสังโยชน์จึงถึงพร้อมด้วยองค์คุณคือ  เมตตา  กรุณา  มาเกิดแทน  
   พระอริยสาวกที่ได้บรรลุเสขคุณแล้วชื่อว่า สอุปาทิเสสนิพพาน   ส่วนพระอรหันต์ละตัณหาความอยากสิ้นแล้ว   สิ้นอาสวะอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว  มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว  ปลงภาระแล้วจึงมีประโยชน์ตนถึงโดยลำดับแล้วสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว   พ้นวิเศษแล้ว   เพราะรู้ทั่วถึงด้วยอาการอันชอบ  ส่วนกิเลสอาสวะที่พระอรหันต์ได้หมดสิ้นเชิงและสิ้นชาติไม่มีปฏิสนธิในภพ   คืออนุปาทิเสสปรินิพพานนี้ชื่อว่าทำของเก่าคือสมุทัยกับทุกข์ให้หมดไป ของใหม่เกิดขึ้นแทนนั้นคือถึงพร้อมด้วยคุณธรรมที่เรียกว่า อริยวาสธรรม  คือ  ธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า   10  ประการ


1.  ปญฺจงฺควิปฺปหิโน  มีองค์  5   คือนิวรณ์อันละเสียแล้ว

2.
 ฉฬงฺคสมนฺนาคโต  ประกอบด้วยองค์  6  คือฉฬังคุเบกขา

3.  เอการกโข  มีธรรมรักษาทั่วกันอันหนึ่งคือสติ

4.  จตุราปสเสโน  มีธรรมดั่งพนักเป็นที่อิง  4  อย่าง  คือพิจารณาแล้วจึงส้องเสพ   อดทน   ถ่ายถอน

5.  ปนุณณปจเจกสจโจ  มีของจริงเฉพาะอันหนึ่งบรรเทาเสียแล้ว คือละมิจฉาทิฏฐิ  10  อันเป็นอพยาตวัตถุมีเห็นรูปเที่ยงเป็นต้น

6.  สมวยสฏเฐสโน   มีความแสวงหาอันให้สะเทือนละเสียโดยชอบแล้ว  คือละความแสวงหา   3  อย่าง  กาม 1 ภพ 1  พรหมจรรย์ 1

7.  อนาวิลสงกปโป   มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว   คือละความดำริที่ประกอบด้วยกิเลสกาม  วัตถุกาม   และวิตกที่ประกอบด้วยพยาบาท  และวิเหสา

8.  ปสสทธกายสงขาโร  มีกายสังวร   คือลมอัสสาสะระงับแล้ว คือ  บรรจุจตุตถญาณ

9.  สุวิมุตตจิตโต   มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว   คือมีจิตพ้นจากราคะ  โทสะ  โมหะ  

10. สุวิมุตตปญโญ  มีปัญญาพ้นวิเศษแล้ว  คือรู้ชัดว่า  ราคะ  โทสะ  โมหะ  เราละเสียหมดแล้วดังนี้


  (ผ)   กล่าวว่า   สาธุ  ท่าน อธิบายธรรมชั้นสูงให้ข้าพเจ้าเข้าใจได้แจ่มแจ้งดีในเรื่องพระนิพพานคือของ เก่าได้แก่สมุทัยกับทุกข์ดับไปจึงมีคุณธรรมของใหม่เกิดขึ้นแทน  ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่กำเริบเพราะมิใช่สังขาร   เพราะฉะนั้นพระนิพพานจึงไม่สูญ  ข้าพเจ้าขออนุโมทนาความสามารถรอบรู้ในธรรมที่ละเอียดเหล่านั้นกะท่านด้วย   คำว่า  พระ นิพพานไม่สูญตามปัจฉาวิสัชนานี้หมายถึง   การดับขันธนิพพานด้วยอนุปทิเสสนิพพานธาตุ  เป็นการสูญสิ้นไปแห่ง 
      ขันธ์  
5  คือ  รูป   เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  แต่มีสิ่งที่ไม่สูญสิ้นไปคือ  ธรรมขันธ์  5  ได้แก่  ศีลขันธ์  สมาธิขันธ์  ปัญญาขันธ์   วิมุตติขันธ์  และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์   ยังคงอยู่เป็นพระอรหันต์ที่วิสุทธิ์แน่แท้ความครบถ้วนบริบูรณ์
    ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า  ปรินิพพานหรือนิพพานมิใช่การสูญเปล่าซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิแบบอุจเฉททิฏฐิ   ซึ่งมีความเห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ  และมิใช่เป็นอาการตายหรือตายซึ่งจะต้องเกิดอีกเหมือนสัตว์โลกที่ยังยึดมั่น อยู่ในอัตภาพไม่รู้จบอันเป็นมิฉาทิฏฐิแบบสัสสตทิฏฐิ   คือความเห็นว่าเที่ยงเช่นเห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้วร่างกายเท่านั้นทรุด โทรมไป  ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตที่เรียกว่าวิญญาณแล่นไปท่องเที่ยวไปเกิดใหม่

ทรงสู่นครอมตมหาปรินิพพาน
ในวันปรินิพพาน  (เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส  นิพพานธาตุ)  พระพุทธองค์ทรงรำลึกว่า
“วันนี้  เดี๋ยวนี้เราจะเข้าไปสู่นครอมตมหาปรินิพพานที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว”  
(อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร  พระไตรปิฎกมหามกุฏฯ  เล่มที่ 13  หน้า 411)
 พระ พุทธเจ้าองค์แท้คือองค์ธรรม  ทรงละพุทธสรีระขันธ์  5  เสด็จเข้าสู่อมตมหาปรินิพพาน ซึ่งเปรียบเหมือนมหานครแห่งความเกษมที่เป็น อมตะ  (แต่ไม่ใช่เป็นนครที่เป็นอัตตาตัวตน)  ส่วนจะเป็นสภาวะอย่างใดนั้นไม่อาจอธิบายได้   เป็นการพ้นวิสัยของปุถุชน   เพียงแต่รับรองได้ตามพุทธพจน์ที่ตรัสว่า
“ ในนิพพาน อายตนะมีอยู่   ( อายตนะคือเครื่องรู้และสิ่งที่ร ู้) ”
คงพิจารณาได้ว่าในสภาวะที่เปรียบเทียบเสมือนอมตนครนั้นมีความเกษมที่แน่แท้ไม่มีวันหมดไม่มีวันกลับมาทุกข์อีกเลยตลอดนิรันดร์กาล

-->> พระ พุทธเจ้าทุกพระองค์ปรากฏมีมาแล้วนับหลายแสนและพระอรหันต์ทั้งหลายอีกจำนวน มากสถิตเสถียรในลักษณะ  อนัตตธรรมอสังขตธรรมเป็นอมตธรรมอยู่ที่นั่นมิได้ตายดังที่มีกล่าวคลาด เคลื่อนกัน

 

กลีับหน้าหลัก

 

*******************************