ใครทำให้เด็ก เก่ง ดี มีสุข
มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ
เชาวน์ปัญญาต่อการเรียนรู้ของเด็ก เริ่มมาจากศักยภาพทางกรรมพันธุ์ เปรียบกับอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนประกอบกล่องบรรจุความจำที่มีพื้นที่มาก
( Computer Hardware ) ย่อมมีความสามารถสูงในการทำงาน ผลสืบเนื่องจากกรรมพันธุ์ และอาหารที่ได้อย่างเหมาะสม มนุษย์มีมันสมองใหญ่กว่าสัตว์อื่นทั่วไป
ดังนั้นเด็กที่มีมันสมองใหญ่ (น้ำหนักมาก) ย่อมได้เปรียบกว่าเด็กที่มีมันสมองเล็ก
และแน่นอน หากมีสมองใหญ่โตแต่สิ่งที่บรรจุให้จดจำนั้นๆ ( Data source program หรือ Software ) ไม่มีคุณภาพย่อมไม่มีความหมาย
เปรียบกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุโปรแกรมที่เป็นเท็จ หรือขาดคุณภาพ
ล้าสมัย ก็ไม่เกิดประโยชน์ เชาวน์ปัญญาต่อการเรียนรู้ของเด็ก เกิดจากผลรวมของสมรรถภาพสมอง
และผลสัมฤทธิ์แห่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สภาพทางอารมณ์และสุขภาพทางร่างกาย
( IQ, EQ และ MQ ) ได้มีโอกาส สำรวจ ทดลอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างประสบการณ์ แรงจูงใจ
ความอบอุ่น ระเบียบวินัย ตลอดจนบทบาททางครอบครัว มีอิทธิพลต่ออัตราการพัฒนาการ
และนั่นเป็นตัวกำหนดแบบแผนสำหรับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน
ฉนั้นการวางแผนทางการศึกษา ต้องสามารถยืดหยุ่นและปรับปรุงให้เข้ากับสมรรถภาพของเด็กแต่ละคนได้
เด็กที่ครอบครัวมีปัญหา บ้านที่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ยากจนค้นแค้น
อาจจะขาดประสบการณ์ และแรงจูงใจในการตอบสนองกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
ความอดอยากหิวโหย โรคภัยไข้เจ็บ ปัญหาทางสายตา สุขภาพฟันและการพักผ่อนหลับนอนไม่ดี
นับเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ฉลาด กลายเป็นคนโง่ เพราะไรความสนใจใยดีต่อการพัฒนาสังคมและชีวิต
โรงเรียนและครู จึงเป็นทางเลือกใหม่ด้วยยุทธศาสตร์เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก
เพื่อปลุกความสนใจต่อตนเอง ( ปลุกพลังจิต ) ดังนั้นการกดดันให้การศึกษาทางวิชาการ
หรือการจัดหาอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษามากๆไม่ได้ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าทำให้เด็กที่มีปัญหาดังกล่าวจะมีเชาวน์ปัญญาสูง
หรือไม่ทำให้เกิดพลังจิตในความคิดสร้างสรรค์ได้ แต่การสนับสนุนส่งเสริมให้ความมั่นใจ
ในพฤติกรรมของการสร้างสรรค์ อย่างใดอย่างหนึ่งของเด็ก ครูอาจจะช่วยพัฒนาความมานะบากบั่น
พัฒนาความรู้สึกนึกถึงค่าของตนเองทางการเล่นกิฬา ศิลปะ การแสดง กิจกรรมสร้างสรรค์ทางสังคม
ซึ่งเป็นการพัฒนาเซลสมองซีกซ้าย ซีกขวา อย่างสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดความพอใจ
ดีใจ ถูกใจ มีความสุขคือเป้าหมายอันดับแรก จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์เบ่งบาน
หรือโชติช่วงชัชวาลช่วยผลักดันให้มีความกระตือรือร้น มีศรัทธาแรงกล้าต่อครูที่ตนรักและมีพลังแรงบันดาลใจ
พฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมให้มีแรงจูงใจอื่นๆ ตามมาด้วยและจะทำให้การเรียนรู้ทางวิชาการได้ผลดี
จากพฤติกรรมในการกระทำอะไรได้สำเร็จครั้งนั้น
ลักษณะของครูที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
ครูมีอิทธิพลในการสกัดกั้น ยับยั้ง ขัดขวาง หรือสนับสนุน ส่งเสริมนักเรียนให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
ครูที่ดีที่ประสบความสำเร็จจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน มีความอดทน ยอมรับความเห็นที่แตกต่างหรือขัดแย้งกับตน
2. รู้จักการจูงใจ มีการให้รางวัล เช่น การชมเชย การให้คะแนน ฯลฯ แก่นักเรียนที่มีความคิดริเริ่ม
มีความเป็นตัวของตัวเอง และมีความคิดสร้างสรรค์
3. ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการกระตุ้นและสนับสนุนให้นักเรียนมีความต้องการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีความอิสระในการเรียน
4. ให้ความรัก ตั้งใจสอนและช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจหลักการทั่วๆไป
รู้จักนำหลักการ หรือกฎเกณฑ์ ไปใช้มากกว่าการท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง
( มีความรู้ตอบได้แต่ไม่เข้าใจเพราะไม่เคยเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเอง ) หรือมุ่งจำรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่มีความสำคัญอันใด ย่อมเป็นที่แน่ชัดว่า
ครูเป็นกุญแจสำคัญ ควบคู่กับครอบครัวและสังคมแวดล้อม ต่อการพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของนักเรียน
จะต้องให้เป็นผู้ตื่นตัวต่อภาวะสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวนักเรียนของตน
จะต้องเป็นผู้รับรู้ศักยภาพต่างๆ เฉพาะตัว และจะต้องเป็นนักต่อสู้ไม่วางเฉย
เพื่อพัฒนา บรรยากาศของการสร้างสรรค์อย่างไม่หยุดยั้งและมีความสุข
ใครคือครู
ครูคือใครในวันนี้
ใช่อยู่ที่เรียกว่า
ครู อาจารย์
ครูคือผู้ชี้นำทางความคิด
ให้รู้ทุกข์
รู้ยาก รู้พากเพียร
ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์
ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์
ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ยิ่งใหญ่
สร้างคนให้เป็นตัวของตัวเอง
|
ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล
ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน
ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน
ให้รู้เปลี่ยนแปลงรู้สร้างงาน
ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง
สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู
ประพันธ์โดย
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
|
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์
โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้
ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย
วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์ และกระทำการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์
ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ
ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการ เศรษฐกิจสังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์
และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย
อะไรที่เป็นแรงจูงใจให้เด็กเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
แรงจูงใจในด้านความเก่ง
หรือความสำเร็จมีหลายด้านด้วยกัน เช่น ทางเชาวน์ปัญญา ทักษะทางกายภาพ
ทักษะทางสังคม มนุษยสัมพันธ์ การเห็นประโยชน์ของส่วนรวม การมีจิตเมตตา
มีศาสนาในใจ
เด็กที่มีอิสระและความเชื่อมั่นในตนเอง จะเป็นผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง
ควรให้การสนับสนุนชมเชยให้รางวัลตามผลวิจัยจริตของแต่ละคนว่าควรให้รางวัลอะไร เช่นการชมเชย การกอดจูบ การยิ้มแย้ม
ปรบมือให้ เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเอง ทั้งๆที่เป็นเรื่องง่ายๆ และน่าทำได้ดีกว่านั้นในความรู้สึกของผู้ใหญ่
ตรงกันข้ามถ้าใช้วิธีห้ามปรามจำกัด เพราะความกลัวเสียเวลา กลัวอันตราย
กลัวเสียหาย มักใช้วิธีเผด็จการด้วยการใช้อำนาจอย่างเฉียบขาดไม่ยืดหยุ่น ปฎิเสธไม่ยอมรับ
ทอดทิ้ง เข้มงวดกวดขัน หรือแม้แต่การเข้าช่วยเหลือจัดการเสียเองเลย ก็จะทำให้เด็กเป็นผู้อ่อนแอ
ไม่มั่นใจตัวเอง มีพฤติกรรมผิดปกติไม่เจริญเติบโตเป็นคนที่สมบูรณ์ พ่อแม่
และครูเป็นบุคลสำคัญที่อยู่ใกลชิดกับเด็กมากที่สุด จะต้องช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์อันอบอุ่น
ในการผึกให้เด็กเป็นคนเก่งและมีอิสระ
พ่อแม่
หรือครู ที่มีความต้องการใฝ่สัมฤทธิ์สูง มักจะมีความมุ่งหวังความสำเร็จในเด็กสูงด้วยนั้นกลับไม่ใช้อำนาจเผด็จการ
และมีความยืดหยุ่นมากกว่า พ่อแม่ ครู เอาความต้องการของตนเป็นหลัก จะไม่สนใจเรียนรู้จริตหรือความสำเร็จในเด็กมากนัก
ล
จึงสรุปได้ว่า ครูหรือผู้ที่ปกครองเด็กด้วยอำนาจเผด็จการมักจะเป็นผู้ไม่สนใจใยดีกับเด็กนัก
! ! ! ? บุคคลตัวอย่างที่ได้รับแรงจูงใจจนกลายเป็นผู้มีความคิดสร้างรรค์
อับราฮัม ลินคอส์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
เกิดจากครอบครัวที่บิดาเป็นช่างไม้ที่ยากจน ในกระท่อมไม้ซุง มารดาได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เขาอายุเพียง
9 ขวบ จึงทำให้เขาเป็นลูกกำพร้า ต่อมาบิดาได้ย้ายจากรัฐเคนทัคคีไปอยู่ที่รัฐอินเดียนา
สร้างกระท่อมใหม่ เขาต้องหาบน้ำห่างจากกระท่อมถึง 1 ไมล์ และได้เข้าเรียนในโรงเรียนของหมู่บ้าน
ต่อมาก็อยู่ในความดูแลจากแม่เลี้ยง ซึ่งได้เอาใจใส่เลี้ยงดูเขาอย่างดีที่สุดเหมือนลูกในใส้
ให้ความรัก ความอบอุ่น และส่งเสริมให้ลินคอส์น ได้เรียนต่อ ทั้งๆที่บิดาของเขาไม่อยากให้เรียน
เพื่อให้มาช่วยตัดไม้ ลินคอส์นได้ไปเรียนเต็มๆ เพียง 4 เดือน นอกนั้นต้องออกมาช่วยบิดารับจ้างทำงาน
ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ จนถึงอายุ 17 ขวบ ( จากการที่เขาได้รับแรงจูงใจจากแม่เลี้ยง
ให้เขามีกำลังใจต่อสู่ชีวิต ) ลินคอส์น์ ได้หันมามีอาชีพรับจ้างถ่อเรือของพ่อค้าไปขายที่เมืองนิวออร์ลีนส์
เขาได้เห็นคนในเมืองนั้นนำมนุษย์มาขาย บรรดาทาสที่ถูกล่ามโซ่ และถูกทารุณทุบตีเป็นภาพบาดใจ
เขาอยู่ตลอดเวลา เขากล่าวว่า ฉันดูไม่ได้จริงๆ อะไรมันช่างเลวร้ายเช่นนี้
เขาจึงมีความขยันหมั่นเพียรอ่านหนังสื่อต่างๆ เขาขวนขวายหาหนังสือมาอ่านอย่างมากมาย
เขาเคยเดินทางด้วยเท้าไปขอยืมหนังสือเพื่อนที่อยู่ห่างไกลนับสิบๆ กิโลเมตร
และเขาได้อ่านเรื่องของนายพลแอนดรู แจคสัน เป็นชาวนาอยากจนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีได้
ลินคอสน์ ได้เกิดความคิดว่าชาติตระกูลคนนั้นไม่สำคัญหรอก หากเป็นคนที่มีความรู้และความสามารถ
มีความมานะพยายาม เขาเป็นผู้มีศีลธรรมปราถนาให้ผู้อื่นมีความสุข มีแรงจูงใจว่าหากเขามีความรู้มากกว่านี้
ก็คงสามารถเป็นประธานาธิบดีได้ และงานชิ้นแรกของเขาก็คือปลดปล่อยทาส
และเขาก็ประสบความสำเร็จในความคิดสร้างสรรค์ของเขา .
*********************************