พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) คือใคร

            พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นขุนนางสำคัญมากทีเดียว เป็นที่โปรดปรานในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อย่างยิ่ง ตรัสเรียกว่า ‘เจ้าศรีทองเพ็ง' บ้าง ‘เจ้าศรี' บ้าง เป็นที่ทราบกันทั่วไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่ลูกหลานของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) จึงพระราชทานว่า ‘ศรีเพ็ญ' โดยทรงประสมต้นราชทินนามกับท้ายชื่อจริงเข้าด้วยกัน

            พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ได้ชื่อว่า ‘ขุนคลังแก้ว' ในรัชกาลที่ ๓ นั้น มิใช่ท่านเรียกเอง หรือชาวบ้านเรียก หากแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงยกย่อง ตามที่ปรากฏในพระบรมราชปุจฉา เมื่อครั้งพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระอาลัยโทมนัสมาก จึงทรงตั้งพระบรมราชปุจฉาในที่ประชุมพระสงฆ์ราชาคณะเถรานุเถระ ๖๐ รูป ว่าเพราะเหตุใด ‘นางแก้ว' ในรัชกาลของพระองค์จึงสิ้นพระชนม์ แต่พระชนม์ยังน้อยเพียงสามสิบกว่า รวมทั้ง ‘ขุนคลังแก้ว' ของพระองค์ ซึ่งเพิ่งสิ้นชีวิตไปก่อนหน้านี้ไม่นานนัก

            ในพระบรมราชปุจฉา ตอนหนึ่งว่า

             “โยมมีเบญจพละ ๕ ประการ คือ ๑. มีบ่อแก้ว ๒. มีช้างแก้ว ๓. มีนางแก้ว ๔. มีขุนพลแก้ว ๕. มีขุนคลังแก้ว
             
๑. ที่โยมว่ามีบ่อแก้วนั้นคืออ้ายภู่ (พระยาราชมนตรี ชื่อเดิมว่า ‘ภู่' เป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ ๓ เป็นบิดาของ คุณพุ่ม บุษบาท่าเรือ และเป็นต้นสกุล ภมรมนตรี-จุลลดาฯ)
             
๒. ที่โยมว่ามีช้างแก้วนั้น คือ พระยาช้างเผือกของปู่และบิดาของโยมเอง
            
 ๓. ที่โยมว่ามีนางแก้วนั้น คือโยมมีพระราชธิดาพระองค์ ๑ ทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิลาศกรมหมื่นอัปษรสุดาเทพ เป็นพระราชปิยธิดาเสน่หาอเนกผลของพระราชบิดา  
                   
๔. ที่โยมว่ามี ขุนพลแก้ว นั้น คือ พี่บดินทรเดชา (เจ้าพระยาบดินทรเดชา นามเดิมสิงห์ ต้นสกุล สิงหเสนี-จุลลดาฯ)
                   
๕. ที่โยมว่ามีขุนคลังแก้วนั้น คือเจ้าศรีทองเพ็ง

            บัดนี้นางแก้วกับขุนคลังแก้วมาล่วงลับดับเบญจขันธ์สังขารไปสู่ปรโลกแต่พระชนม์และอายุยังน้อย ยังบ่มิสมควรจะถึงซึ่งกาลกิริยาตายฉะนี้เล่าทั้งสองคน ยังเหลืออยู่แต่บ่อแก้วคือ ไอ้ภู่ กับขุนพลแก้วคือ พี่บดินทรเท่านั้น เป็นที่เปล่าเปลี่ยวเศร้าใจของโยมยิ่งนักหนา หรือว่าโยมจะมีบุพพอกุศลกรรมอยู่บ้างประการใด ในบุเรชาติปางก่อนบ้างจึงได้มาตามทันในปัจจุบันชาตินี้...”

        
      บิดาของพระยาศรีสหเทพ ชื่อ ทองขวัญ เป็นบุตรชายของหลวงรักษ์เสนา (จำรัส)
           หลวงรักษ์เสนา (จำรัส) เป็นน้องชายต่างมารดาของนายบุนนาค (เจ้าพระยามหาเสนา ต้นสกุลบุนนาค)   นายทองขวัญจึงเป็นหลานอาของเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) นั่นเอง   และเป็นลูกผู้น้องของสมเด็จพระเจ้าพระยามหาประยุรวงศ์ กับสมเด็จเจ้าพระยามหาพิชัยญาติ  
           
นายทองขวัญนั้นเป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก แต่ครั้งทรงเป็นพระอักษรสาส์นเมื่อ ปลายกรุงศรีอยุธยา จึงติดตามเสด็จไปด้วยตลอดเวลา ครั้งกรุงแตกได้ติดตามสมเด็จพระปฐมฯ ไปยังเมืองพิษณุโลก และอยู่ปรนนิบัติจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ ได้ร่วมกับกรมหลวงจักรเจษฐา (พระนามเดิมว่าลา พระราชอนุชาต่างพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) เชิญพระอัฐิมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ แต่ครั้งยังทรงรับราชการในกรุงธนบุรี

             จึงนับว่า นายทองขวัญเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ออกจะแปลกอยู่ที่นายทองขวัญ ผู้ซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ได้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ในรัชกาลที่ ๑ แม้ไปรบทัพจับศึกเมืองเขมรก็ตามเสด็จไปด้วย ถึงกับโปรดตั้งให้เป็นว่าที่พระยาราชนิกุล (ขณะป่วยเป็นหลวงราชเสนาอยู่)  ทว่ามาแต่งงานกับธิดาของเจ้าพระยารามจตุรงค์ (ต่อไปจะเรียกว่าพระยารามัญวงศ์ ตามปากชาวบ้าน) ซึ่งถูกประหารชีวิตเมื่อสิ้นพระราชวงศ์กรุงธนบุรี โดยขอตายไม่ยอมอยู่รับราชการ ดังที่ทราบๆ กันอยู่
           ส่วนมารดาของพระยาศรีสหเทพ ชื่อ ทองขอน เป็นธิดาของพระยารามจตุรงค์ ตำแหน่งจักรีกรุงธนบุรี หลังจากเจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เสด็จขึ้นดำรงพระเกียรติยศ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแล้ว
            (พระยารามจตุรงค์นี้ ชาวบ้านเรียกกันหลายอย่าง เรียกว่า ‘พระยารามัญวงศ์ ตามบรรดาศักดิ์เดิมบ้าง เรียกว่า ‘จักรีมอญ' บ้าง สุดแล้วแต่สะดวกปาก ที่จริงตำแหน่งของท่านเทียบเจ้าพระยาอัครเสนาบดีบางแห่ง ดังเช่นในราชินิกุลรัชกาลที่ ๓ จึงเรียกท่านว่าเจ้าพระยารามจัตุรงค์)
            พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) จึงเป็นหลานตาของเจ้าพระยารามจตุรงค์ หรือพระยารามัญวงษ์ (รามัญวงศ์) หรือบางคนในสมัยกรุงธนบุรีเรียกท่านว่า ‘จักรีมอญ
           พวกมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแต่สมัยอยุธยา ธนบุรีและกรุงเทพฯนั้น เข้ามากันหลายครั้งหลายหน
            ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะพวกมอญที่ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาอยู่กรุงธนบุรีเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว

            มอญเหล่านี้ พวกหัวหน้าที่ใกล้ชิดพระองค์ ช่วยสู้รบและรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่สมัยกรุงเก่า โปรดฯให้อยู่บริเวณคลองใกล้ๆ กับพระราชวัง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ‘คลองมอญ' หัวหน้าพวกนี้ก็คือพระยารามจตุรงค์ ซึ่งมีน้องสาว ๒ คน ท้าวทรงกันดาล (ทองมอญ) และท่านแป้น (เอกภรรยาของพระยาพัทลุงคางเหล็กเชื้อสายสุลัยมาน)
            ส่วนอีกพวกหนึ่ง โปรดฯให้ข้ามไปอยู่พระนครธนบุรีฟากตะวันออก แถบคลองคูเมือง (ที่ต่อมาเรียกกันผิดๆจนบัดนี้ว่าคลองหลอด)
            ตามที่ปรากฏในหนังสือวงศ์ตระกูล ซึ่งพระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) เล่าเอาไว้นั้น ได้เล่าถึงเรื่องพระยารามัญวงศ์ ว่า  “นายชำนาญ (ทองขวัญ) ได้แต่งงานกับทองขอนบุตรีพระยานครอินทร์ พระยานครอินทร์นี้ เมื่อครั้งแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์รัชกาลที่ ๓๓ แห่งพระนครศรีอยุธยา (พระเจ้าเอกทัศน์) ได้เป็นที่สมิงนระเดชะ ชื่อตัวว่า มะทอเปิ้น เป็นนายกองรามัญ กรมอาษาทะมาตย์ ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าตากสิน ได้ตั้งให้เป็นพระยานครอินทร์ แล้วเลื่อนให้เป็นพระยาและเจ้าพระยารามจตุรงค์ หรือบางแห่งก็เรียกว่า พระยารามัญวงษ์ (จักรีมอญ ก็เรียกกัน) นามตัวของท่านว่าชื่อ มะโดด หรือมะซอน...มะซอนผู้นี้แหละที่เป็นทหารคู่พระทัยของพระเจ้าตากสิน และได้ตายพร้อมกันกับพระเจ้าตากสิน...”
            ชื่อตัวของเจ้าพระยารามจตุรงค์ หรือพระยารามัญวงศ์นี้ ดูจำกัดมาหลายชื่อ ‘มะทอเปิ้น' คงเป็นชื่อมอญ ‘มะโดด' หรือ ‘มะซอน' อาจเป็นชื่อใหม่หรืออาจจำกันมาผิดเพี้ยนไปบ้าง
            ในหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ ๓ พระนิพนธ์สมเด็จพระบรมราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขฯ ว่า เจ้าพระยารามจตุรงค์ชื่อเดิมว่า ‘ซวน' แต่ครั้นในหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ ๕ พระนิพนธ์พระองค์เดียวกัน (อาจเรียงพิมพ์ผิด) เป็น ‘ชวน'

          ทว่าอย่างไรก็ตาม นามเดิมของท่านจะว่ากระไรก็แล้วแต่ ที่แน่นอนคือ ท่านเป็น เจ้าพระยารามจตุรงค์ ว่าที่จักรี จึงเรียกกันว่า จักรีมอญ อย่างแน่นอน ส่วนที่เรียกกันว่า พระยารามัญวงศ์ นั้น เรียกตามบรรดาศักดิ์ก่อนเป็นเจ้าพระยารามจตุรงค์ แล้วคงจะเลยติดปาก เพราะยังไม่คุ้นกับบรรดาศักดิ์
            ครั้นถึงแผ่นดินรัตนโกสินทร์ที่ ๑ นายทองขวัญได้เป็นหลวงราชเสนา และได้สมรสกับท่านทองขอน ธิดาของจักรีมอญ จึงได้รับพระราชทานที่บ้านให้อยู่ในถิ่นพวกมอญฟากตะวันออก พวกมอญเคารพนับถือจักรีมอญอยู่แล้ว หลวงราชเสนาและท่านทองขอนจึงเป็นที่นับถือในหมู่ชาวมอญเหล่านี้จนกระทั่งตกมาถึงพระยาศรีสหเทพ ฯ เรียกว่า “ สี่กั๊กพระยาศรี ”     

สี่กั๊กพระยาศรี  ต่อมาเล็กน้อยมีรถยนต์บ้าง
บ้านขวามือในภาพคงจะให้เช่าเป็นร้านขายยา
หรืออาจขายไปเลยก็ได้

เมื่อเอ่ยถึงสี่กั๊กพระยาศรี หรือบางทีเรียกกันสั้นๆ ว่าสี่กั๊ก คนกรุงเทพฯส่วนมากแล้วรู้จักกันดี และคนส่วนมากอีกเหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่มีอายุประมาณ ๖๐ ขึ้นไป หรือถึงแม้คนหนุ่มสาวรุ่นหลังๆ ก็คงได้อ่านทราบจากหนังสือเล่าเรื่องเก่าๆ มาบ้างว่า อันชื่อสี่แยกที่เรียกกันว่า ‘สี่กั๊กพระยาศรี' นี้ มาจากราชทินนามของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ขุนคลังแก้วในรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากเคหสถานของท่านในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตั้งอยู่ตรงนั้น เมื่อสร้างถนนในรัชกาลที่ ๔ มี

ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2515

ถนนสองสายตัดกับตรงบริเวณบ้านของท่าน ชาวบ้านจึงเรียกสี่แยกนั้นว่า ‘สี่กั๊กพระยาศรี'
   สมัยกรุงธนบุรีนั้น พวกมอญกลุ่มพระยารามัญวงศ์ และท้าวทรงกันดาล (ทองมอญ) ว่าอยู่ในคลองด้านหลังพระราชวังธนบุรี จึงเรียกกันว่าคลองมอญ เพราะเหตุดังนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ คงจะโปรดฯ ให้ย้ายข้ามฟากมาบ้าง จึงปรากฏว่าบ้านเดิมของท่านทองขอนเมื่อสมรสกับนายทองขวัญ อยู่ตรงที่เชิงสะพานมอญกว้างยาวถึงด้านละ ๓-๔ เส้น (สะพานมอญ สร้างในรัชกาลที่ ๓ โดยพระยาศรีสหเทพ บุตรชาย นายทองขวัญท่านทองขอน เกณฑ์พวกมอญพวกพ้องท่านทองขอนสร้าง จึงเรียกกันว่า
‘สะพานมอญ' มาจนทุกวันนี้)

 

สะพานมอญ

       สะพานมอญ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมหลังวัดราชบพิธฯ เดิมบริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพเข้ามาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว พอกรุงแตกก็อพยพหนีภัยสงครามจากกรุงศรีอยุธยามาพร้อม ๆ กับชาวไทย ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้มอญกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณคลองคูเมืองเดิม ใกล้ป้อมวิชัยประสิทธิ์  

ค่อยเล่าเรื่องป้อมวันหลังนะครับ) ปัจจุบันร่องรอยมอญกลุ่มนี้สูญสลายไปแล้ว เหลือแต่ชื่อ สะพานมอญ ซึ่งพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ต้นสกุล ศรีเพ็ญ ซึ่งเป็นเชื้อสายพระยารามจัตุรงค์ หัวหน้าชาวมอญ และพระยาศรีสหเทพ ฯ ผู้นี้ยังเป็นขุนคลังแก้วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีบทบาทสำคัญในการทำสัมปทานไม้สักขอน สร้างรายได้เข้าคลังหลวงมากมายมหาศาล รวมทั้งหากทางราชการมีประสงค์ต้องการไม้สักขอนในการก่อสร้างสิ่งใด ท่านพระยาศรีสหเทพ  ก็หามาได้ตามความต้องการโดยไม่คิดมูลค่า และที่สำคัญเป็นผู้นำรวบรวมแรงงานชาวมอญ ซึ่งก็เป็นบรรดาญาติ ๆ และข้าทาสบริวารทั้งหลาย ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นสร้างสะพานข้ามคลองหลอดขึ้น จึงได้เรียกกันต่อมาว่าสะพานมอญในชั้นแรกสร้างด้วยไม้ธรรมดา ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้มีการก่อสร้างใหม่ก่อด้วยอิฐถือปูน

 

สี่กั๊กพระยาศรี จริงแล้วคำว่ากั๊กเป็นภาษาจีน แปลว่าแยก เจ๊ลากรถในสมัยนั้นจะเรียกสามแยกนี้ว่า ซากั๊ก และสี่แยกว่า สี่กั๊ก และเมื่อเรียกรถมาบริเวณนี้ จึงบอกว่าไป สี่กั๊กบ้านพระยาศรี  ตามชื่อพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ศรีเพ็ญ ผู้นำชาว มอญ ซึ่งตั้งบ้านเรื่อนอยู่บริเวณสี่แยกนี้ และเป็นผู้ที่รวบรวมแรงงานชาวมอญก่อสร้างสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม และอยู่ในละแวกเดียวกัน สามารถมองเห็นกันได้ ดังได้กล่าวแล้วในเรื่องสะพานมอญข้างต้น ปัจจุบันทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเป็นสี่แยกพระยาศรี แต่คนยังนิยมเรียก สี่กั๊กพระยาศรี

       สี่กั๊กพระยาศรี หรืออาจเรียกว่า สี่กั๊ก เป็นสี่แยกที่เกิดจากถนนเจริญกรุง ตัดกับถนนเฟิ่องนคร  ในสมัยรัชกาลที่ 4  บริเวณบ้านของพระยาศรีสหเทพ (นามเดิม ทองเพ็ง เป็นต้นสกุล ศรีเพ็ญ) อยู่เชิงสะพานมอญ

สี่กั๊กพระยาศรี หรือสี่แยกพระยาศรีนั้น สร้อยว่าศรีอะไร เจ้าพระยา และพระยาที่มีราชทินนามขึ้นต้น ‘ศรี' มีมากจังนะ เช่นศรีธรรมาธิเบศร์ ศรีวิสารวาจา ศรีวิกรมาทิตย์ ศรีเสนา ศรีสธราช ศรีบัญชา ฯลฯ อีกเยอะแยะ

            พระยาศรีสหเทพ นามเดิมว่า ‘ทองเพ็ง' เป็นต้นสกุล ศรีเพ็ญ

            นายทองเพ็งได้เป็นพระยาศรีสหเทพในรัชกาลที่ ๓ มีเคหสถานบ้านเรือนอันได้รับมรดกจากบิดามารดาอยู่ตรงที่เป็นแถบสี่กั๊กพระยาศรีนั้น (สี่กั๊กพระยาศรี - ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งเกี่ยวกับภาษาด้วย จึงเปลี่ยนให้เรียกว่า สี่แยกพระยาศรี แต่คนรุ่นนั้นก็ยังติดปากคำว่าสี่กั๊กพระยาศรีอยู่อีกนาน)

            ตามคำบอกเล่าของพระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพของท่าน ซึ่งเล่าแก่ลูกๆนั้นว่า

            “นิวาสสถานของเจ้าคุณทวดของพ่ออยู่เชิงสะพานมอญ (สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยพระยาศรีสหเทพขอแรงพวกมอญบริเวณนั้นช่วยกันทำ - จุลลดาฯ) ตรงหน้าสวนสราญรมย์ (ข้ามคลองตลาดหรือที่ต่อมาเรียกกันว่าคลองหลอด) ทิศตะวันออกติดถนนเฟื่องนครตะวันตกติดถนนอัษฎางค์ ทิศเหนือติดคลองวัดราชบพิธ (คลองหลอดจริงๆ อันเป็นคลองชักน้ำแต่ในรัชกาลที่ ๑ - จุลลดาฯ) ทิศใต้ติดถนนเจริญกรุง โดยประมาณกว้างยาวด้านละ ๓-๔ เส้น”

            เวลานั้น (ในรัชกาลที่ ๓) ถนนเจริญกรุงและถนนเฟื่องนคร ยังไม่ได้สร้าง บริเวณบ้านของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) จึงติดต่อกับบ้านพวกมอญแถบนั้นที่พระยาสัจจาฯ ท่านเล่าถึงบ้าน ท่านกำหนดอาณาเขตตามสถานที่ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๔๙๘)

            ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดฯให้ตัดถนนเจริญกรุงกับถนนเฟื่องนครบังเอิญมาสบ หรือตัดกันเป็นสี่แยกที่ข้างบ้านของพระยาศรีสหเทพ (หรืออาจจะตัดไปเป็นบางส่วนก็ได้ เพราะขุนนางคหบดีสมัยโน้นมักมีบ้านเรือนของญาติบริวารแวดล้อมอยู่โดยรอบ)

            หลังจากตัดถนนให้คนเดินและรถม้าวิ่งบ้าง ฝรั่งขี่ม้าบ้าง ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๗) จึงได้มีจีนผู้หนึ่งสั่งรถลากจากญี่ปุ่นเข้ามาใช้ในเมืองไทย คนไทยเรียกรถลากแบบนี้ว่า ‘รกเจ๊ก' เพราะมีแต่คนจีนเท่านั้นที่รับจ้างลากรถแบบนี้เป็นอาชีพ พวกจีนลากรถเหล่านี้เรียกสามแยกว่าซากั๊ก เรียกสี่แยกว่าสี่กั๊ก คนไทยเมื่อจะนั่งรถลากไปแถวนั้นคงบอกว่าไปสี่กั๊กบ้านพระยาศรี โดยกำหนดเอาบ้านใหญ่โตของพระยาศรีสหเทพเป็นเครื่องหมาย ชื่อสี่กั๊กพระยาศรีจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุดังนี้

เสาชิงช้า

๑๑ กันยายน ๒๕๕๐
แม่พลอย
งานฉลองเสาชิงช้าหลวงท่านทำใหญ่โตนัก แต่ฝนก็กระหน่ำเสียเต็มประดา พลับพลาที่ประทับในหลวงและพระราชินีจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ วันนี้ฉันได้มีโอกาส ไปเที่ยวงานวันสุกดิบงานฉลองเสาชิงช้ามา ได้ถ่ายรูปทำแสตมป์ มีเหรียญที่ระลึกและหนังสือจำหน่าย ราคาไม่เพลงมาก หมดไปเกือน ๘๐๐ บาททีเดียว
           พอดีฉันไปค้นภาพเสาชิงช้าที่กำลังรื้อและสร้างใหม่ในปี เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๑๕ ในคอมพ์ที่บ้าน เลยเอามาฝาก แม่พลอย รูปนี้ฉันได้มาจากคุณหนึ่ง รณวัฒน์ เอมะสิทธิ์ จากกองการท่องเที่ยว กทม. เมื่อหลายปีก่อน สังเกตว่า ลานคนเมืองยังมีปั้มน้ำมันสามทหารอยู่เลย และถัดไปจากปั้มจะเห็นตึกใหญ่ ๆ เป็นที่ตั้งของบ้านพระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ พ.ศ.๒๔๒๗ - ๒๕๐๒) อนิจจาบัดนี้เหลืองแต่เสาต้นเดียว แต่ยังมีตราของท่านอยู่พระยาสัจจาฯ คือใคร แม่พลอยคงได้อ่านหนังสือ "เทวกำเนิด" นะ ท่านพระยาสัจจาฯ นี้แหละเป็นผู้แต่ง ท่านเป็นเหลนของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง ศรีเพ็ญ) ผู้มีบ้านตรงสะพานมอญ และตรงบ้านของท่านตรงสี่แยกถนนเจริญกรุงตัดถนนเฟื่องนคร ยังเรียกว่า สี่กั๊กพระยาศรี มาทุกวันนี้
แม่พลอยคนในตระกูล "ศรีเพ็ญ" เด็กสมัยนี้คงไม่รู้จักหรอก หากไม่มีดาราสาวที่ชื่อ “จอย-รินลณี ศรีเพ็ญ” ที่กำลังโด่งดังอยู่
            ตระกูลศรีเพ็ญมีเรื่องให้ศึกษามากมายวันหลังจะมาเล่าให้ฟังนะ  ที่ยังสงสัยค้างใจอยู่ว่า บ้านพระยาสัจจาฯ นี้ รื้อลงมาตั้งแต่เมื่อใด ฉันต้องไปถาม นายง้วน ที่ขายก๋วยเตี๋ยวอยู่แถวนั้นแล้วล่ะ แม่พลอยฉันต้องยุติการเล่าเรื่องไว้ก่อน เพื่อเตรียมเสื้อสูทแต่งมารับเสด็จฯในวันพรุ่งนี้ แล้วล่ะ เพราะหลวงท่านกำหนดไว้ ให้แต่งกายมาร่วมงานสำหรับข้าราชการชั้นเอกอย่างฉันไว้อย่างนั้น ดีนะหากเป็นข้าราชการชั้นพิเศษ ท่านให้แต่งปกติขาว วันนี้ฉันห็นพวกเขาไปหากันให้วุ่นเลย นานทีปีหนจ้า แม่พลอย

คิดถึงแม่พลอย

พ่อเพิ่ม  

ปล. งานเฉลิมฉลองเสาชิงช้าใหม่ทางกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดฤกษ์พิธีเสด็จ
ในวันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ.2550 เวลา 17.00-18.00 น. ใครเป็นโหราจารย์ลองดู ???

พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ต้นตระกูลศรีเพ็ญ ผู้ทำปฏิสังขรณ์ วัดอินทาราม ธนบุร

ถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฯ วัดอินทารามซึ่งได้เสื่อมสลักหักพังไปเพราะขาดผู้ทำนุบำรุงก็ได้ผู้ศรัทธาปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผู้ที่มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดอินทารามขึ้นใหม่ครั้งนี้ ได้แก่ พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ต้นตระกูลศรีเพ็ญ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้มิได้ทำกันเพียงสิ่งใดปรักหักพังก็ใช้ซ่อมแซมหรือปรับปรุงโยกย้ายของเก่ามาเป็นของใหม่เท่านั้น แต่พระยาศรีสหเทพได้ปลูกสร้างถาวรวัตถุเสนาสนะขึ้นใหม่ ตั้งแต่พระอุโบสถอันเป็นสิ่งใหญ่ลงไปจนถึงสิ่งเล็กน้อยเสร็จเรียบร้อยแล้วทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพระอารามหลวงอีกครั้งหนึ่ง พระองค์พระราชทานนามไว้ว่า วัดอินทาราม เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารจึงได้เรียกว่าวัดอินทารามสืบมาทุก ๆ วันนี้

วัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีริมคลองบางกอกใหญ่ และริมถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา วัดแห่งนี้เคยมีฐานะสูงสุดถึงพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากเป็นวัดประจำรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


เข้าเว็บข้อมูลรายละเอียดของที่มา >>> http://www.intaram.org/
เว็บวัดอินทารามวรวิหารใหม่ >> http://www.intaram1.com/

กลับหน้าเว็บครอบครัวศรีเพ็ญ