ประวัติบรรพบุรุษ

เจ้าพระยาเพชรพิไชย ( ใจ )

ใจ ผู้เป็นบุตรคนหัวปีของเจ้าพระยาชำนาญภักดี ( สมบุญ ) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเพชรพิไชย ( ใจ ) จางวางกรมล้อมพระราชวัง และให้ว่าที่กรมอาสาจามและอาญาญี่ปุ่นในแผ่นดินพระเจ้าอยู่บรมโกศ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย ให้ว่าที่สหุหนายก..
( หนังสือ โกมารกุลมนตรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมมารดาอ่อน ป.จ. ในรัชกาลที่ ๕ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๒ หน้า ๒๗ – ๒๘ )

เจ้าพระยามหาเสนา  ( เสน ) – จำรูญ   ภรรยา

บุตรชายคนที่ 3 ของเจ้าพระยาเพชรพิไชย กับคุณหญิง แฉ่ง ที่ชื่อ เสน ได้แก่ เจ้าพระยามหาเสนา ( เสน ) ได้เข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเสน่หาภูธร ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาจ่าแสนยากร แล้วต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหาเสนา ( เสน ) มีบุตรธิดา 5 คน ธิดา 3 คนถูกพม่าจับเป็นเชลย ส่วนบุตร 2 คน ได้แก่เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา( บุนมา )
และเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ( บุนนาค ) รอดพ้นการถูกจับเป็นเชลย เพราะถูกส่งตัวให้ไปอยู่กับญาติที่ราชบุรีก่อนหน้านั้น 
เป็นต้นสกุล ศรีเพ็ญ, บุนนาค, บุรานนท์, จาติกรัตน์, ศุภมิตร, วิชยาภัย, ภาณุวงศ์ ฯลฯ

นายชำนาญกระบวน ( ท่านทองขวัญ ) – ทองขอน   ภรรยา
เป็นลูกผู้น้องของสมเด็จพระเจ้าพระยามหาประยุรวงศ์ กับสมเด็จเจ้าพระยามหาพิชัยญาติ

ท่านผู้นี้เคยได้รับข้าราชการมาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี และได้รับยศจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้เป็นตำแหน่งหลวงเทียบเมื่อครั้งหลวงราชเสนา
( บุญเลี้ยง ) ได้เข้าไปขัดตาทัพที่ลาดหญ้ากาญจนบุรี  แล้วหลวงราชเสนาก็ได้หายไป สงสัยกันว่าอาจตายในสนามรบ หรือมิฉะนั้นคงจะถูกพม่าจับไปเป็นเชลยเสียแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อครั้งเป็นพระยาจักรี  จึงกราบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้นายชำนาญกระบวนเป็นตำแหน่งหลวงราชเสนาที่หายไปนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงประทานตำแหน่งให้ แต่เทียบไว้ก่อนจนกว่านายชำนาญกระบวนจะได้ขัดตาทัพที่บั้นท้ายเพชรกลับแล้วจึงทรงประทานตำแหน่งให้   ส่วนผลประโยชน์ในตำแหน่งหลวงราชเสนาทรงประทานให้ตั้งแต่บัดนั้น และต่อมารัชกาลที่ ๑ นายชำนาญกระบวนก็พยายามรับราชการบ้านเมืองมาเป็นอย่างดี   เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จนได้รับพระราชทานยศเป็นพระยา
 

พระยาศรีสหเทพ ( ท่านทองเพ็ง ) – บัวสวน   ภรรยา
บุตรนายชำนาญ ( ทองขวัญ ) ทองขอน มารดา

( คลิกดูข้อมูล )

พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) นี้เป็นที่โปรดปรานในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯอย่างยิ่ง ตรัสเรียกว่า ‘ เจ้าศรีทองเพ็ง ' บ้าง ‘ เจ้าศรี ' บ้าง ได้ชื่อว่า ‘ ขุนคลังแก้ว ' ในรัชกาลที่ ๓ เป็นที่ทราบกันทั่วไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่ลูกหลานของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) จึงพระราชทานว่า ‘ศรีเพ็ญ '

 

พระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) มีภรรยา ๕๗ คน มีบุตรเป็นชาย ๒๔ คน หญิง ๒๕ คน

 

 

  กลับหน้าหลักสกุลศรีเพ็ญ