พระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง )

บุตรนายชำนาญ ( ทองขวัญ ) กับทองขอน มารดา

อ้างถึง พระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี ( สรวง ศรีเพ็ญ ) ท่านได้เขียนไว้ในหนังสื่อ " เล่าให้ลูกฟัง "
และหนังสือประวัติวัดอินทารามวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๕๑

พระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง )
มี บุตร ๔๙ คน เป็นหญิง ๒๕ คน ชาย ๒๔ คน ซึ่งบุตรชายสายนี้ทั้งหมดใช้นามสกุล " ศรีเพ็ญ "

ในรัชกาลที่ ๑ ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ศก ๑๒ จุลศักราช ๑๑๕๕ ( พ.ศ. ๒๓๓๕ ) นายทองเพ็ง ก็ได้อุบัติมาเป็นบุตรนายชำนาญกระบวน ( ทองขวัญ ) กับทองขอน มารดา มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยารามจตุรงค์ ( มะซอม ) หรือ พระยารามัญวงษ์ ( รามัญวงค์ ) หรือบางคนในสมัยกรุงธนบุรีเรียกท่านว่า " จักรีมอญ " โดยพระยารามจตุรงค์เป็นบิดาของพระยานครอินทร์ พระยานครอินทร์ ( สมิงนรเดชะ ) เป็นบิดาของ ท่านทองขอน มารดาของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ดังนั้นเชื้อสายท่านมีเชื้อสายแขกเปอร์เชียทางบิดา และมีเชื้อสายมอญทางมารดา และว่าตามลำดับวงศ์ ท่านเป็นน้องชายร่วมบิดา แต่ต่างมารดากับเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ( บุนนาค ) ต้นสกุล " บุนนาค "
นายทองเพ็งผู้นี้แหละ จึงได้มีบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ในรัชกาลที่ ๓ ( สมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กรุงเทพ ฯ เดี๋ยวนี้ และต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ( สมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ) ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คนไทยมีนามสกุลขึ้น จึงโปรดให้ผู้ที่เป็นเผ่าพันธุ์ของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) โดยตรงเฉพาะชายและหญิงที่ยังไม่ได้สมรสกับสกุลอื่น ใช้นามสกุลว่า “ ศรีเพ็ญ “ โดยทรงเอานามบรรดาศักดิ์ คือ ศรี กับ นามตัวของท่าน คือ เพ็ญ ( เพ็ญกับเพ็งมีความหมายอย่างเดียวกัน )ประสมกัน ฉะนั้นจึงนับว่า พระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) เป็นต้นของสกุล “ ศรีเพ็ญ “ มาจนทุกวันนี้

นิวาสสถานของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) อยู่ที่เชิงสะพานมอญ ตรงหน้าสวนสราญรมย์ ( ขามคลองตลาดหรือคลองหลอด ) ทิศตะวันออกติดถนนเฟื่องนคร ทิศตะวันตกติดถนนอัษฎางค์ ทิศเหนือติดคลองหลังวัดราชบพิธ ทิศใต้ติดถนนเจริญกรุง โดยประมาณกว้าง ยาวด้านละ ๓ – ๔ เส้น

( ดูข้อมูลพระยาศรีสหเทพ และถิ่นที่อยู่ สะพานมอญ,สี่กั๊กพระยาศรีและการปฏิสังขอนวัดอินทราม )

พระยาศรีหสเทพ ( ทองเพ็ง ) เกิด ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนสี่ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลที่ ๑ ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเจริญชนมายุขึ้น ก็ได้เข้าทำราชการในกรมมหาดไทย ได้เป็นที่หมื่นพิพิธอักษรในรัชกาลที่ ๒ ( สมเด็จพระพุทธเลิดหล้านภาลัย ) ในสมัยกาลครั้งนั้น สมเด็จพระพุทธเลิดหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กำลังทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนเรื่องอิเหนา โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ และพวกราชบัณฑิต ช่วยแต่งเป็นตอนๆ และมีพระราชประสงค์ใคร่ได้ผู้ที่เขียนหนังสือดี ๆ สักคนหนึ่ง พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ( ซึ่งต่อไปเป็นสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ) จึงทรงเลือกได้หมื่นพิพิอักษร ( ทองเพ็ง ) ซึ่งเป็นผู้ชำนาญในทางเขียนอักษร และแต่งบทกลอนได้อย่างว่องไว ไปถวายสมเด็จพระบรมชนก และพระองค์ท่านก็ได้ทรงใช้สอยหมื่นพิพิธอักษร ด้วยความโปรดปราน ในรัชกาลที่ ๒ นี้ หมื่นพิพิธอักษรได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ถึง ๒ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ เป็นที่หลวงเสนา อีกครั้งหนึ่งเป็นพระศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) แต่จากนั้นมา พระศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ก็ได้ประกอบแต่คุณงามความดี สำแดงซึ่งความกตัญญูกตเวที จงรักภักดี ในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตลอดมา จนถึงกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ ๓ เมื่อได้ทรงเห็นความสามรถในทางอักษรศาสตร์ แต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นที่พอพระราชหฤทัย ทั้งเป็นผู้ทรงคุ้นเคยมาแต่ก่อนด้วย จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) เมื่ออายุของท่านได้ ๓๕ ปี และได้เป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย กรมนา และอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ในรัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นสหายรักใคร่กันมากกับ เจ้าพระยา บดินทร์เดชานุชิต ( สิงห์ สิงหเสนี ) และเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ รัชการ จึงมีคำกล่าวกันว่า เจ้าพระยาบดินทร์เป็นขุนพลแก้ว และพระยาศรีสหเทพ ฯ เป็นขุนคลังแก้วของรัชกาลที่ ๓ นับว่าเป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ ๓ อย่างพิสดารเป็นอันมาก ตามที่ปรากฏในพระบรมราชปุจฉา เมื่อครั้งพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอาลัยโทมนัสมาก ทรงตั้งพระบรมราชปุจฉาในที่ประชุมพระสงฆ์ราชาคณะเถรานุเถระ ๖๐ รูป ว่า เพราะเหตุใด " นางแก้ว " ในรัชกาลของพระองค์จึงสิ้นพระชนม์ แต่พระชนม์ยังน้อยเพียงสามสิบกว่า รวมทั้ง " ขุนคลังแก้ว " ของพระองค์ซึ่งเพิ่งสิ้นชีวิตก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ในพระบรมราชปุจฉาตอนหนึ่งว่า
..........โยมมีเบญจพละ ๕ ประการ คือ ๑. มีบ่อแก้ว ๒. มีช้างแก้ว ๓. มีนางแก้ว ๔. มีขุนพลแก้ว ๕. มีขุนคลังแก้ว


๑. ที่โยมว่ามีบ่อแก้วนั้น คือ อ้ายภู่ ( พระยาราชมนตรี ชื่อเดิมว่า " ภู่ " เป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ ๓ เป็นบิดาของคุณพุ่ม บุษบาท่าเรือและเป็นต้นสกุลภมรมนตรี - จุลลดา ฯ )
๒. ที่โยมว่ามีช้างแก้วนั้น คือ พระยาช้างเผือก ของปู่และบิดาของโยมเอง
๓. ที่โยมว่ามีนางแก้วนั้น คือ โยมมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เป็นพระราชปิยธิดาเสน่หาอเนกผลของพระราชบิดา
๔. ที่โยมว่ามีขุนพลแก้วนั้น คือ พี่บดินทรเดชา ( เจ้าพระยาบดินทรเดชา นามเดิม สิงห์ ต้นสกุลสิงหเสนา - จุลลดา )
๕. ที่โยมว่ามีขุนคลังแก้วนั้น คือ เจ้าศรีทองเพ็ง บัดนี้นางแก้วกับขุนคลังแก้วมาล่วงลับดับเบญจขันธ์สังขารไปสู่ปรโลกแต่พระชนม์และอายุยังน้อย ยังบ่มิสมควรจะถึงซึ่งกาลกิริยาตายฉะนี้เล่าทั้งสองคน ...........

แม้ในเวลาที่พระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) เจ็บป่วย ก็ทรงให้มหาดเล็กหุ้มแพรมาคอยสับเปลี่ยนเวรกันเฝ้าสำหรับบันทึกอาการป่วยกราบทูลไปให้ทรงทราบ และเมื่อใกลถึงแก่กรรมก็ถวายไตีรแพรและผ้ามา ๔ ไตร โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสหเทพได้ทำบุญทันตาเห็นไว้ ซึ่งได้ยกผ้าไตรด้วยพระหัตถ์ พร้อมทรงอธิฐานว่า " ถ้าพระยาศรีสหเทพจะต้องถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เกิดในชาติใดก็ขอให้ได้พบกับพระองค์เสมอ....................
เมื่อพระยาศรีสหเทพถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศไม้สิบสองกุดั่น มีฉัตรเบญจต่างๆ ตั้งล้อมโกศ ๘ ชั้น และคราวจะชักศพสู่พระเมรุ ทรงพระราชทานเรือหนุมานสำหรับประดิษฐานโกศศพเคลื่นไป นอกจากนี้ยังเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศล ณ เมรุพระราชทานเพลิงถึงสองวัน และเมื่อเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพแล้ว ญาติมุตรได้นำส่วนอัฐิของท่านมาบรรจุเป็นอนุสรณ์สาวรีย์ไว้ ณ วัดอินทาราม เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน...ดูประวัติวัดอินทารามวรวิหาร .......ถ้าจะเขียนลงไว้ตามจดหมายเหตุก็จะยืดยาวนัก

พระยาศรีหสเทพ ( ทองเพ็ง ) มีภรรยาหลวงคนหนึ่งชื่อท่านก้อย และมีอนุภรรยา เรียกกันเวลานั้นว่าหม่อมอีก ๕๖ คน เฉพาะภรรยาที่มีบุตร ๓๒ คน บุตรที่เกิดมาเป็นชาย ๒๔ คน เป็นหญิง ๒๕ คน เวลานั้น พระยาศรีหสเทพ ( ทองเพ็ง ) รุ่งเรืองด้วยอำนาจราชศักดิ์มากเพราะพระเจ้าแผ่นดินโปรดปราน ในตอนที่โปรดให้ตัดถนนเจริญกรุงกับถนนเฟื่องนคร บังเอิญมาสบเป็นสี่แยกที่ข้างบ้านของท่าน ที่นั้นจึงได้นามว่า สี่กั๊กพระยาศรี คือ เป็นนามของ พระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) นี่แหละ เดี่ยวนี้มาเปลี่ยนเรียกเป็นสี่แยกพระยาศรี

ต่อมา พระยาศรีสหเทพก็ได้บรรลุซึ่งกาลอวสานโดยเป็นไข้ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ณ วันอังคารแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง สัปตศกจุลศักราช ๑๒๐๗ รวมชนมายุได้ ๕๓ ปี เป็นปีที่ ๒๒ ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานโกศสิบสองลายกุดั่น กับฉัตรเบญจาแลฉัตรกำมะลอ ๘ ฉัตรประดับโกศ มีเครื่องประโคมแตรงอน แตรฝรั่ง จ่าปี่ จ่ากลองชนะเขียว ๑๒ คู่เป็นเกียรติยศ

ต่อไปนี้จะได้บอกรายนาม บุตรของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ไว้เป็นสาย ๆตามที่ เจ้าพระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี ท่านได้เขียนไว้ว่า เท่าที่ได้ความตามจดหมายเหตุบ้าง รู้เห็นเองบ้าง ถามจากพวกญาติพี่น้องบ้าง ที่สืบสวนไม่ได้ความเลยก็มีบ้าง ฉะนั้น ความบกพร่อง หรือผิดพลาดก็อาจมีได้บ้าง ในชั้นแรกจะกล่าวถึงพวกบุตรก่อน

บุตรที่เกิดจากท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาหลวงมี ๖ คน คือ

๑ เป็นชายชื่อ มุ้ย ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์
๒ เป็นชายชื่อ พึ่ง ได้เป็นที่พระศรีสหเทพ
( ดูข้อมูลประวัติและทายาทสายพระศรีสหเทพ ฯ )
๓ เป็นชายชื่อ พลอย ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์
๔ เป็นชายชื่อ ไผ่ เป็นที่หลวงอนุรักษภูเบศ
( ดูข้อมูลประวัติและทายาทสายหลวงอนุรักษ์ภูเบศ )

๕ เป็นหญิงชื่อ พัน ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์
๖ เป็นชายชื่อ ทองอิน เป็นจมื่นอินทรามาตย์ ภายหลังเป็นหลวงพิพิธภักดี
( ดูข้อมูลประวัติและทายาทสายจมื่นอินทรามาตย )

บุตรที่เกิดจาก อนุภรรยา มี ๔๒ คน คือ

๗ เป็นชายชื่อ หลำ เป็นนายจ่านิตยฺ ทองดีเป็นมารดา
๘ เป็นหญิงชื่อ ทองคำ หุ่นเป็นมารดา
๙ เป็นชายชื่อ นาก เป็นนายรองพินิจราชการ พักเป็นมารดา
๑๐ เป็นชายชื่อ แย้ม เป็นจมื่นราชนาคา ทองเป็นมารดา
( ดูข้อมูลประวัติจมื่นราชนาคา )
๑๑ เป็นหญิงชือ นิ่ม กองเป็นมารดา
๑๒ เป็นหญิงชื่อ เสงียม กองเป็นมารดา
๑๓ เป็นชายชื่อ อ้น เป็นหลวงรักษ์สมบัติ บัวใหญ่เป็นมารดา
( ดูข้อมูลประวัติและทายาท สายหลวงรักษ์สมบัติ )
๑๔ เป็นหญิงชื่อ จุ้ย เป็นพระสนมในรัชกาลที่ ๓ ปรางเป็นมารดา ภายหลังเปลี่ยนเป็นชื่อ ละม้าย ได้เป็นคุณหญิงพระยาสุรินทรราชเสนี ( จั่น )
๑๕ เป็นชายชื่อ ชื่น เป็นพระยาเจริญราชไมตรี ปรางเป็นมารดา ไม่มีบุตร
๑๖ เป็นหญิงชื่อ ละม้าย เกตเป็นมารดา (ละม้ายเป็นพี่ร่วมมารดากับนายช่วง(พระยาอภัยสงคราม )
๑๗ เป็นชายชื่อ ช่วง เป็นพระยาอภัยสงคราม เกตเป็นมารดา
( ดูข้อมูลประวัติและทายาทสายพระยาอภัยสงคราม )

๑๘ เป็นชายชื่อ หรุ่น เป็นพระยามหาอำมาตย์ เอี่ยมใหญ่เป็นมารดา
( ดูข้อมูลประวัติและทายาทสายพระยามหาอำมาตย์ )

๑๙ เป็นชายชื่อ จีน เป็นมหาดเล็กในราชกาลที่ ๓ นิ่มเป็นมารดา
๒๐ เป็นชายชื่อ ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ แสงเก๋งเป็นมารดา
๒๑ เป็นชายชื่อ ขลิบ เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓ แสงเก๋งเป็นมารดา
๒๒ เป็นหญิงชื่อ ปาน เปี่ยมเป็นมารดา
๒๓ เป็นหญิงชื่อ ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ เอี่ยมลาวเป็นมารดา
๒๔ เป็นชายชื่อ ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ เอี่ยมลาวเป็นมารดา
๒๕ เป็นหญิง ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ เอี่ยมเจ๊กเป็นมารดา
๒๖ เป็นหญิง ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ เอี่ยมลาวเป็นมารดา
๒๗ เป็นชายชื่อ ชุ่ม เป็นมหาดเล็กหลวง ลิ้มเป็นมารดา
๒๘ เป็นหญิงชื่อ อ่ำ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ ลิ้มเป็นมารดา
๒๙ เป็นหญิงชื่อ ละม่อม แก้วเป็นมารดา
๓๐ เป็นชายชื่อ จู ถึงแกกรรมเมื่อยังเยาว์ พิมพ์เป็นมารดา
๓๑ เป็นชายชื่อ หนู ถึงแกกรรมเมื่อยังเยาว์ พิมพ์เป็นมารดา
๓๒ เป็นหญิงชื่อ กริม บัวลาวเป็นมารดา
๓๓ เป็นหญิงชื่อ นิตย์ ไผ่เป็นมารดา
๓๔ เป็นหญิงชื่อ ละมุด บัดเป็นมารดา
๓๕ เป็นหญิงชื่อ พัน แสงโปร่งเป็นมารดา
๓๖ เป็นหญิงชื่อ จันท์ ทับเป็นมารดา
๓๗ เป็นชายชื่อ พัน ทับเป็นมารดา
๓๘ เป็นหญิงชื่อ อึ่ง สุ่เป็นมารดา
๓๙ เป็นชายชื่อ ถึก ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง สุ่นเป็นมารดา
๔๐ เป็นหญิงชื่อ พิม หนูหอเป็นมารดา
๔๑ เป็นชายชื่อ สนธิ์ บัวสวนเป็นมารดา เป็นจมื่นวิเศษสมบัติ
( ดูข้อมูลประวัติและทายาทสายจมื่นวิเศษสมบัติ ( สนธิ์ ) สมรสกับต่วน มีบุตรเป็นหลวงมหาสิทธิ์โวหาร ( สืบ ศรีเพ็ญ )
๔๒ เป็นหญิงชื่อ แดง เสมเป็นมารดา
๔๓ เป็นหญิงชื่อ สวน เป็นหม่อมห้ามในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระราชโอรสองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ ๔ สาตเป็นมารดา
๔๔ เป็นหญิงชื่อ แหว นากเป็นมารดา
๔๕ เป็นชายชื่อ ไย แสงซอเป็นมารดา
๔๖ เป็นหญิง ไม่ปรากฎชื่อ เอี่ยมเจ๊กมารดา
๔๗ เป็นหญิงชื่อ พลัด กลิ่นเป็นมารดา
๔๘ เป็นหญิง ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมยังเยาว์ กลิ่นเป็นมารดา
๔๙ เป็นชายชื่อ สุด หรือ เจ๊ก เป็นหลวงพินัย เหน้าเป็นมารดา

( กลับหน้าหลัก ครอบครัวศรีเพ็ญ )