สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ 
การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างความรู้ด้นภาษาและวัฒนธรรมไทยแก่แรงงานข้ามชาติ


เรียบเรียงโดย นายมนัส ศรีเพ็ญ เลขาธิการ


สรุปสาระสำคัญ

ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 33 ขององค์การ ยูเนสโก (the 33rd Session of the UNESCO General Conference) ระหว่างวันที่ 9-16 ตุลาคม 2548 นี้ เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี

นายกรัฐมนตร ของประเทศไทยได้กล่าวสุนทรพจน องค์การยูเนสโก ควรพร้อมที่จะอุทิศเพื่อเป้าหมายดังกล่าวเช่นกัน โดยเป็นองค์ การที่ยึดประชากรโลกเป็นศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงจะต้องศึกษาว่า จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้การเผชิญหน้าต่อความท้าทายใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการสนองตอบต่อความจำเป็นและความต้องการของคำปฏิญญาว่า "พวกเรา คือ ประชาชน"

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เรียกร้องให้องค์การยูเนสโกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหาความยากจน โดยให้ ความสำคัญ กับทรัพยากรที่มีอยู่ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการเรียนรู้นอกหลัก สูตร สนับสนุนให้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนในประเทศกำลังพัฒนาด้วยอุปกรณ์การศึกษาต่างๆ ที่เหลือใช้ในประเทศพัฒนา และควรได้รับการจัดสรรสำหรับประเทศกำลังพัฒนาด้วย ท่ามกลางสงครามความคิด และความเชื่อ การศึกษาจะมีส่วนสำคัญในการเอาชัยชนะเหนือความรุนแรง จะใช้การศึกษาเพื่อต่อสู้กับคนที่ฆ่าผู้บริสุทธิ์ได้อย่างไร คำตอบ คือ การศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ การศึกษาอย่างมีคุณภาพ จะบ่มเพาะความอดทน การเจรจา การเปิดกว้าง และการเข้าใจ ซึ่งกันและกัน ขจัดความไม่อดทน การโดดเดี่ยว ความเข้าใจผิด ความหวาดกลัวต่อความความแตกต่าง ซึ่งเป็นพิษร้ายในใจหลายๆ คนทั่วโลก
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้ องค์การยูเนสโก มีบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมวัฒนธรรมรักสันติและสนับสนุน ความปรองดองในความแตกต่าง โดยรัฐบาลไทยพร้อมที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การยูเนสโกและประเทศสมาชิก เพื่อให้มั่นใจว่า สันติภาพจะเกิดขึ้นทุกมุมโลก โดยเชื่อว่า ทุกคนต่างปฏิเสธการทำลายล้าง การก่อการร้ายและการใช้ความรุนแรง และเชื่อว่าทุกคนต่างมีความเข้าอกเข้าใจ ขันติและประนีประนอมในการดำเนินชีวิต และจะทำให้การใช้ความรุนแรงต้องพ่ายไปในที่สุด
[ ที่มา: ปวีณา ปริวัฒนศักดิ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สำนักโฆษกรัฐบาล รายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ ล่าวสุนทรพจน์ด้วยย้ำว่าการศึกษาต้องเปิดกว้างเพื่อส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์ ่า เป้าหมายสูงสุดด้านการศึกษาของไทยคือ การส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์ การศึกษาควรส่งเสริมความเท่าเทียมกันและความปรองดองกัน ขจัดช่องว่างทางความรู้และวิทยาการ รวมทั้งจะต้องมุ่งให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ในด้านสันติภาพ ความเคารพซึ่งกันและกัน ดังนั้น โครงการด้านวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสารขององค์การยูเนสโก ควรเป็นโครงการที่มีองค์ประกอบทางการศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อยกระดับความรู้ของมวลชน และส่งเสริมศักยภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อมูลสาธารณะ การสื่อสาร รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ จะต้องเป็นส่วน หนึ่งในโครงการทั้งหลายของยูเนสโก และสามารถเชื่อมโยง การทำงาน กับองค์กรอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการศึกษาของประชาชนทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้ง การศึกษาตลอดชีวิตในทั่วทุกส่วนของโลก
[ ที่มา : สำนักข่าวไทย ]

ที่ประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) วันที่ 9 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวปราศรัย โดยได้แสดงวิสัยทัศน์ในการบริหารและพัฒนาแรงงานว่า รัฐบาลไทย ได้ทำบันทึกความเข้าใจทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อดำเนินการเปลี่ยนสถานะของคนงานอพยพ จากกัมพูชา ลาว และพม่า ให้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยจะคุ้มครองสิทธิ ตามกฎหมายและทางสังคม อย่างเท่าเทียมกันกับแรงงานไทย ได้ย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด และการสร้างความ ตระหนักในสังคม

จากข้อมูล กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุสัญญาฉบับที่ 122 ว่าด้วยนโยบายการทำงาน (Convention concerning Employment Policy, 1964) ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2512 (1969)
เพื่อเป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ การยกระดับการครองชีพ ความต้องการกำลังคน และการเอาชนะการว่างงาน และการจ้างระดับต่ำ สมาชิกแต่ละประเทศต้องประกาศใช้และดำเนินการตามนโยบายเชิงรุกซึ่งกำหนดขึ้น เพื่อส่งเสริมการจ้างงานเต็มที่ ซึ่งเลือกได้โดยเสรี และก่อให้เกิดผลผลิต นโยบายดังกล่าวต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อประกันว่า

(ก) มีงานให้แก่ทุก ๆ คน ซึ่งมีความพร้อม และกำลังหางาน
(ข)
งานดังกล่าวเป็นงานที่ก่อให้เกิดผลผลิตมากเท่าที่เป็นได้
(ค)
มีเสรีภาพในการเลือกงาน และคนงานแต่ละคนมีโอกาสเท่าที่เป็นไปได้อย่างเต็มที่มากที่สุดในการใช้ทักษะ และสมรรถภาพของตน เพื่อคัดสรรงานที่เหมาะสมกับตนเป็นอย่างดี โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ หรือพื้นฐานทางสังคม .......

ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสามประเทศคือ พม่า ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงานใน ประเทศไทยโดยได้รับการจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในงานกรรมกร แรงงานเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งที่มักจะถูกละเลย และไม่สามารถเข้าถึงการบริการด้านต่างๆ ในสังคมไทย ซึ่งขณะนี้มีจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตทั้งสินประมาณหนึ่งล้านคน จากการสำรวจแรงงานเหล่านี้พบว่า ส่วนใหญ่แรงงานมักจะประสบปัญหาในเรื่องของสถานะภาพทางกฎหมาย เช่น ความไม่เข้าใจ ในกฎหมาย การถูกโกงค่าแรง การมีระยะเวลาการทำงาน มากกว่าที่กฎหมายแรงงานของไทยกำหนดไว้ และการเข้าถึงการบริการ ด้านสุขภาพ รวมถึงการปรับตัวและปัญหาการติดต่อสื่อสารเมื่อทำงานอยู่ในสังคมไทย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความ ขัดแย้งในความไม่เป็นธรรม ต่อแรงงานข้ามชาติ และก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อสังคมไทยด้านสิทธิมนุษยชนตามมา สาเหตุหนึ่ง เกิดจากการที่แรงงานเหล่านี้ ไม่มีโอกาสได้รับรู้ หรือเข้าใจในสิทธิ และหน้าที่ที่ตนเองพึงมีพึงได้ขาดอำนาจการต่อรอง เพื่อรักษาสิทธิ ที่ควรได้รับ ซึ่งการขาดในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เองก่อให้เกิดการละเมิดด้านต่าง ๆ ของแรงงานข้ามชาติในสังคมไทยเสมอมานั้น เกิดจากการที่แรงงานข้ามชาติ ไม่สามารถจะเข้าใจ หรือสื่อสารกับผู้คนในสังคมไทย และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้

สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์
ข้อ 4.1 เพื่อบำรุงและส่งเสริมการศึกษา โดยอุปการะบุคคลให้ได้รับการศึกษาและประกอบสัมมาอาชีพ ตามคติของพระพุทธศาสนา
ข้อ 4.6 ดำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์การกุศลอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสาธารณะประโยชน์

................
..
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จึงได้ให้การสนับสนุนสถานที่โรงเรียนสัมมาชีวศิลปกับมูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า ( มรพ. ) ที่ทำงานเพื่อเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ให้แก่แรงงานข้ามชาติ จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ให้แก่แรงงานข้ามชาติ โดยจัดวิทยากรเปิดทำการสอนภาษาไทยและรวมทั้งความรู้ทั่วไปด้านอื่น ๆ เพื่อความเข้าใจสำหรับการดำเนินชีวิตในประเทศไทยของแรงงานข้ามชาติ ณ โรงเรียนสัมมาชีวศิลป เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์ให้แก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อาศัย และทำงานในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยคาดหวังว่า แรงงานข้ามชาติจะนำความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไปพัฒนาตนเอง และประพฤติปฏิบัติตน ให้สอดคล้องกับการ ดำเนินชีวิตในสังคมไทยต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้แรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย ได้นำความรู้ทั้งทางด้านสังคมและศีลธรรมมาประพฤติปฏิบัติในการประกอบสัมมาอาชีพ โดยสุจริต
2. เพื่อให้แรงงานข้ามชาติได้เรียนรู้ภาษาไทย และความรู้ด้านอื่นๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง
3. เพื่อให้แรงงานข้ามชาติมีความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิต กฎระเบียบของสังคมไทย รวมทั้งสามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับคนไทย เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและมีความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคมไทย ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ และสัตยาบันที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้

***********************************************************************************************************

โครงการ DEAR BURMA
โครงการ DEAR BURMA คือ โครงการหนึ่งของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า ( กรพ. หรือ TACDB – Thai Action Committee for Democracy in Burma) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนไทยด้านวัฒนธรรมและสันติภาพ เพื่อการพัฒนาความรู้และให้การศึกษาแก่แรงงานข้ามชาติไร้ฝีมือที่มาจากประเทศพม่าที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร เท่านั้น1 โดยผ่านการเรียนหนังสือในทุก ๆ วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 10.00 – 17.00 น.  ณ โรงเรียนสัมมาชีวิศิลป์ หลังโรงแรมเอเชีย ราชเทวี โดยมีวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นวิชาเรียนหลัก และวิชาคณิตศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาเรียนรอง ที่นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสมัครใจ ไม่บังคับเหมือนกับวิชาภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

ดูบทความรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงเรียนวันอาทิตย์...เพื่อสิทธิแรงงานพม่า
ลึกเข้าไปในซอยพญานาค ข้างโรงแรมเอเชีย ราชเทวี มีโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่ง ป้ายชื่อหน้าโรงเรียน อ่านได้ว่า "โรงเรียนสัมมาชีวศิลป์" ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่นี่จะเป็นโรงเรียนสำหรับเด็กเล็กๆ แต่เมื่อถึงวันอาทิตย์ อย่าแปลกใจ เพราะเราจะเห็นนักเรียนที่เป็นหนุ่มสาวตัวโตๆ ในชุดฟอร์มสีขาวและกางเกงหรือกระโปรงสีดำ จำนวนนับร้อยๆ คนเข้ามานั่งประจำชั้นเรียน หัดอ่าน หัดเขียน ก ไก่ ก กา ด้วยสำเนียงแปร่งๆ ที่ฟังดูก็รู้ได้ทันทีว่า พวกเขาไม่ใช่คนไทยแน่ๆ ลองไปทำความรู้จักกับนักเรียนเหล่านี้กันว่า เธอและเขาเหล่านั้นเป็นใครและทำอะไรกันบ้าง

ดูบทความทั้งหมด

กลับเว็บหลักสัมมาชีวศิลป

--------------------------------------------------------------------------------------